พาชมศูนย์ใหม่ TCDC ส่งเสริม SME เน้นคิด–ผลิต–ขายได้จริง
Share:
Text : กองบรรณาธิการ

หลังจากปิดตัวลงจากห้างสรรพสินค้าดิ เอ็มโพเรียมมากว่าครึ่งปี TCDC (Thailand Creative & Design Center) หรือ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ก็ได้กฤษ์เปิดตัวศูนย์แห่งใหม่ขึ้นที่ไปรษณีย์กลาง บางรัก ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมานี่เอง แน่นอนนอกจากพื้นที่ให้บริการที่ใหญ่ขึ้น ยังเพิ่มพื้นที่บริการใหม่ๆ อีกหลายส่วน ที่นอกจากจะสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไอเดียใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว ยังเพิ่มในส่วนของการส่งเสริมให้เกิดการผลิต ทดลองทำจริง จนนำไปสู่การขาย การทำธุรกิจขึ้นมาได้จริงด้วย ตามคอนเซปต์ที่ตั้งไว้ คือ คิด – ผลิต – ขาย โดยพื้นที่ทั้งหมดของ TCDC แห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยพื้นที่ 5 ชั้นของอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ครอบคลุมพื้นที่กว่า 9,000 ตารางเมตร มีบริการอะไรให้เข้าไปเลือกใช้บริการบ้างนั้นลองไปดูกัน
เริ่มต้นที่ ชั้น 1 เป็นพื้นที่ของนิทรรศการหมุนเวียน และช็อปที่ขายผลงานออกแบบทั้งไทยและต่างประเทศ


ถัดมา ชั้นที่ 2 คือ ศูนย์รวมวัสดุและนวัตกรรมต่างๆ (Material & Design Innovation Center) ที่รวบรวมวัสดุต่างๆ ทั้งวัสดุพื้นฐานทั่วไปที่ใช้ในงานออกแบบ และวัสดุที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมใหม่ๆ โดยมีตัวอย่างให้เลือกชมกว่าหลายพันชิ้น โดยจะแยกประเภทออกตามป้ายสีต่างๆ ที่ติดไว้ เช่น สีแดง คือ วัสดุจากโพลีเมอร์ สีเขียว คือ วัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งมีวัสดุทั้งจากในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านจากภูมิภาคเอเชียเอง นอกจากนี้ยังมีแผนที่แนะนำย่านขายวัสดุต่างๆ ในกรุงเทพฯ บอกไว้ให้เลือกซื้อหานำมาใช้อีกกว่า 15 แห่งด้วย




ชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่ของห้องปฏิบัติการ หรือ Maker Space โดยมีบริการเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยต่างๆ ให้เลือกใช้บริการ เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ อาทิ เครื่อง 3D Printer เครื่องทอผ้าไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะคิดค่าใช้บริการต่างๆ ในราคาไม่แพง เพื่อให้ใครก็สามารถมาทดลองทำได้


ชั้นที่ 4 เป็นส่วนของห้องสมุด หรือ Resource Center แหล่งรวบรวมหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบโดยแต่ละชั้นจะมีบันไดเลื่อนเล็กๆ เชื่อมต่อถึงกันเพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้เข้ามาใช้บริการ




ส่วนชั้นสุดท้าย ชั้นที่ 5 จะเป็นพื้นที่ของโคเวิร์คกิ้งสเปซ และพื้นที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ เพื่อให้เข้ามานั่งทำงาน ใช้ความคิด รวมถึงการเข้ามาขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของการทำธุรกิจในด้านต่างๆ ตั้งแต่การด้านโปรดักส์ แพ็กเกจจิ้ง มาร์เก็ตติ้ง แบรนด์ดิ้ง กฎหมาย ฯลฯ โดยมีเปิดสอนทั้งแบบเป็นเวิร์คช็อป และการให้คำปรึกษาแบบเฉพาะบุคคล โดยคิดค่าบริการอยู่ที่ชั่วโมงละ 1,000 บาท ผู้สนใจสามารถติดต่อเข้ามาเพื่อนัดหมายกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านได้ผ่านทาง www.tcdc.or.th


โดยผู้สนใจสามารถเข้ามาใช้บริการได้ โดยตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ เปิดให้เข้าใช้บริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 10.30 – 21.00 น. และหากเกินเวลาไปแล้วสามารถสมัครเป็นสมาชิกรายปีได้ โดยคิดค่าบริการอยู่ที่ 1,200 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป และ 600 บาท สำหรับนักเรียนนักศึกษา หรือหากอยากวอคอินเข้ามาใช้บริการ โดยยังไม่สมัครสมาชิกก็คิดค่าบริการวันละ 100 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-2105-7400
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

