ปั้นแบรนด์สินค้าชุมชนให้เก๋ไก๋ ด้วยธรรมศาสตร์โมเดล






 
     ในแต่ละชุมชนของประเทศเรา เต็มไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น วัตถุดิบชั้นดี ชาวบ้านที่มีศักยภาพแต่สินค้าระดับชุมชนนั้นกลับขายไม่ได้ราคา บางคนขายสินค้าเดิมๆ เป็น 10 ปีก็ยังไปไหนไม่ได้สักที นั้นเป็นเพราะอุปสรรคหลายด้าน เช่น แพ็คเกจจิ้ง สินค้าไม่มีอย. ผู้คนยังเข้าไม่ถึงตัวสินค้า เป็นต้น ท้ายที่สุดสินค้าของชุมชนก็ไปได้ไกลแค่ร้านขายของฝากหรือขายกันเองในชุมชนเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สินค้าของชุมชนหากถูกพัฒนาให้ถูกทางจะ
สามารถกลายเป็นสินค้าระดับประเทศหรือระดับโลกได้เลยทีเดียว 

 
     "ธรรมศาสตร์โมเดล" เป็นโครงการธุรกิจเพื่อชุมชน อยู่ในหลักสูตรบริหารควบปริญญาตรี-โท ทางบัญชีและบริหารธุรกิจของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยธรรมศาสตร์โมเดลทำหน้าที่เป็นสะพานทอดระหว่างชุมชน นักศึกษารวมถึงเหล่า Corporate ที่จะช่วยเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนให้เติบโตไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนด้วยการให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าชุมชน ปั้นแบรนด์ ให้สามารถขายได้จริง โดยองค์กรต่างๆ จะเข้ามาสนับสนุนเรื่องของ Knowhow เป็นพาร์ทเนอร์ในการพัฒนาสินค้าชุมชน 



 
     รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธรรมศาสตร์โมเดลได้บอกว่าธรรมศาสตร์โมเดลเปรียบเสมือนพื้นที่ห้องเรียนของนักศึกษาที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและชุมชนได้จริง 

 
     “พื้นที่ของชุมชนเปรียบเสมือนห้องเรียนของนักศึกษา สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ผลลัพธ์แต่มันคือสำนึกที่ทุกคนมีร่วมกันในการสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและชุมชน ผลักดันให้ชุมชนก้าวไปข้างหน้า ผมตั้งความหวังว่าสถานศึกษาในประเทศไทย จะมีโมเดลแบบนี้เช่นกัน คือสถานศึกษาเลือกชุมชนให้นักศึกษาลงพื้นที่ จับมือกับ Corporate เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ 3 ฝ่ายจับมือกันเราเรียกว่าธรรมศาสตร์โมเดล ช่วยกันคิดค้นพัฒนาอะไรใหม่ๆ ผมจะไม่พูดว่าธรรมศาสตร์โมเดลเป็นของธรรมศาสตร์ แต่ธรรมศาสตร์โมเดลเป็นของทุกคน ทุกคนสามารถช่วยกัน นำโมเดลของเราไปใช้ ไม่ต้องเอาชื่อเราไปก็ได้ ทำให้เกิดขึ้นกับทุกชุมชนในประเทศไทย ช่วยพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น”

 
     ลองมาดูตัวอย่างแบรนด์เก๋ๆ จากชุมชนที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากธรรมศาสตร์โมเดล กันดีกว่า 





1.Rice Me @วิสาหกิจชุมชนเกาะกก 

     จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ถูกแปรรูปกลายมาเป็น Snack Bar ในแบรนด์ Rice Me ที่นำข้าวไรซ์เบอร์รี่มาอัดเป็นแท่ง ปรุงรสอร่อย ใส่ธัญพืช ทำให้กินง่ายขึ้น รสชาติอร่อยถูกใจ ที่สำคัญยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ชอบอาหารสุขภาพ คนออกกำลังกายและคุมน้ำหนัก แท่งหนึ่งอิ่มอร่อยอยู่ที่ 220 แคลอรี่เท่านั้นเอง 

 


 
2.Horm Herb @วิสาหกิจชุมชนเกาะกก 

     Horm Herb อีกหนึ่งแบรนด์น่าสนใจที่แปลงโฉมจากลูกประคบสมุนไพรราคาไม่ถึงหนึ่งร้อยบาทให้กลายเป็นหมอนรองคอสมุนไพร ราคา 400 บาท ในรูปลักษณ์ที่ดูดี สามารถเพิ่มมูลค่าได้หลายเท่าตัวเลยทีเดียว ที่สำคัญยังใช้งานง่าย หอมสมุนไพรเต็มๆ 




 
3.Cassy Chips @ศพก.บ้านฉาง 

     มันสำปะหลังปกติราคาขายอยู่ที่  1-2 บาทต่อกิโลกรัม แต่ Cassy Chips สามารถเพิ่มมูลค่าให้มันสำปะหลังได้ที่ 10 บาท/ 1 กิโลกรัม ช่วยชาวบ้านในชุมชนที่ปลูกมันสำปะหลังให้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยมันสำปะหลังที่นำมาใช้ในการทำ Cassy Chips คือมัน 5 นาทีซึ่งเป็นพันธุ์ที่ชาวบ้านปลูกกัน หลังจากที่นำมัน 5 นาทีมาสไลด์และทอดเสร็จแล้วก็ปรุงรสด้วยน้ำพริกเผาหรือสมุนไพร นำใส่แพ็คเกจจิ้งที่ดูดี มีคุณภาพ ขายได้ในราคาซองละ 35 บาท สร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 11 เท่าเลยทีเดียว 



4.Chalud @ชุมชนมาบชลูด 

     แบรนด์ Chalud ช่วย Makeover จากกระเป๋าผ้าธรรมดาของชุมชนมาบชะลูดให้กลายเป็นกระเป๋าเก๋ไก๋มีดีไซน์ สามารถขายได้ถึงใบละ 200 – 300 บาท จากที่เคยขายได้แค่ใบละ 100 บาทเท่านั้น ซึ่ง Chalud นั้นเปลี่ยนทั้งลวดลายของผ้าให้ดูทันสมัย มีรูปแบบที่หลากหลายและเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่มากยิ่งขึ้น 




 
5.รสชะมวง @ชุมชนตำบลเนินพระ 

     จากใบชะมวงที่หลายคนรู้จักการนำมาทำแกงหมูชะมวง ก็ได้ถูกแปรรูปอย่างสร้างสรรค์ให้กลายเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรใบชะมวง โดยความยากคือการทำให้น้ำชะมวงมีรสชาติที่คงที่เหมือนกันทุกขวดรวมถึงการยืดอายุให้ยาวนานขึ้น จนสุดท้ายก็ได้ออกมาเป็นน้ำชะมวงรสชาติอร่อย ดื่มแล้วชื่นใจ ดีต่อสุขภาพอีกด้วย  
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น