วิธีฟื้นธุรกิจครอบครัวเกือบเจ๊ง สู่แบรนด์สุดเจ๋งระดับประเทศ ไอเดียน่าทึ่งของทายาท KrackerKing

TEXT: วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์



        แม้จะเป็นเกาะเล็กๆ แต่สิงคโปร์ก็เป็นแหล่งรวมแบรนด์ผู้ผลิตอาหารที่เก่าแก่เกินครึ่งศตวรรษมากมาย คือเรียกได้ว่าสามารถแปะคำว่า “โบราณ” ห้อยท้ายได้เลย บางแบรนด์อาจม้วนเสื่อพับกิจการไปเมื่อไม่สามารถต้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม แต่หลายแบรนด์ทำการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยจนยังไปต่อได้
               

       เช่นเดียวกับ KrackerKing แบรนด์ขนมขบเคี้ยวที่ก่อตั้งเมื่อปี 1955 หรือเมื่อ 66 ปีก่อนและเคยได้รับความนิยมมากมาย โดยเฉพาะบิสกิตผีเสื้อ และขนมมันฝรั่งรูปวงล้อที่ถือเป็นขนมคลาสสิคในวัยเด็ก เป็นขนมในตำนานของชาวสิงคโปร์ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน นวัตกรรมได้นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์สแน็กแปลกใหม่ กลายเป็นทางเลือกที่นอกเหนือไปจากสแน็กเดิมๆ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาด KrackerKing เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เหมือนกำลังถูกคลื่นลูกใหม่เข้ามาแทนที่คลื่นลูกเก่า



                

      เค่อ ยู่ฉวน ทายาท KrackerKing รุ่นที่สามวัย 31 ปีที่กุมบังเหียนธุรกิจครอบครัวเล่าว่าตอนที่เขาเพิ่งเข้าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยนันยางเทคโนโลยีในสาขาวิเคราะห์ธุรกิจ คุณพ่อของเขาซึ่งเป็นทายาทรุ่น 2 เสียชีวิตลง ทำให้เขาต้องเข้ามารับผิดชอบดูแลธุรกิจแทนบิดา ซึ่งในช่วงเวลานั้นธุรกิจ KrackerKing กำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่และจวนเจียนจะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย
               

       ยู่ฉวนซึ่งไม่มีประสบการณ์ใดๆ ในการทำธุรกิจจำเป็นต้องเรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่แรกเริ่ม และสามารถกอบกู้ธุรกิจของครอบครัวที่กำลังจะล้มให้กลับมาตั้งตัวได้ และจากธุรกิจนำเข้าอาหารก็ผันมามุ่งเน้นผลิตสแน็กอย่างจริงจัง


        “ท้ายที่สุด เราก็สามารถใช้หนี้หมดแบบค่อยเป็นค่อยไป จากนั้นก็เริ่มพัฒนาธุรกิจโดยตั้งเป้าขยายอาณาจักรให้เติบโตในสิงคโปร์ และขึ้นแท่นเป็นแบรนด์สแน็กสากลที่จำหน่ายในต่างประเทศด้วย" 



               

       ธุรกิจอันเป็นจุดกำเนิดของแบรนด์ KrackerKing เริ่มต้นโดยคุณปู่ของยู่ฉวนเมื่อปี 1955 โดยคุณปู่เริ่มจากการทำทอดมันกุ้งขายละแวกบ้าน จนกลายเป็นอาหารว่างที่ขายดีมาก จนกระทั่งในทศวรรษ 1960 คุณปู่จึงเพิ่มสินค้าให้หลากหลายขึ้น รวมถึง ข้าวเกรียบ บ๊วย และบิสกิตมะพร้าว ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคดีมาก จากที่ขายในชุมชนเล็กๆ ก็ขยายไปทั่วประเทศ
               

       จนในที่สุด เมื่อความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้น จึงลงทุนสร้างโรงงานผลิต นอกจากขายในสิงคโปร์แล้วยังส่งออกไปยังมาเลเซียที่รัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัก ยอดขายในมาเลเซียเรียกได้ว่าทะลุทะลวง ช่วงปลายทศวรรษ 1970 ก็เปิดสำนักงานในมาเลเซีย ก่อนขยายไปเกาะบาตัม อินโดนีเซีย และบรูไน   
               

       ช่วงทศวรรษ 1990 ขณะที่ธุรกิจกำลังไปได้สวย สิงคโปร์ก็ค่อยๆ เปลี่ยนผ่านจากประเทศที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตไปยังอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและวิศวกรรม กอปรกับค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่แข็งเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้าน ยอดส่งออกลดลง และประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ผู้บริหาร KrackerKing จึงตัดสินใจยุบสายพานการผลิตสแน็กทั้งหมดแล้วเปลี่ยนเป็นนำเข้าสแน็กจากประเทศต่างๆ ในเอเชียมาขายแทน      



               

       แม้จะปิดโรงงานผลิตไปแล้ว แต่คุณปู่ของยู่ฉวนก็ยังเก็บสูตรขนมต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี วันดีคืนดีก็ยังทำบิสกิตให้สมาชิกในครอบครัวและมิตรสหายรับประทานบ้างเป็นครั้งคราว หลังการเสียชีวิตของชีวิตและยู่ฉวนเข้ามาดูแลธุรกิจแทนจนสามารถปลดหนี้และเงยหน้าอ้าปากได้ เขาก็นึกถึงการกลับมาเปิดโรงงานผลิตสแน็กอีกครั้งเหมือนที่เคยทำในอดีต
               

       ในที่สุด ภายใต้การดูแลของยู่ฉวน โรงงานผลิตสแน็กของ KrackerKing ก็ฟื้นคืนชีพอีกคราโดยยึดหลักใช้สูตรขนมดั้งเดิมของครอบครัว แต่ปรับรสชาติให้สากลเพื่อให้จำหน่ายในต่างประเทศด้วย และมีการรูปแบบการผลิต เช่น ใช้วัตถุสดใหม่จากท้องถิ่นและจากแหล่งต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ เมื่อได้มาก็จะรีบผลิตทันที จะไม่มีการตุนวัตถุดิบไว้นานเนื่องจากส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า
               

      นอกจากนั้น ยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่เพื่อให้สินค้าที่ผลิตดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิม ยกตัวอย่างการใช้เครื่อง de-oiling ในกระบวนการผลิตเพื่อกำจัดน้ำมันส่วนเกินที่ยังตกค้างในสแน็กที่เป็นของทอดโดยใช้หลักการทำงานแบบแรงเหวี่ยงเอาน้ำมันออก 



               

      ปัจจุบัน KrackerKing ได้รับมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000) และมีผลิตภัณฑ์กว่า 40 รายการ ทั้งข้าวเกรียบหลากหลายรส ขนมปัง บิสกิต คุกกี้ ครองแครง ขนมแป้งทอดสไตล์อินเดีย และถั่วต่างๆ แต่สินค้าที่ขึ้นชื่อสุดคือ “เกโรโปะก์” หรือข้าวเกรียบนั่นเอง โดย KrackerKing เป็นผู้ค้ารายใหญ่ มีตัวแทนจำหน่ายกว่า 200 รายรวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ ในประเทศ 
               

        กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ยู่ฉวนกล่าวว่าต้องผ่านอุปสรรคมากมาย เนื่องจากตลาดสแน็กมีขนาดใหญ่ การสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่จดจำจึงไม่ง่ายนัก ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับคำชมจากผู้บริโภคแล้วก็จริงแต่บริษัทยังได้ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้ดูดีเพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ และเพื่อผลักดันให้ KrackerKing เป็นสแน็กเอเชียที่ชาวโลกบริโภคตามที่บริษัทตั้งเป้าไว้
 
 
      ที่มา : https://injuredly.com/how-did-he-revive-a-dying-family-business-and-become-the-king-of-clark-in-singapore/
 
 

 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน