เปลี่ยนให้ปัง! ทำ Street Food ให้รอด ในโลกหลังม่านโควิด




Main Idea
 
  • การมาถึงของไวรัสโควิด-19 เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนเข้าสู่ New Normal พฤติกรรมปกติในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ SME ต้องเตรียมรับมือและเรียนรู้ เช่นเดียวกับกลุ่มร้านอาหารริมทาง อย่าง Street Food
 
  • การเปิดร้านในสถานการณ์ที่ไวรัสยังไม่หายไปจากประเทศไทย SME ต้องคำนึงถึงการควบคุมสุขลักษณะอย่างเข้มงวด และปรับตัวในการให้บริการใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป ขณะที่สุขภาพและอนามัยของผู้บริโภคก็ยังอยู่ดีมีสุขด้วย  
 
  • บทเรียนจากไวรัสสอนให้ธุรกิจต้องปรับตัว และยกระดับตัวเองเพื่อเข้าสู่วิถีใหม่ ซึ่งหากทำได้ เราก็จะเป็น Street Food ที่ไม่เพียงอยู่ในหัวใจของลูกค้า ทว่ายังเป็นกิจการที่อยู่รอดอย่างแข็งแกร่งในทุกวิกฤตได้อีกด้วย 




       ความท้าทายของผู้ประกอบการไทย ในวันที่โลกใบเก่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือต้องปรับตัวธุรกิจให้สอดรับและเดินไปในทิศทางเดียวกับโลกให้ได้


      เช่นเดียวกับการมาถึงของสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนเข้าสู่ “New Normal” พฤติกรรมปกติในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ SME ต้องเตรียมรับมือและเรียนรู้ เช่นเดียวกับกลุ่มร้านอาหารริมทาง อย่าง Street Food
 




      วิถี Street Food ยุคโควิด-19


      กิจการขนาดเล็กที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง อย่าง ร้านค้าประเภทหาบเร่ แผงลอย ไม่มีหน้าร้าน ตลอดจนร้านอาหารริมทาง (Street Food) คือหนึ่งในประเภทธุรกิจที่ได้รับการผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา แม้จะเป็นข่าวดีที่ทำให้หลายคนสามารถออกมาทำมาค้าขายได้ ไม่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเช่นที่ผ่านมา แต่ทว่าการเปิดร้านในสถานการณ์ที่ไวรัสยังไม่หายไปจากประเทศไทยนั้น ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงการควบคุมสุขลักษณะอย่างเข้มงวด และปรับตัวในการให้บริการใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป ขณะที่สุขภาพและอนามัยของผู้บริโภคก็ยังอยู่ดีมีสุขด้วย  
              

      “ผศ.ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล” หัวหน้าศูนย์ Food Innopolis @KMITL ได้กล่าวถึง แนวทางการประกอบกิจการร้านอาหารริมทาง (Street Food) ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันของประชาชน ในช่วงขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อีกทั้งมีความจำเป็นต้องจัดการมาตรฐานด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด ด้วย 5 มาตรการควบคุมสุขลักษณะร้านอาหารริมทาง ซึ่งประกอบด้วย
              




      1.การรักษาระยะห่างยังสำคัญ
 

      การเปิดร้านในวันนี้ ร้านค้าต้องจัดระบบการเข้าคิวสั่ง - รอรับอาหาร โดยใช้หลักการรักษาระยะห่าง ทั้งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และระหว่างผู้ซื้อด้วยกัน วิธีที่ทำได้ก็เช่น การมาร์คจุดเข้าคิว การจัดที่นั่งรอโดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างบุคคล นั่นเอง





     2.ผู้ขายต้องหมั่นดูแลสุขลักษณะส่วนตัว



     หนึ่งในวิถีชีวิตของผู้ค้าที่ต้องทำให้คุ้นชินในวันนี้ก็คือ การหมั่นล้างมืออย่างถูกวิธี สวมใส่หน้ากากอนามัย ไม่พูดคุยเล่นขณะปรุงอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมถึงหมั่นเปลี่ยนหน้ากากอนามัย และผ้ากันเปื้อนเพื่อป้องกันการหมักหมมของสิ่งสกปรกนั่นเอง


     3.รักษาความสะอาดของพื้นผิวสัมผัส จัดวางอุปกรณ์ให้ไกลเชื้อโรค


      โดยพื้นผิวสัมผัสทุกจุดที่ต้องมีการวางวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เช่น ชั้นวางวัตถุดิบ พื้นผิววัสดุสำหรับเตรียมประกอบอาหาร หม้อ กระทะ รวมถึงภาชนะใส่อาหาร จะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด และเช็ดให้แห้ง รวมถึงต้องจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ เช่น หม้อ กระทะ ให้อยู่สูงจากพื้น 60 ซม. เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก





     4.คนซื้อต้องใส่แมสก์ และล้างมือเสมอ



      ไม่ว่าจะเป็นคนซื้อหรือคนขายก็ต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด โดยร้านค้าต้องให้บริการเจลแอลกอฮอล์แก่ผู้ซื้อ รวมถึงขอความร่วมมือให้ผู้ซื้อสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคด้วย





     5.สังคมไร้เงินสด ต้องมาให้ทันเวลา



     ในอดีตร้านค้าริมทางอาจคุ้นชินกับการซื้อขายผ่านเงินสด แต่วันนี้ร้านค้าควรปรับรูปแบบการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ด้วย เพื่อลดการสัมผัสระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยอาจมีวิธีการชำระเงินที่หลากหลายให้ผู้ซื้อได้เลือกชำระเงินตามความสะดวกนั่นเอง
 




     ยกระดับตัวเอง ปรับวิถีการค้า รับ New Normal  


     แม้วันหนึ่งโควิด-19 จะคลี่คลายลงและจากประเทศไทยไป แต่ผศ.ดร.นภัสรพี ยังย้ำว่า มาตรการควบคุมสุขลักษณะร้านอาหารริมทาง ควรนำมาปรับใช้ในระยะยาว เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพร้านอาหารริมทางให้ดำเนินกิจการภายใต้มาตรฐานด้านสาธารณสุขอย่างยั่งยืน สอดรับกับ New Normal ของผู้บริโภค ในการเลือกซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีอันชาญฉลาดมาปรับใช้ในรถเข็นขายอาหารริมทาง เป็นทางเลือกที่สำคัญในการควบคุมสุขลักษณะ ตลอดจนควบคุมกระบวนการกำจัดของเสียที่ได้จากกระบวนการปรุงอาหารในร้าน อีกทั้งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และทัศนียภาพบริเวณร้านอาหารอีกด้วย





      “ระยะเวลาผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ถือเป็นช่วงเวลาพิสูจน์ความสามารถของผู้ประกอบการร้านอาหารริมทาง และสถานประกอบการขนาดเล็กที่ได้รับอนุญาตให้เปิดกิจการก่อน ภายใต้การบริหารจัดการที่เป็นไปตามมาตรฐานทางสาธารณสุข หากผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจอื่นๆ ให้เรียนรู้แนวทางการจัดการที่ดี และมีโอกาสได้รับการผ่อนปรนในเร็ววัน เป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมให้ดีขึ้นตามลำดับ” ผศ.ดร.นภัสรพี กล่าว
 

      แม้การมาถึงของไวรัสโควิด-19 จะทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารริมทางต้องประสบกับความยากลำบาก แต่บทเรียนจากไวรัสก็สอนให้ธุรกิจต้องปรับตัว และยกระดับตัวเองเพื่อเข้าสู่วิถี New Normal ที่เปลี่ยนโลกผู้บริโภคยุคนี้  ซึ่งหากทำได้ ท่านก็จะเป็น Street Food ที่ไม่เพียงอยู่ในหัวใจของลูกค้า ทว่ายังเป็นกิจการที่อยู่รอดอย่างแข็งแกร่งในทุกวิกฤตได้อีกด้วย
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น