ทราบแล้วเปลี่ยน! รู้ทัน Digital Disruption พลิกธุรกิจให้ทันในวันโลกเปลี่ยน

Text : พิมพ์ใจ พิมพิลา



 
 
Main Idea
 
  • หลายธุรกิจต้องหยุดชะงักกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาในยุคดิจิทัล ซึ่งการเปลี่ยนผ่านนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับธุรกิจใหญ่ๆ เท่านั้น หากแต่ SME ก็ได้รับผลกระทบมากน้อยไปด้วยเช่นกัน 
 
  • ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังต้องหาความรู้เพื่อนำเป็นแผนรองรับกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในโลกที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

 
     ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SME จำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียนที่มีความสนใจในการลงทุนด้านเทคโนโลยี ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีความสนใจในเรื่องนี้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาธุรกิจแนวใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถด้วยพลังของเทคโนโลยีนั้นกำลังเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการ เพราะไม่เพียงกิจการจะสามารถเติบโตได้ในยุคที่ท้าทายเช่นนี้ ยังนับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทั้งในด้านนวัตกรรมและการวางกลยุทธ์ที่จะมารับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


     มาดูสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ควรรู้ ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีทั้งในไทยและอาเซียน เพื่อเท่าทัน Digital Disruption สามารถพลิกธุรกิจให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนได้ในปี 2563 




 
  • ทิศทางการเติบโตของการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลในปี 2563 


     วันนี้โลกเรากำลังอยู่ในยุค Digital Transformation  ซึ่งในตอนนี้ภาครัฐเองก็พยายามปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น อย่างเริ่มมีการนำดิจิทัลเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น รวมไปถึงภาคธุรกิจเองก็มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ เข้ามาใช้มากเช่นเดียวกัน ซึ่งนั่นส่งผลให้มีผู้ประกอบด้านดิจิทัลมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ SME ที่ทรานสฟอร์มไปเป็นบริษัทขนาดใหญ่ รวมไปถึงกลุ่ม Startup


     ทั้งนี้เมื่อเทียบเคียงข้อมูลจำนวนประชากรในไทยปัจจุบันซึ่งมีอยู่ประมาณ 69 ล้านคน พบว่ามีคนใช้มือถือสูงถึง 92 ล้านเครื่อง นั่นแสดงให้เห็นว่าคนหนึ่งคนมีโทรศัพท์มากกว่า 1 เครื่อง หรืออาจจะมี 4-5 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อโลกดิจิทัล อีกทั้งยังมีจำนวนประชากรถึง 57 ล้านคน ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แล้ว อานิสงส์ที่ตามมาคือการค้าอี-คอมเมิร์ซเติบโตขึ้น เพราะโลกการค้าถูกเชื่อมถึงได้ง่ายด้วยอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับคอนเทนต์บันเทิงต่างๆ ที่สามารถอยู่ได้บนมือถือเพียงเครื่องเดียว  


     จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล จึงเติบโตค่อนข้างสูงตลอดที่ผ่านมา และมีการให้ความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบันเราใช้มือถือหรือเทคโนโลยีดิจิทัลในการเข้าถึงคอนเทนต์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเสพข้อมูลในโซเชียลมีเดีย ซึ่งส่งผลให้มีหน่วยงานภาครัฐหรือผู้ประกอบการเองเข้ามากำกับดูแลมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือเทรนด์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงทั้งภูมิภาคอาเซียนด้วย
 

 
  • SME ไทย ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาธุรกิจมากน้อยแค่ไหน

     ข้อมูลจากสำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่ามีผู้ประกอบการ ไทยประมาณ 3 ล้านราย เป็น SME หรือคิดเป็นกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ของวิสาหกิจทั้งหมด สิ่งที่พบคือ ส่วนใหญ่ยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจน้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้เทคโนโลยีในด้านอื่นๆ หรือโซเชียลมีเดีย จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2561 ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศของผู้ประกอบการไทย พบว่ามี SME เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำธุรกิจของตัวเอง 


     โดยส่วนใหญ่ที่ยังไม่ค่อยนำเทคโนโลยีมาใช้มากนัก จะเป็นกลุ่ม SME รายย่อยที่ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี ซึ่งนี่เป็นประเด็นที่ภาครัฐเร่งให้ความสำคัญ เพราะในวันนี้ธุรกิจที่ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้จะมีความสามารถในการแข่งขันน้อยมาก และก้าวตามโลกได้ยากขึ้น


     ทั้งนี้หากย้อนไปดูการสำรวจเมื่อประมาณ 6 - 7 ปีก่อน ในยุคที่เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา พบว่าผู้ประกอบการไทยก็ยังคงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจไม่มากเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นแค่การตอบอีเมลกับการเข้าเว็บไซต์ ซึ่งในปัจจุบันอาจจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างขีดความสามารถให้กับกลุ่ม SME ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ได้



 
  • รับมืออย่างไร ในวันที่ SME ต้องเจอกับ Digital Disruption

     Digital Disruption เป็นคำที่ถูกพูดถึงเยอะมากในปีนี้ เพราะการ Disruption ที่หลายๆ คนกลัวได้เกิดขึ้นแล้วในภาคธุรกิจด้านวัตกรรมในปัจจุบัน สวนทางกับความพร้อมของ SME ไทยที่ยังมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ไม่มากนัก จึงต้องเร่งส่งเสริมให้ SME นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดย SME ต้องได้รับความรู้หรือการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการรายอื่นต่อไป 


     ยกตัวอย่างเช่น การจัดการด้านบัญชี อีคอมเมิร์ซ การให้บริการ การตรวจสอบย้อนหลังเพื่อส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส การทำการตลาดออนไลน์  การสำรวจเสียงของคนในโซเชียลเพื่อรู้ว่าปัจจุบัน คนที่อยู่ในโซเชียลมีเดียสนใจสินค้าหรือบริการประเภทไหน หรือกำลังมองหาอะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการรับมือกับ Digital Disruption ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างถูกวิธี 


     อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญ คือ ผู้ประกอบการจะต้องพยายามปรับตัวเอง ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ ทั้งนี้ SME ไทยถือเป็นสังคมผู้ประกอบการที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย ทั้งการทำธุรกิจแบบดั้งเดิม ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้การแข่งขันยิ่งสูงขึ้นไปอีก และมีแค่บางส่วนเท่านั้นที่มีความพร้อมรับมือกับ Digital Disruption ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่คิดเปลี่ยนแปลงตัวเอง โอกาสที่จะถูกกลืนกินหรือเป็นธุรกิจที่ต้องล้มหายตายจากไปก็เป็นไปได้มากขึ้น 


     ฉะนั้น SME ไทยจึงต้องเร่งปรับตัว เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล 



 
ข้อมูลจากงานสัมมนา : CEBIT ASEAN Thailand 2019 ภายใต้สัมภาษณ์พิเศษหัวข้อ SMEs ไทยรู้ทัน Digital Disruption พลิกธุรกิจโต 
 



 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน