Line จ่อขึ้นแท่นแอพแชทฯเพื่อธุรกิจอันดับหนึ่งในเอเชีย
Share:

เรื่อง นเรศ เหล่าพรรณราย
เวบไซท์ E-Marketer พยากรณ์ว่าภายในปี 2018 จะมีจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนใหม่ในเอเชียเพิ่มขึ้นกว่า 200 ล้านราย ผลักดันให้แอพพลิเคชั่นประเภทส่งข้อความหรือ Chat จะเป็นแอพฯที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด โดย Line จะเป็นแอพฯที่เหมาะสมสำหรับภาคธุรกิจมากที่สุด
ข้อมูลยังระบุอีกว่ากลุ่มผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนหน้าใหม่จะมีอายุต่ำกว่า 35 ปี ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม GEN Z ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการใช้เทคโนดลยีสมัยใหม่ โดยประเทศที่ถูกคาดหมายว่าจะเป็นตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับการใช้งานสมาร์ทโฟนก็คืออินเดีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ขณะที่แอพลิเคชั่นที่คาดว่าจะได้รับความนิยมสูงสุดคือ Facebook Messenger,Whatsapp และViber
อย่างไรก็ตามแอพลิเคชั่นดังกล่าวยังไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ใช้งานเพื่อธุรกิจ ในมุมมองของนักการตลาดออนไลน์เชื่อว่า Line จะเป็นแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานเชิงธุรกิจ แม้ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้งานไม่ใช่อันดับต้นๆ โดยมีเพียงแค่ประเทศญี่ปุ่นและไทยเท่านั้นที่มีจำนวนผู้ใช้งานเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ แต่ด้วยจุดเด่นสามข้อที่ Line มีอยู่น่าจะทำให้ผู้ประกอบการเลือกใช้เป็นอันดับต้นๆในการทำการตลาดออนไลน์หรือเป็นช่องทางการขาย
หนึ่ง...Line มีการสร้างแบรนด์ให้กับตัวเองและมีการพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่อย่างต่อเนื่อง
สอง..มีระบบ Ecosystem ของเกมส์และระบบการชำระเงินที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งโมเดลดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในประเทศไทยและอินโดนีเซีย
สาม..Line มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สร้างความแตกต่างจากแอพลิเคชั่นอื่นนั่นคือ Sticker Line ซึ่งเป็นการสื่อสารด้วยภาพ เสียงรวมถึงบริการด้านวีดีโอ ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ Line ได้พัฒนาบริการใหม่ๆที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ เช่นร้านค้าออนไลน์อย่าง LineShop รวมถึงล่าสุดกับแพล็ตฟอร์มในการชำระเงินอย่างเป็นทางการอย่าง LINE Pay ซึ่งมีการเปิดทดลองใช้งานมาตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2558 และมียอดผู้สมัครทะลุ 1 ล้านคนไปแล้ว โดยได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการรับชำระและทำธุรกรรมทางการเงินได้
อีกหนึ่งจุดเด่นสำคัญของ Line ก็คือการปรับรูปแบบบริการให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือ Localize ในหลายๆด้าน เช่นเรื่องของภาษา สกุลเงิน ที่ใช้ของแต่ละประเทศ หรือในประเทศญี่ปุ่นก็มีบริการเรียกแท๊กซี่ผ่าน Line ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะแห่งเดียว
แม้ว่าปัจจุบันแชทแอพลิเคชั่นในแต่ละประเทศในอาเซียนจะมีการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น อินโดนีเซียมี Whatsapp เป็นผู้นำตลาด ฟิลิปปินส์มี Viber ประเทศจีนใช้ WeChat ประเทศไทยใช้ Line แต่สำหรับผู้ใช้งานเชิงธุรกิจ Line ถือว่าตอบโจทย์ได้ดีที่สุด ในอนาคตเชื่อได้ว่าความนิยมในการใช้งาน Line ในระดับภูมิภาคน่าจะมีโอกาสเติบโตขึ้นได้มากกว่านี้แน่นอน สำหรับผู้ใช้งานในประเทศไทยจึงควรมองหาตลาดในภูมิภาคในระยะยาวได้เช่นกัน
Create by smethailandclub.com
Topics:
Share:
Related Articles
จับตา “Double Disruption” ตัวปลุกเทรนด์ดิจิทัลปี ‘64 กับ 4 เรื่องที่ SME ต้องใช้!
ธุรกิจในตอนนี้กำลังเจอกับ Double Disruptions ซึ่งจะอยู่กับเราต่อไปอีกยาวแม้จะหมดจากโควิดไปแล้วก็ตาม และนี่คือ 9 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เชื่อมโยง..
ไม่ต้องเก่งทุกอย่างทำทุกฟังก์ชั่น เพราะยุคใหม่เขาชนะกันที่ Data Ecosystem
ทำทุกอย่าง พยายามเก่งมันทุกเรื่อง และคาดหวังว่าทุกสิ่งจะคงอยู่ถาวรตลอดไป ความเชื่อทั้งหมดนี้คือ “หลุมพราง” และช่องว่างมรณะ (The Death Gap) ที่นำพาหล..
Epson ใช้เทคโนโลยีพรินเตอร์ช่วยโลก “Wheel for Wild” ปั่นพิทักษ์ป่า รักษาความยั่งยืนให้สังคมไทย
เอปสัน ประเทศไทย บริษัทฯ ได้ขยายขอบเขตของงานซีเอสอาร์มาด้าน Life on Land จัดกิจกรรม Wheel for Wild เพื่อรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกั..