ดริปเปอร์ อุปกรณ์ชงกาแฟคลาสสิก โตเกือบ 10 เท่าในรอบสิบปี ตัวชี้วัดธุรกิจกาแฟในยุคนี้

 

 

     ถึงนาทีนี้ เราคงไม่สามารถนับได้ว่าตลอด 4 – 5 ปีมานี้ มีคนกินกาแฟเพิ่มขึ้นเยอะแค่ไหน

     ถ้าถามผม ผมประเมินจากปริมาณดริปเปอร์ที่ขายมาตลอดตั้งแต่เปิดร้าน Gallery กาแฟดริป ร้านแรก ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ เมื่อสิบปีที่แล้ว วันนั้นดริปเปอร์รุ่นแรกออกแบบและสั่งผลิตมา 1,500 ชิ้น ใช้เวลาขายอยู่ 5 ปีกว่าจะหมด จึงตัดสินใจสั่งทำรุ่นสองออกมาอีกเกือบ 1,000 ชิ้น ใช้เวลาขายอีกหนึ่งปีเต็มกว่าจะหมด สังเกตได้ว่ารุ่นแรกขายเฉลี่ยปีละ 300 ชิ้น ใช้เวลา ขาย 5 ปีถึงจะหมด ในขณะที่รุ่นสองในปริมาณ 300 ชิ้นเท่ากันใช้เวลาขายเฉลี่ยเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น

     มาถึงปี 2565 นี้ ดริปเปอร์รุ่นสามที่ผลิตออกมากำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ผ่านมา 2 ปีขายไปแล้วเกือบ 6,000 ชิ้น  คำนวณเล่นๆ หมายความว่าจำนวนคนชงกาแฟกินเองในครัวเรือนเพิ่มขึ้นชนิดก้าวกระโดดถึงเกือบ 10 เท่าในรอบสิบปี

     ไม่น่าเชื่อว่าอุปกรณ์ชงกาแฟ ที่มีต้นกำเนิดแนวคิดมาจากในครัวของแม่บ้านเยอรมันเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วนี้ ทุกวันนี้จะกระจายไปอยู่บนบาร์ชงกาแฟทั่วโลก เป็นอุปกรณ์เรียบง่ายชิ้นสำคัญที่สามารถรีดรสชาติของกาแฟให้ออกมาได้อร่อยที่สุดวิธีการหนึ่ง จนมีการนำไปแข่งขันจริงจังระดับโลก

     ในช่วงเวลาอันยาวนาน ดริปเปอร์ถูกออกแบบมาหลากหลาย หน้าตา รูปทรง วัสดุ ต่างกันไปตามแนวคิดที่ส่งผลต่อการใช้งาน แต่ยังคงหลักการแช่และไหลเหมือนเดิม ทั้งประเภทตูดตัดแรงดันต่ำที่ให้ความบาลานซ์ หรือแบบกรวยสูงชันแรงดันสูงที่ให้ความฉูดฉาด นักชงสามารถเลือกดริปเปอร์ได้ตามลักษณะที่ต้องการเหมือนเลือกรถยังไงยังงั้น

     การมีดริปเปอร์ดีๆ ก็เหมือนมีรถดีๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพฤติกรรมการขับหรือการชงของแต่ละคนเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะมัน คือ รสมือที่บังคับรสชาติให้ได้ตามต้องการ ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในรสชาติของกาแฟที่มาจากประสบการณ์การชิมควบคู่ไปด้วย

     ดริปเปอร์มีชีวิตอยู่ในครัวเรือนมานานแสนนาน กว่าจะได้ออกมาโลดแล่นตามบาร์กาแฟชั้นนำ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมกาแฟโลก การชงกาแฟที่แสนเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยภูมิปัญญานี้ กำลังกลับเป็นที่นิยมสำหรับคนชงที่ปรารถนาเข้าถึงรสชาติได้ด้วยตนเอง จึงไม่น่าแปลกใจที่ในบ้านเราในจำนวนมากของคนกาแฟรุ่นใหม่ๆ จะชงกาแฟจริงจัง กินกาแฟจริงจัง มีดริปเปอร์และอุปกรณ์การชงไม่น้อยไปกว่าร้านกาแฟจริงจังเลย…

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน