แชร์เทคนิคส่งของไว – ทำตลาดให้ตรงใจ จาก 2 เจ้าของธุรกิจชื่อดัง ช่วยให้ร้านปังสวนภาวะวิกฤต

            


         ยุคนี้ใครๆ ก็หันมาค้าขายบนโลกออนไลน์พ่อค้าแม่ขายเต็มแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไปหมด จนลูกค้าเองก็ไม่รู้จะเลือกซื้อจากร้านไหนดี หรือบางทีก็เปลี่ยนร้านที่จะซื้อไปเรื่อยๆ แล้วอย่างนี้จะทำอย่างไร ลูกค้าถึงจะเจอร้านของคุณ และเป็นลูกค้าไปตลอด
             

           ครั้งนี้จึงขอพามาล้วงเทคนิคของ 2 เจ้าของธุรกิจชื่อดังบนช่องทางโซเชียลมีเดีย รวมถึงแชร์เทคนิคในการส่งของ แต่ละชิ้นให้ถึงมือลูกค้า เผื่อจะเป็นประโยชน์ให้กับร้านค้าออนไลน์หรือคนที่กำลังต้องการไอเดียไปปรับใช้กับธุรกิจและแบรนด์ของตนเองบ้าง



 

“การสื่อสารผ่านคอลเลกชัน กลยุทธ์สร้างความสเปเชียลให้กับลูกค้า”

 
 
         อัครพล ปานกุล เจ้าของแบรนด์ “อัคระ” ผู้ขายเสื้อผ้าและอุปกรณ์แต่งกาย เล่าว่า COVID-19 กระทบยอดขายของหนักมาก เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ส่วนใหญ่คือกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และวัยทำงาน เมื่อลูกค้ากลุ่มนี้ต้องเรียนออนไลน์ และร้านต้องปิดสาขาตามมาตรการของภาครัฐ ส่งผลให้ยอดขายลดลง เกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะไม่สามารถทำการซื้อขายผ่านหน้าร้านได้ จึงหันมาโฟกัสที่การขายออนไลน์เป็นหลัก 





        ด้วยกลยุทธ์การปล่อย collection ใหม่ ร่วมกับเทคนิคการสื่อสารที่ให้ลูกค้าสัมผัสถึงความพิเศษสำหรับการ สั่งทางออนไลน์ เพิ่มเติมด้วยการนำ Collection ยอดนิยมในอดีตกลับมาตีตลาดกลุ่มลูกค้าใหม่ ด้วยความที่การออกแบบของอัคระมีความเท่ในตัว เมื่อนำมาขยายสายการผลิตสู่สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จากเคยสกรีนลายออกแบบลงบนถุงเท้า ก็ขยายไปที่ร่ม หรือ กระเป๋า และหมวก วิธีการเหล่านี้เป็นการเพิ่มช่องทางให้ลูกค้า ทั้งกลุ่มที่เป็นแฟนคลับและลูกค้าใหม่ได้สะสมเพิ่มเติม ส่งผลให้ยอดขายกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง

 
           อัครพล เล่าต่อว่า แบรนด์เราให้ความสำคัญกับทั้งคุณภาพและการบริการ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สินค้าต้องถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพราะเรื่องนี้เป็นอีกปัจจัยสำคัญ ที่สร้างความพอใจให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการเราซ้ำ การเลือกใช้ขนส่งที่ดีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง



 
 

“สำรวจ โต้ตอบ บอกต่อ” เรื่องที่คนทำการค้าห้ามมองข้าม

 
          
          ณัฐณิชา รจนาสม เจ้าของแบรนด์ “NIPPERISDABEST” ผู้ขายเสื้อผ้าและกางเกงยีนส์ เล่าว่า ปกติทางร้านมีการขายทั้งบนออนไลน์ หน้าร้านและออกบูธเป็นประจำ เพื่อคอยระบายสินค้า ช่วงวิกฤตรอบแรกในปี 2563 ทางแบรนด์ยังพอเดินหน้าได้ แต่รอบนี้รายได้หายไปกว่าครึ่ง เมื่อยอดการสั่งซื้อช่วงนี้ไม่ดีเท่าเมื่อก่อน ก็ทำให้มีโอกาสได้มองเห็นว่าแบรนด์อยู่ได้ด้วยอะไร จึงกลับมาปรับในจุดที่ควรปรับ นั่นก็คือการเลือกทุ่มเทไปที่การขายบนออนไลน์


 
        
          เธอเน้นการนำสินค้าขายดีกลับมารีสต็อก ร่วมกับพัฒนาสินค้าใหม่ออกมาให้คนตื่นเต้นบ้าง และเพิ่มการวางแผนการตลาดและการประชาสัมพันธ์มากขึ้น พยายามสื่อสารกับลูกค้าให้เขารู้จักแบรนด์เรา รวมถึงในฐานะ “ฝ้าย ณัฐณิชา” ผู้ที่จะเข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกคนได้ เนื่องจากลูกค้าให้ความสำคัญกับการบอกต่อจากเพื่อน จากคนรอบตัว รวมถึง influencer จึงเปิดให้สัมภาษณ์มากขึ้น หมั่นทำ Q&A โต้ตอบกับลูกค้า เพื่อเตรียมตัวเป็นแบรนด์หลักในใจของลูกค้าอีกครั้ง
 

           “ในยามที่วิกฤต COVID-19 หมดไป ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตแบบนี้ แบรนด์ทำได้เพียงแค่อย่าหายไปจากการรับรู้ของลูกค้าก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องพยายามบีบตัวเองและลูกค้าเพื่อสร้างยอดขายมากเกินไป” เธอทิ้งท้ายไว้แบบนั้น
 
 
 
ที่มา : ไปรษณีย์ไทย
 



 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย