ความจริงอันเกี่ยวกับ “ไขมัน”
Share:
วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์
ไขมันดูจะเป็นอาหารที่หลายคนโดยเฉพาะใครที่กำลังลดน้ำหนักหรือดูแลสุขภาพอย่างเคร่งครัดพยายามหลีกเลี่ยง ข้อมูลเกี่ยวกับไขมัน /น้ำมันชนิดต่าง ๆ ที่เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เองก็ทำให้หลายคนสับสนว่าตกลงไขมันไหนดี อันไหนไม่สมควรรับประทาน ก่อนจะปักใจเชื่ออะไรบางอย่าง
บางทีเราอาจต้องอ่านข้อมูลหลากหลายด้าน เช่น ข้อมูลที่นำเสนอในขณะนี้เป็นบทความตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดซึ่งระบุว่าไขมันเป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นแหล่งพลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เป็นส่วนประกอบของเซล และปลอกประสาท ไขมันจึงไม่สมควรถูกตัดออกจากจานอาหารอย่างสิ้นเชิง
ไขมันแต่ละชนิดมีโครงสร้างคล้ายกันคือประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนที่เชื่อมกับอะตอมของไฮโดรเจน ต่างกันตรงที่ไขมันแต่ละชนิดมีลักษณะสายคาร์บอนและจำนวนอะตอมไฮโดรเจนไม่เท่ากัน โครงสร้างที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยนี่เองที่เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของไขมัน โดยมีการแบ่งไขมันเป็น 3 ประเภทคร่าว ๆ ได้แก่

• ไขมันที่แย่ที่สุด ประกอบด้วยไขมันทรานส์ซึ่งเกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนลงไปในน้ำมันพืชเพื่อให้มีสภาพกึ่งแข็งกึ่งเหลว และไม่เหม็นหืนง่าย ๆ ไขมันทรานส์จึงเป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อทำให้อายุของผลิตภัณฑ์ยาวนานขึ้น ตัวอย่างของไขมันทรานส์ก็เช่น มาการีน และเนยขาว (shortening) รวมถึงส่วนผสมที่ระบุว่าเป็น partially hydrogenated oil
ส่วนอาหารที่มีไขมันทรานส์ก็เป็นจำพวกคุกกี้ เค้ก ขนมอบ ฟาสต์ฟู้ด มันฝรั่งทอด และอาหารแปรรูปต่าง ๆ ผลการศึกษาระบุไขมันทรานส์ไม่เพียงทำให้จำนวน LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลตัวร้ายเพิ่มขึ้น หากยังเป็นต้นเหตุให้คอเลสเตอรอลดีอย่าง HDL ลดลงอีกด้วย ไขมันทรานส์ยังเป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย อาทิ โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และโรคเบาหวาน เป็นต้น
• ไขมันกลาง ๆ คือไขมันที่ไม่เลวร้ายที่สุดแต่ก็ไม่ได้ดีมากมายนัก ไขมันที่ว่าคือไขมันอิ่มตัวที่พบในเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์นม เนย และชีส รวมถึงไขมันมะพร้าว ไขมันชนิดนี้ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และทำให้เสี่ยงต่อการอุดตันของเส้นเลือดได้เช่นกัน แต่ถ้ารับประทานในปริมาณที่ไม่สูง และทานควบคู่กับอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง
• ไขมันดี หรือไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่ได้จากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันคาโนลา น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด รวมถึงอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจำเป็น เช่น ปลาแซลมอน แมคเคอเรล ซาร์ดีน ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดแฟล็กซ์ เมล็ดเจีย เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง อาหารเหล่านี้มีทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล LDL และเพิ่ม HDL ทั้งยังลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ และช่วยบรรเทาการอาการอักเสบในร่างกาย รวมถึงทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจน้อยลงอีกด้วย
หลายคนทานน้ำมันมะพร้าวเพื่อช่วยการเผาผลาญพลังงาน หรือบางคนนิยมใช้น้ำมันหมูปรุงอาหารเพราะให้รสชาติอร่อยกว่า อันนี้เป็นความเชื่อและรสนิยมส่วนตัว แต่ผู้เขียนมองขึ้นอย่างนี้ ไม่ใช่แค่น้ำมันหรอก อาหารอย่างอื่นก็เช่นกัน การนำเข้าสู่ร่างกายมากหรือน้อยเกินไป ย่อมก่ออันตรายต่อสุขภาพได้ทั้งนั้น สิ่งที่ควรทำคือการเดินทางสายกลางหรือรับประทานให้สมดุลนั่นเอง
ที่มา วารสาร K SME Inspired
Topics:
Share:
Related Articles
หนาวนี้เที่ยวไหน ชี้จุด 5 สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเหนือ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศา
เตรียมเสื้อกันหนาวตัวหนาๆ แพ็คลงกระเป๋าแล้วตามเรามาเพราะนี่คือสถานที่ท่องเที่ยวที่รับประกันว่าขึ้นไปแล้วจะได้เจอกับอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสโด..
บุญก็มาเงินก็มี! รวม 6 เมนูเจ ทำขายง่าย กำไรงาม
เริ่มต้นกันแล้วสำหรับเทศกาลกินเจปี 2563 ซึ่งตรงกับวันที่ 17 - 25 ตุลาคม แม้ปีนี้บรรยากาศอาจดูเงียบเหงากันไปบ้าง เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และเข้ากั..
ใช้บาดแผลและรอยช้ำ ประสบการณ์คนรุ่นเก่า นำพาเราข้ามวิกฤต โดย วัฒนพงษ์ ตั้งร่ำรวย
ประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน มักใช้ได้เสมอ สำหรับคนที่นำมาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัย อย่างน้อยก็เป็นแนวทางการตัดสินใจได้บ้างว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อะไร..