ศุภเศรษฐ โอภิธากรณ์ เจ้าของ Wetland Camp ผู้ทำให้โลกรู้จักยอยักษ์ ทะเลน้อย

TEXT / PHOTO : ชาญชัย หาสสุด

 

     ถ้าถามถึงจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยที่สุดในพื้นที่รอบๆ ทะเลน้อย หลายคนต้องนึกถึงภาพยามเช้าที่มีฉากหน้าเป็นยอยักษ์ตั้งเรียงรายอยู่กลางน้ำ มีพระอาทิตย์โผล่ผ่านเส้นขอบฟ้าอยู่ด้านหลัง หลังภาพความสวยงามที่ทำให้คนรู้จักทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง  ผมเชื่อว่า พี่หนุ่ม - ศุภเศรษฐ โอภิธากรณ์ คือ คนสำคัญแรกๆ ที่ขับเคลื่อนให้สิ่งแวดล้อมของการท่องเที่ยวเด่นชัดอย่างปัจจุบัน

Cr ภาพ : สองภาค

     ย้อนไปเมื่อประมาณ 12 ปีก่อน พี่หนุ่มตัดสินใจทิ้งชีวิตทำงานที่ภูเก็ต เมืองที่ใครๆ มองว่าเป็นแบบอย่างการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ ทำรายได้มหาศาลเข้าประเทศในแต่ละปี กลับมาเริ่มต้นชีวิตที่พัทลุงบ้านเกิด โดยซื้อที่ดินจากอาแล้วเริ่มสร้าง Wetland Camp” ที่พักสไตส์รีสอร์ตมีห้องพักจำกัดแค่ 5 ห้อง ริมทะเลน้อยฝั่งปากประ เพราะเชื่อว่ายังมีคนอีกมากที่ต้องการอยู่กับความเงียบสงบของธรรมชาติ และเห็นคุณค่าในสิ่งเดียวกันที่พี่หนุ่มพยายามสร้าง

     ด้วยความที่พี่หนุ่มเป็นคนรักธรรมชาติ ชอบถ่ายภาพโดยเฉพาะแนวสัตว์ป่า ทะเลน้อยจึงถูกบันทึกผ่านเลนส์ในมุมมองของตนเองอยู่เป็นประจำ ส่งผ่านความสวยงามของวิวทิวทัศน์ ชีวิตสัตว์ให้คนทั่วไปได้รับรู้ จนเป็นที่กล่าวขาน Wetland Camp จึงกลายจุดนัดพบและเป็นที่รู้จักในวงกว้างของช่างภาพทั่วโลก

     บ้านต้นลำพู ท่าเรือปากประ คือ ที่พักต่อมาของพี่หนุ่ม สร้างมาประมาณ 4 ปี อยู่ติดกับสะพานปากประ มีห้องพักสไตล์เดียวกับที่ Wetland มีสะพานไม้เชื่อมห้องพักแต่ละหลัง เป็นทางเดินทอดยาวคู่ขนานไปกับท้องน้ำกลางบ้าน ไปจนสุดฝั่งคลองมองเห็นวิวยอ มีห้องพักที่สามารถรองรับกลุ่มครอบครัวใหญ่ได้ถึง 4 - 6 คน ที่นี่ยังมีพื้นที่ในการแสดงงานศิลปะ นิทรรศการภาพถ่าย ที่วนเวียนจัดขึ้นบ่อยๆ บางครั้งก็กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนและคนทั่วไป ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดโดยมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยที่พี่หนุ่มเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอยู่

     กิจกรรมทางการท่องเที่ยวสำคัญสำหรับลูกค้าของที่พักทั้งสองแห่ง คือ การล่องเรือชมทะเลสาบ พี่หนุ่มให้น้ำหนักกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นอันดับแรก เริ่มจากการเตรียมพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนขับเรือ สร้างกฎกติการ่วมกัน ออกแบบเส้นทางเรือให้รบกวนสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด สร้างจิตสำนึกรักธรรมชาติ มีการต้อนรับที่อบอุ่น เพราะทุกอย่างล้วนส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและสร้างภูมิคุ้นกันให้เจ้าบ้านเกิดความแข็งแรง

     ด้วยอัตลักษณ์ที่ลงตัวของพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ที่มีระบบนิเวศเฉพาะผสมผสานกับวิถีชีวิตชนบทอย่างมีเสน่ห์ ทำให้นักท่องเที่ยวยิ่งประทับใจในความเป็นทะเลน้อย

     สำหรับคนนอกอย่างผมที่ผ่านเข้าออกทะเลน้อยเป็นครั้งคราว ภาพความงดงามของปากประยังคงเป็นเหมือนเมื่อสิบกว่าปีก่อน มีเปลี่ยนแปลงบ้างตรงที่พักที่เพิ่มขึ้น แต่นั่นคงไม่ใช่สาระสำคัญ ถ้าผู้ประกอบการกับเจ้าของชุมชนยังคงประสานธุรกิจกับการอนุรักษ์ด้วยกันอย่างแข็งแรง

Cr ภาพ : สองภาค

     “ พัทลุงเป็นเมืองสุดท้ายที่ถูกทำลาย ในขณะที่รอบด้านแทบไม่เหลือ พัทลุงยังเป็นชนบทอยู่  ถ้าเราภูมิใจในความเป็นชนบท เราก็ต้องรักษาความเป็นธรรมชาติไว้ เรารอด แต่ถ้าเมื่อไหร่เราไม่เคารพ พยายามเปลี่ยนให้เหมือนเมืองอื่น ไม่แน่อาจจะล่มสลายภายในไม่กี่วันก็ได้ ด้วยการท่องเที่ยวนี่แหละ”

     บทสนทนาจบท้ายที่พี่หนุ่มแฝงความเป็นห่วงไว้ให้ผมกลับไปคิดต่อ 

ข้อมูลติดต่อ

Wetland Camp

https://www.facebook.com/wetlandcamp 

บ้านต้นลำพู  https://www.facebook.com/BaanTonlamphu 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เจนสอง 'สหไทย' พลิกห้างที่ถูกลืม สู่ค้าปลีกยุคใหม่ด้วยดิจิทัล

จาก “ห้างที่ไม่มีใครเหลียวมอง” สู่จุดเปลี่ยนที่ทำให้แบรนด์ท้องถิ่นกลับมายืนได้อีกครั้ง สศิษฏ์ ปัญจคุณาธร ทายาทรุ่นที่สองของสหไทย พลิกภาพห้างที่เคยถูกลืมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วย 5 กลยุทธ์ที่ทำให้มีมากกว่า 100 ร้านค้าติดต่อเข้ามาให้เลือก

KUSU เทียนหอมเสมือนจริง ที่มี “รูปทรงหิน” เป็นตัวตึง ฝีมือสุดทึ่งของสถาปนิกไทย

เหมือนจนอยากเก็บ สวยจนไม่อยากจุด กับ KUSU แบรนด์เทียนหอมสุดอาร์ต งานคราฟต์สุดจึ้ง ที่มีลูกเล่นอยู่ที่ “ความเสมือนจริง” ฉีกกฎตลาดของแต่งบ้านและเทียนหอมแบบที่เคยเห็นกันมา แต่กว่าจะถึงวันนี้ ก็ต้องเสียน้ำตา(เทียน) ไปมากมายทีเดียว

เดินเกมแบบไม่ใหญ่ แต่ไปได้ไกล! ถอดสูตรความสำเร็จ Awesome Screen โรงงานเสื้อที่โตสวนกระแส

อยากรู้ว่า Awesome Screen โรงงานรับสกรีนและตัดเย็บเสื้อยืดแบบ OEM ทำอย่างไรให้ธุรกิจผ่านพ้นวิกฤต และเติบโตได้อย่างมั่นคงในวันที่โลกไม่แน่นอน ตามไปดู “กลยุทธ์” ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จกันได้เลย