จับตา Plant based Seafood อีกหนึ่งเซกเม้นต์ธุรกิจมาแรง ทั่วโลกขานรับการทำประมงอย่างยั่งยืน

 

     ธรรมชาติได้สร้างทรัพยากรมาให้อย่างสร้างสรรค์ แต่ทว่าหากมีการนำไปใช้อย่างไม่สมดุลก็อาจทำให้เกิดการขาดแคลน ทำให้ขณะนี้ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาการทำประมงอย่างยั่งยืน ที่อาจกลายเป็นหนึ่งในประเด็นใหญ่ กระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเล

     แม้ตลาดส่งออกอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าหลักอย่างทูน่ากระป๋องและกุ้งมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ต้นทุนของวัตถุดิบนําเข้า (ปลาทูน่า) อาหารกุ้ง และค่าขนส่ง รวมทั้งค่าบริหารจัดการต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน

     ไม่เพียงเท่านี้ยังมีความท้าทายและประเด็นที่ต้องจับตา คือ มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง sustainable fishing และ fair labor practices ในอุตสาหกรรมประมง และนโยบายการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ของทางการจีนที่เป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการ ส่งผลให้ Plant based Seafood เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยที่หันมาสนใจในตลาดนี้

ประเด็นสําคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเล

     การทําประมงอย่างยั่งยืน คือการทําประมงในระดับที่สามารถควบคุมและรักษาปริมาณสัตว์นํ้าในท้องทะเลให้มีจับได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เป็นการประมงที่ทําลายหรือส่งผลเสียให้เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศในท้องทะเลและมหาสมุทร โดยมีหลักการสําคัญ 3 เรื่อง ได้แก่

  1. Sustainable fish stocks
  2. Minimizing environmental impacts
  3. Effective fisheries management

     

     การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม (fair labor practices) ประเทศไทยยังคงถูกกล่าวหาในเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมประมงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อช่วงกลางปี 2021 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ปรับลดการจัดอันดับการค้ามนุษย์ของไทยลงจาก Tier 2 เป็น Tier 2 Watchlist สะท้อนถึงสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยปรับตัวแย่ลง ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี

     นโยบายการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ของทางการจีน ส่งผลให้จีนมีแนวโน้มทยอยลดการนําเข้าและพึ่งพาการผลิตภายในประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงสินค้าประมงอย่างกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง

Plant based Meat & Seafood

ทางเลือกใหม่ผู้ประกอบการไทย

     ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์อาหารประเภท Plant-based protein และ Plant-based seafood มีแนวโน้มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในตลาดโลกมากขึ้น สะท้อนได้จากการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ รวมทั้งยังมีแบรนด์ต่าง ๆ เข้ามาทําตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     แม้แต่ในประเทศไทยเองปัจจุบันผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารได้หันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกในรูปแบบ “Plant-based Meat & Seafood” กันมากขึ้นเช่นกัน อาทิ ไทยยูเนี่ยนหันมาลุยธุรกิจโปรตีนทางเลือกจากพืช (Plant-based Meats & Seafood) โดยมี Business Model ดังนี้

  • รับจ้างผลิตให้กับแบรนด์และ supermarket chain ต่างๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น Tesco UK, etc
  • ผลิตสินค้าแบรนด์ของบริษัทเอง เพื่อเจาะตลาด B2B และ B2C ภายใต้แบรนด์ “OMG Meat” และวางจําหน่ายผ่านช่องทาง Modern Trade เช่น The Mall, Macro, Lotus, etc.
  • ตั้งเป้ารายได้จากธุรกิจ Plant-based Meat & Seafood ในปี 2021 ที่ 100 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 1,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี

 

     จากข้อมูลของ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน ระบุว่าปัจจุบันมูลค่าตลาด Plant based Meat & Seafood ทั่วโลกอยู่ที่ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในจํานวนนี้เป็น Plant-based Seafood เพียง 0.1% ของมูลค่าตลาดรวม โดยคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปีนี้ ตลาด Plant based protein จะเติบโตขึ้นไปอยู่ที่ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสัดส่วนของ segment Plant-based Seafood จะขยับขึ้นเป็น 10% ของมูลค่าตลาดรวม

     ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจอาหารทะเล Plant based Seafood อาจเป็นตลาดที่ไม่ควรมองข้าม

Cr : Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

KUSU เทียนหอมเสมือนจริง ที่มี “รูปทรงหิน” เป็นตัวตึง ฝีมือสุดทึ่งของสถาปนิกไทย

เหมือนจนอยากเก็บ สวยจนไม่อยากจุด กับ KUSU แบรนด์เทียนหอมสุดอาร์ต งานคราฟต์สุดจึ้ง ที่มีลูกเล่นอยู่ที่ “ความเสมือนจริง” ฉีกกฎตลาดของแต่งบ้านและเทียนหอมแบบที่เคยเห็นกันมา แต่กว่าจะถึงวันนี้ ก็ต้องเสียน้ำตา(เทียน) ไปมากมายทีเดียว

เดินเกมแบบไม่ใหญ่ แต่ไปได้ไกล! ถอดสูตรความสำเร็จ Awesome Screen โรงงานเสื้อที่โตสวนกระแส

อยากรู้ว่า Awesome Screen โรงงานรับสกรีนและตัดเย็บเสื้อยืดแบบ OEM ทำอย่างไรให้ธุรกิจผ่านพ้นวิกฤต และเติบโตได้อย่างมั่นคงในวันที่โลกไม่แน่นอน ตามไปดู “กลยุทธ์” ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จกันได้เลย

มินิกอล์ฟแบบเดิมต้องหลบไป! เมื่อแม่ลูกชาวสิงคโปร์เปิดสนามแนวผจญภัย ไขปริศนาฆาตกรรมที่คนแห่จองเพียบ

ท่ามกลางโลกของธุรกิจที่แข่งขันกันด้วยนวัตกรรม บางครั้งสิ่งที่แปลกที่สุด กลับเป็นสิ่งที่โดนใจที่สุด เช่นเดียวกับ Kulnari Mystery Golf สนามมินิกอล์ฟแห่งแรกของสิงคโปร์ที่ผู้เล่นไม่ได้มาเพื่อตีลูกเข้าหลุมเท่านั้น แต่ต้องสวมบทนักสืบไขปริศนาต่างๆ