คลอดแล้ว! มาตรการประกันสังคมช่วย ‘นายจ้าง-ลูกจ้าง’ ฝ่าวิกฤต COVID-19

 
 
Main Idea
 
  • สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กระทบต่อภาคธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม ฝากรอยช้ำให้ทั้งผู้ประกอบการที่เป็นนายจ้าง และกลุ่มพนักงานที่เป็นลูกจ้าง 
 
  • เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว คณะกรรมการประกันสังคม จึงมีมติในวันนี้ 20 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ทั้งปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน ดูแลรักษาผู้ประกันตนกรณีป่วยจากไวรัส COVID-19 ให้ดีที่สุด รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามกัน

___________________________________________________________________________________________

 
 
     วิกฤตไวรัส COVID-19 พ่นพิษใส่ในหลายอุตสาหกรรม ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบและดูจะหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีมาตรการที่เข้มข้นออกมา ทั้งการให้ปิดสถานประกอบการและสถานที่เที่ยวบางแห่งชั่วคราว งดกิจกรรมการรวมตัวกัน เลื่อนเทศกาลสำคัญซึ่งเคยเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ การรณรงค์ให้คนอยู่บ้านแทนการออกไปในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ บวกความวิตกกังวลของผู้คน ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องบาดเจ็บกันอย่างถ้วนทั่ว 
  
     รอยช้ำที่เกิดขึ้นกระทบต่อผู้ประกอบการที่เป็นนายจ้าง และกลุ่มพนักงานที่เป็นลูกจ้าง จนหลายคนกังวลว่าจะฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้หรือไม่ 


     หนึ่งในข่าวดีของนายจ้างและลูกจ้าง คือ ล่าสุดคณะกรรมการประกันสังคมมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน กรณีสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


 

1.ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยอันเกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์ รวมทั้งภัยอื่นๆ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น โดยให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยให้...

– ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน

– กรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน





2. เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นอัตราร้อยละ 4 เป็นระยะเวลา 6 เดือน พร้อมทั้งยังเห็นชอบให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 สำหรับงวดค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2563 ออกไปอีก 3 เดือน โดยงวดค่าจ้างเดือนมีนาคม 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กรกฎาคม 2563 สำหรับงวดค่าจ้างเดือนเมษายน 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 สิงหาคม 2563 และงวดค่าจ้างเดือนพฤษภาคม 2563 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กันยายน 2563 




 
3.ในเรื่องการรักษาพยาบาล คณะกรรมการฯ มีมติให้ดูแลรักษาผู้ประกันตน ที่ป่วยจากไวรัส COVID-19 ให้ดีที่สุดตามมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่กำหนด     
 

     นอกจากนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นไม่ว่าในทางเศรษฐกิจหรือผลกระทบจากปัจจัยอื่นใดคณะกรรมการยังมีมติเห็นชอบให้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกันตน ที่ว่างงานจากกรณีลาออก ร้อยละ 45 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน และจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง ร้อยละ 70 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน ทั้งนี้ มาตรการนี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากนี้คณะกรรมการฯ จะพิจารณาวิเคราะห์และมีมติพิจารณาอีกครั้ง
 

     นี่คงเป็นหนึ่งในมาตรการที่ทำให้ผู้ประกอบการ SME พอมีความหวังในการฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ เพื่อร่วมด้วยช่วยกันนำพาประเทศไทยให้พ้นภัยไวรัส และฟื้นธุรกิจกลับมาแข็งแกร่งได้ในอนาคต  




 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น