รู้จัก ครามสกล แบรนด์ของฝากที่ใครไปสกล ก็ต้องซื้อ

      “ครามสกล”แบรนด์ของฝากที่ใครไปสกลก็ต้องซื้อ

     ทำความรู้จักแบรนด์ของฝากขึ้นชื่อจังหวัดสกลนคร เมืองแห่งผ้าคราม แหล่งผลิตมากที่สุดในประเทศ ใน 18 อำเภอของจังหวัดสกลนครล้วนมีการผลิตผ้าครามทั้งหมด จากผู้ประกอบการเป็นร้อยราย ทำไม ครามสกล จึงเป็นแบรนด์ที่โดดเด่น จนต้องอยากซื้อเป็นของฝาก ไปดูกัน

ทำความรู้จักครามสกล

     ณฐมน เผ่าวงศ์ษา ผู้จัดการร้านครามสกลเล่าว่า ครามสกล ก่อตั้งขึ้นมาราวปี 2556  โดย คุณนก - สกุณา สาระนันท์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ ซึ่งเป็นชาวสกลนครโดยกำเนิด เป็นหนึ่งในคนที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาต่อยอดผ้าย้อมครามซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดสกลนครให้กลายเป็นสินค้าแฟชั่น  ทำให้ผ้าครามจากจังหวัดสกลนครเป็นที่รู้จักมากขึ้น รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่

โดดเด่นจนเป็นของดีประจำจังหวัด

     สิ่งที่ทำให้ครามสกลมีความโดดเด่นคือพัฒนาคุณภาพของผ้าย้อมอย่างต่อเนื่อง เช่นการทอที่ละเอียดขึ้น ให้สินค้าทุกชิ้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน

     ผ้าย้อมครามของครามสกลเป็นกระบวนการผลิตที่เรียกว่าการย้อมเย็นที่ไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้มีการนำนวัตกรรมมาช่วยให้ผ้ามีคุณสมบัติในการดูแลง่าย เพราะทำจากผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งแบคทีเรียใส่แล้วเย็น ไม่มีกลิ่น กันยูวี เป็นต้น

     สินค้าแบรนด์ครามสกลมีค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ชิ้นเล็ก เช่น พวงกุญแจ ไปถึงใหญ่ เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ราคาเริ่มต้นที่ หลักสิบไปถึงหลักพัน มีให้เลือกตั้งแต่สินค้าทั่วไป สวมใส่ง่ายๆ และสินค้าพิเศษที่เป็นงานฝีมือ ต้องใช้ระยะเวลาการทำนาน

สร้างแต้มต่อที่เข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่ม

     นอกจากสินค้ามีคุณภาพแล้ว ณฐมนเล่าถึงการทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับในวงกว้างจับลูกค้าได้ทุกกลุ่มคือ การทำงานระดับประเทศ รับผลิตผ้าพันคอให้ผู้ที่มาร่วมประชุมในงาน APEC 20200 ทำให้คนรู้จักผลิตภัณฑ์มากขึ้น

     หรือแม้แต่ลูกค้าชาวญี่ปุ่น ด้วยความที่จังหวัดสกลนครเป็นแหล่งครามขึ้นชื่อของไทย ทำให้เป็นที่สนใจของชาวญี่ปุ่นสนใจ เธอจึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในการเจรจาธุรกิจให้กับชาวบ้านเพื่อที่เผยแพร่จะสินค้าในชุมชนไปสู่ตลาดสากล

     สำหรับตลาดในประเทศก็มีการผลิตสินค้าให้หลากหลายขึ้น จากสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า กระเป๋า ก็พัฒนาเป็นสินค้าไฟล์สไตล์ อาทิ พวงกุญแจ เน็กไท ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน เพื่อให้กลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น

     “การทำสินค้าที่เป็นภูมิปัญญา เราควรมีทั้งงานอนุรักษ์ และงานที่เสิร์ฟไว ลูกค้าบางคนไม่เคยใช้ อาจลองเสิร์ฟงานออร์เดิร์ฟแบบเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่ายไปก่อน เพื่อให้เขาได้ทำความรู้จัก ค่อยๆ เพิ่มเรเวลขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเมนคอร์สงานคุณค่าที่เป็นของยาก เพื่อให้ภูมิปัญญาไม่สูญหายไปไหน พร้อมกับการเตรียมสินค้าเพื่อส่งไปในตลาดต่างประเทศที่ชอบงานคราฟท์ เช่น ญี่ปุ่น จีน”

สร้าง Story telling ผ่านอาณาจักรครามสกล

     อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคถึงความพิเศษของแบรนดืคือ บรรยากาศร้าน

     “จุดเด่นอีกข้อของครามสกล คือ เรามีพื้นที่พร้อม ร่มรื่น กว้างขวาง สามารถจัดโซนให้ลูกค้าเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็นผ้าครามสกลได้หนึ่งผืน ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง เช่น การย้อม, การทอ ทำให้เขาอินกับบรรยากาศ นอกจากนี้เรายังมีจัดเวิร์คช็อประยะเวลาสั้นๆ แค่ 1 ชม. ให้ลูกค้าได้ลองย้อมครามด้วยตัวเอง เพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องราวของครามมากขึ้น เมื่อเข้าใจ ก็จะเห็นคุณค่า นี่คือ เหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่ตั้งอยู่ในเมือง ไม่งั้นก็เป็นร้านขายเสื้อผ้าธรรมดาร้านหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรื่องราวของชุมชน”

เรื่องเล่าจากคราม

ครามเป็นพืชตระกูลถั่ว มีอายุโตเต็มวัยประมาณ 3 เดือน ชาวบ้านจะทำการปลูกในรูปแบบหมุนเวียน คือ ปลูกฤดูแล้ง (มี.ค.-พ.ค) รอให้เติบโตในฤดูฝน ในระหว่างที่รอครามโตก็ออกไปดำนา เมื่อครามโตแล้วก็จะเกี่ยวครามแล้วนำไปแช่น้ำ เพื่อหมักเอาไว้ โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้ 3 ครั้งต่อปี ครามน้ำ 1 (เก็บครั้งแรก) จะได้เม็ดสีที่สวยงาม สมบูรณ์ที่สุด โดยครามหม้อหนึ่งหากเลี้ยงให้ดีๆ สามารถอยู่ได้ถึง 40-50 ปีทีเดียว

     และนี่คือ เหตุผลว่า ทำไมไป “สกล” แล้วต้องซื้อ “ครามสกล”

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน

SME ไทยจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางสงครามการค้า

การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น SME ไทยจึงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ...แล้วเราจะอยู่รอดได้อย่างไร