หลังจากปิดตัวลงจากห้างสรรพสินค้าดิ เอ็มโพเรียมมากว่าครึ่งปี TCDC (Thailand Creative & Design Center) หรือ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ก็ได้กฤษ์เปิดตัวศูนย์แห่งใหม่ขึ้นที่ไปรษณีย์กลาง บางรัก ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมานี่เอง แน่นอนนอกจากพื้นที่ให้บริการที่ใหญ่ขึ้น ยังเพิ่มพื้นที่บริการใหม่ๆ อีกหลายส่วน ที่นอกจากจะสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไอเดียใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว ยังเพิ่มในส่วนของการส่งเสริมให้เกิดการผลิต ทดลองทำจริง จนนำไปสู่การขาย การทำธุรกิจขึ้นมาได้จริงด้วย ตามคอนเซปต์ที่ตั้งไว้ คือ คิด – ผลิต – ขาย โดยพื้นที่ทั้งหมดของ TCDC แห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยพื้นที่ 5 ชั้นของอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ครอบคลุมพื้นที่กว่า 9,000 ตารางเมตร มีบริการอะไรให้เข้าไปเลือกใช้บริการบ้างนั้นลองไปดูกัน
เริ่มต้นที่ ชั้น 1 เป็นพื้นที่ของนิทรรศการหมุนเวียน และช็อปที่ขายผลงานออกแบบทั้งไทยและต่างประเทศ


ถัดมา ชั้นที่ 2 คือ ศูนย์รวมวัสดุและนวัตกรรมต่างๆ (Material & Design Innovation Center) ที่รวบรวมวัสดุต่างๆ ทั้งวัสดุพื้นฐานทั่วไปที่ใช้ในงานออกแบบ และวัสดุที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมใหม่ๆ โดยมีตัวอย่างให้เลือกชมกว่าหลายพันชิ้น โดยจะแยกประเภทออกตามป้ายสีต่างๆ ที่ติดไว้ เช่น สีแดง คือ วัสดุจากโพลีเมอร์ สีเขียว คือ วัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งมีวัสดุทั้งจากในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านจากภูมิภาคเอเชียเอง นอกจากนี้ยังมีแผนที่แนะนำย่านขายวัสดุต่างๆ ในกรุงเทพฯ บอกไว้ให้เลือกซื้อหานำมาใช้อีกกว่า 15 แห่งด้วย




ชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่ของห้องปฏิบัติการ หรือ Maker Space โดยมีบริการเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยต่างๆ ให้เลือกใช้บริการ เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ อาทิ เครื่อง 3D Printer เครื่องทอผ้าไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะคิดค่าใช้บริการต่างๆ ในราคาไม่แพง เพื่อให้ใครก็สามารถมาทดลองทำได้


ชั้นที่ 4 เป็นส่วนของห้องสมุด หรือ Resource Center แหล่งรวบรวมหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบโดยแต่ละชั้นจะมีบันไดเลื่อนเล็กๆ เชื่อมต่อถึงกันเพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้เข้ามาใช้บริการ




ส่วนชั้นสุดท้าย ชั้นที่ 5 จะเป็นพื้นที่ของโคเวิร์คกิ้งสเปซ และพื้นที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ เพื่อให้เข้ามานั่งทำงาน ใช้ความคิด รวมถึงการเข้ามาขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของการทำธุรกิจในด้านต่างๆ ตั้งแต่การด้านโปรดักส์ แพ็กเกจจิ้ง มาร์เก็ตติ้ง แบรนด์ดิ้ง กฎหมาย ฯลฯ โดยมีเปิดสอนทั้งแบบเป็นเวิร์คช็อป และการให้คำปรึกษาแบบเฉพาะบุคคล โดยคิดค่าบริการอยู่ที่ชั่วโมงละ 1,000 บาท ผู้สนใจสามารถติดต่อเข้ามาเพื่อนัดหมายกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านได้ผ่านทาง www.tcdc.or.th


โดยผู้สนใจสามารถเข้ามาใช้บริการได้ โดยตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ เปิดให้เข้าใช้บริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 10.30 – 21.00 น. และหากเกินเวลาไปแล้วสามารถสมัครเป็นสมาชิกรายปีได้ โดยคิดค่าบริการอยู่ที่ 1,200 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป และ 600 บาท สำหรับนักเรียนนักศึกษา หรือหากอยากวอคอินเข้ามาใช้บริการ โดยยังไม่สมัครสมาชิกก็คิดค่าบริการวันละ 100 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-2105-7400
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
หนาวนี้เที่ยวไหน ชี้จุด 5 สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเหนือ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศา
เตรียมเสื้อกันหนาวตัวหนาๆ แพ็คลงกระเป๋าแล้วตามเรามาเพราะนี่คือสถานที่ท่องเที่ยวที่รับประกันว่าขึ้นไปแล้วจะได้เจอกับอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสโด..
บุญก็มาเงินก็มี! รวม 6 เมนูเจ ทำขายง่าย กำไรงาม
เริ่มต้นกันแล้วสำหรับเทศกาลกินเจปี 2563 ซึ่งตรงกับวันที่ 17 - 25 ตุลาคม แม้ปีนี้บรรยากาศอาจดูเงียบเหงากันไปบ้าง เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และเข้ากั..
ใช้บาดแผลและรอยช้ำ ประสบการณ์คนรุ่นเก่า นำพาเราข้ามวิกฤต โดย วัฒนพงษ์ ตั้งร่ำรวย
ประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน มักใช้ได้เสมอ สำหรับคนที่นำมาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัย อย่างน้อยก็เป็นแนวทางการตัดสินใจได้บ้างว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อะไร..