ขนมขบคิด...กินขนมเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

 

 
ย้อนกลับไปเมื่อ 2-3 ปีก่อน ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพที่กำลังมาแรง ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวภายใต้ชื่อแบรนด์ “ขนมขบคิด” ได้เปิดตัวพร้อมกับจุดยืนการเป็นขนมเพื่อสุขภาพ และล่าสุดยังได้ต่อยอดแบรนด์อาหาร Think good ขึ้นมาเจาะตลาดกลุ่มคนรักสุขภาพที่ชัดเจนขึ้น 
 
วรกร เลาหเสรีกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟาร์มคิดดี จำกัด และบริษัท ขนมขบคิด จำกัด เปิดเผยถึงผลตอบรับในช่วงเวลาสองปีในการออกสู่ตลาดของแบรนด์ขนมคบคิดว่า ถึงแม้ตลาดสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพจะมาแรง แต่ผู้บริโภคคนไทยยังให้ความสำคัญกับรสชาติก่อนเรื่องสุขภาพ ส่งผลให้ไม่สามารถขยายตลาดได้ ทำให้เขาต้องหันมาปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจใหม่ ที่ผลิตภัณฑ์จะต้อง “ครบเครื่อง” มากขึ้นกว่าเดิม

โดยยังคงเน้นคุณค่าของอาหารมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่รสชาติเป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาตามมาเป็นอันดับสอง ดังนั้น เพื่อให้รสชาติโดดเด่นเป็นที่ถูกใจลูกค้า ทั้งกระบวนการผลิตและวัตถุดิบจะต้องเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมที่ใช้อยู่ มีการพลิกแพลงส่วนผสมอย่างอื่นเข้ามาเพิ่มเติม นอกจากการใช้ข้าวไทยที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อน ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น
 
วรกรจึงปรับโจทย์วิธีคิดของเขา โดยการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพประเภทดัชนีน้ำตาลต่ำที่เรียกว่า Low GI เพื่อตอบสนองเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
 
“จากการที่เราโฟกัสกลุ่มเป้าหมายให้ชัดขึ้น ทำให้ฐานลูกค้าเราขยายขึ้น มีการคาดการณ์ว่าอนาคตภายในปี 2563 คนไทยจะป่วยด้วยโรคเบาหวาน 8.2 ล้านคน เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรของประเทศไทย ทำให้เราเห็นว่าตลาดไม่ได้แคบลง

ในขณะเดียวกัน เราไม่ได้โฟกัสเรื่องเบาหวานอย่างเดียว ยังมีงานวิจัยที่ทำสูตรจบไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ออกเป็นตัวโปรดักต์ เช่น ขนมปังสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง พอเราพูดถึงว่าเป็นอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานหรือเป็นมะเร็ง อาจจะมองว่ากลุ่มลูกค้าเล็กลง แต่จริงๆ แล้วอาหารพวกนี้ทุกคนรับประทานทานได้ เพราะมันดีขนาดคนที่เจ็บป่วยรับประทานแล้วไม่เป็นอะไร แล้วทำไมคนที่ไม่ป่วยจะรับประทานไม่ได้” 
 
วรกรตั้งเป้าวางแผนทำตลาดสินค้าเพื่อให้คนทั่วไปรู้จัก เริ่มจากการลดราคาให้ต่ำลง และลดขนาดหีบห่อเพื่อให้สะดวกในการซื้อ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ซึ่งเขาไม่ได้มองว่าเป็นการลดคุณภาพ นอกจากนี้ ยังเน้นกระจายสินค้าตามระบบการค้าปลีกอย่างซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ โดยวาง Positioning จับกลุ่มลูกค้า B+ แต่ราคาแค่ระดับ B เพราะต้องการที่จะทำสินค้าเพื่อให้คนทุกคนเข้าถึงได้ โดยไม่ลืมหัวใจสำคัญอย่างสุขภาพของผู้บริโภค
 
“ในอนาคตเราจะออกขนมแบรนด์ใหม่ชื่อว่า Think Good ประกาศจุดยืนว่าเราจะคิดดี เราจะทำอาหารเพื่อให้คนที่รับประทานอาหารของเราแล้วใช้ชีวิตที่ดีขึ้น อาหารคือไลฟ์สไตล์ของคุณ แบรนด์ Think Good ของเราจะชัดเจนขึ้น โดยจะเจาะลึกลงไปและพูดถึงข้อมูลที่เป็นเชิงวิชาการมากขึ้น ที่ผ่านมาเรากลัวว่าคนไทยจะรับได้ไหม จะหนักเกินไปหรือเปล่า แต่ความจริงคนไทยที่เป็นลูกค้าอาหารเพื่อสุขภาพเขารู้มากกว่าเราอีก ตอนนี้ผมจึงต้องบอกทุกอย่างที่เรารู้แก่ผู้บริโภค”
 
 
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน