ทำไมหนอทำไม? SME ไทย เข้าไม่ถึงงานวิจัยและนวัตกรรม




Main Idea
 
  • การพัฒนาธุรกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำธุรกิจยุคนี้ เพราะนี่คือเครื่องมือที่จะช่วยให้ SME ก้าวนำคู่แข่ง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันได้ในตลาด
 
  • แต่กลับมีผู้ประกอบการ SME ไทยไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ หรือแค่ 30,000 ราย ที่มีการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจ
 
  • อย่าให้เหตุผลเหล่านี้มาฉุดรั้งการเติบโตของธุรกิจคุณ หากอยากเติบโต SME ต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยมาพัฒนาให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการทำงาน และการตลาด




     การพัฒนาธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี หรือ Innovation Driven Economy เป็นสิ่งสำคัญมากในการทำธุรกิจยุคนี้ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ SME ก้าวนำคู่แข่ง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นแนวทางให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ภายใต้ภาวะการแข่งขันในตลาดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น





     แม้ว่าแนวโน้มผู้ประกอบการในประเทศไทยจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อเทียบสัดส่วนดังกล่าวกับจำนวน SME ที่มีอยู่ในประเทศไทยกว่า 3 ล้านรายแล้ว กลับพบว่ามีไม่ถึงร้อยละ 1 หรือไม่ถึง 30,000 ราย ที่มีการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจ
 

     โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ SME ยังไม่สามารถเข้าถึงเรื่องดังกล่าวได้ เป็นเพราะ


     1. ขาดองค์ความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งจากภายในและต่างประเทศ เช่น ข่าวรายวัน ผลงานวิจัยใหม่ๆ การศึกษาข้อมูลตัวอย่างของผู้ประกอบการต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ


     2. ขาดเงินทุน เนื่องจากในการผลิตงานวิจัยหรือนวัตกรรมยังมีต้นทุนที่สูง


     3. ขาดเครือข่ายเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา จึงยังทำให้ไม่มีโอกาสในการร่วมกันพัฒนานวัตกรรม หรือการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากนัก


     4. ขาดกำลังคน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่มีความรู้ในสถานประกอบการ การขาดเครื่องมือ ระบบดิจิทัล และเทคโนโลยีที่ทันสมัย


     5. การกระจุกตัวของการพัฒนานวัตกรรม ที่ส่วนใหญ่ยังอยู่แค่ในระดับส่วนกลาง หรือระดับหัวเมือง จึงทำให้ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคยังติดอยู่กับรูปแบบธุรกิจเดิมๆ และไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ได้
 





      อย่าให้เหตุผลเหล่านี้มาฉุดรั้งการเติบโตของธุรกิจ เพราะงานวิจัยและนวัตกรรมนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดหรือสู้กับคู่แข่งได้ แต่ยังเป็นการปูทางไปสู่ความสำเร็จเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยจะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีการเติบโตมักจะให้ความสำคัญกับการลงทุนเรื่องการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการสร้างนวัตกรรมสำเร็จแล้ว สินค้าและบริการต่างๆ ยังเป็นตัวแปรและปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคและสร้างการจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้าได้เป็นอย่างดี






     ฉะนั้นแล้ว SME ที่อยากเติบโตต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัย 3 ด้าน คือ

 
  • การพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่เป็นสิ่งใหม่และไม่คุ้นเคย โดยจะต้องเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่ซ้ำกับสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค และมีความก้าวล้ำเหนือคู่แข่ง เช่น บริการหลังการขาย การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย สินค้าหรือบริการที่มีหลากหลายฟังก์ชั่นการใช้งาน การสร้างคอนเทนท์หรือการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อต่างๆที่มีความดึงดูดใจ การผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพ เป็นต้น การเน้นนวัตกรรมที่เกี่ยว
 
  • กับกระบวนการผลิต โดยจะต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆที่มีความทันสมัย สามารถประยุกต์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิต รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต การใช้พลังงานทดแทน นวัตกรรมเพื่อการลดต้นทุน เป็นต้น 
 
  • การพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมทางการตลาด ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาลเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น การมีระบบจัดเก็บข้อมูล (Big Data) การใช้โซเชียลมีเดีย การมีระบบสื่อสารใหม่ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้บริโภค เป็นต้น 





ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม




 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน