6 เคล็ดลับ ป้องกันลูกจ้างจอมฉก

 


     ไม่มีเจ้านายคนไหนอยากคาดคิดหรอกว่า พนักงานที่เราจ้างมาจะแอบขโมยเงินหรือสินค้าในร้านจากเราไป แถมส่วนใหญ่แล้วร้านค้าปลีกมักถูกลูกจ้างยักยอกทรัพย์สินบ่อยอย่างไม่น่าเชื่อ

     บริษัท Jack L. Hayes International (เป็นบริษัทให้คำปรึกษาและมีโปรแกรมป้องกันในหลายๆ ด้าน รวมถึงวิธีรับมือพนักงานโกงเงินบริษัท) ได้ทำการสำรวจร้านค้าที่ถูกโจรกรรมก็พบค่าเฉลี่ยว่าลูกจ้างมีโอกาสขโมยเงินและสร้างความเสียหายต่อร้านค้าได้มากกว่าการถูกลูกค้ามาขโมยของจากทางร้านโดยตรงถึง 5.5 เท่า

     ใครที่เริ่มวิตกกังวลว่าพนักงานจะแอบล้วงเงินจากลิ้นชักไป ลองอ่าน 6 เคล็ดลับ ป้องกันขโมย จาก Jennifer Goforth Gregory ผู้มีประสบการณ์ด้านงานเขียนและเชี่ยวชาญในงานเขียนเกี่ยวกับธุรกิจขนาดเล็กมากว่า 18 ปี ดูก่อน คุณอาจจะสบายใจขึ้น (งานของเธอได้รับการนำไปลงในเว็บ MSN Money, FOX Business, Intuit Small Business Blog และ American Express)
 


1.    สืบประวัติพนักงานก่อนให้เขาทำหน้าที่สำคัญ

     สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือการให้พนักงานที่ติดยาเป็นคนถือเงินหรือคุมแคชเชียร์ เพราะพนักงานที่มีพฤติกรรมติดยา มีโอกาสที่จะขโมยเงินเพื่อไปเสพยาสูงมาก ทางที่ดีลองสืบประวัติของพนักงานก่อนรับเข้าทำงานด้วย หากพนักงานมีประวัติมีเพื่อนติดยา หรือเกี่ยวข้องกับการลักเล็กขโมยน้อยมาก่อน พยายามอย่าให้เขาทำหน้าที่ถือเงินเป็นดีที่สุด

2. ลองใช้ระบบบัดดี้

     ระบบบัดดี้ในที่นี้ไม่ใช่ให้จับฉลากแล้วแอบเอาของไปให้กันนะ แต่หมายถึงว่าการแอบขโมยของจากพนักงาน มักเกิดขึ้นตอนพนักงานอยู่เพียงลำพัง ดังนั้น ลองเพิ่มจำนวนพนักงานที่ประจำบูธหรือแคชเชียร์เก็บเงินเป็น 2 คน ก็จะช่วยลดโอกาสการถูกขโมยได้บ้าง อย่างไรก็ดี ต้องพยายามเปลี่ยนคู่บัดดี้บ้าง ไม่เช่นนั้นหากบัดดี้ 2 คน เป็นจอมอมเงินมือยงทั้งคู่ขึ้นมา มันจะแย่  
 


3. กล้องวงจรปิดช่วยคุณได้

     คำถามมีอยู่ว่า เวลาคนจะขโมยของพวกเขากลัวอะไร คำตอบคือกลัวคนเห็น ดังนั้น การติดกล้องวงจรปิดช่วยคุณได้ในระดับหนึ่งแน่นอน เพราะมันเหมือนกับว่าพวกเขากำลังถูกคุณจับตามองอยู่ตลอดเวลา แล้วไม่ใช่แค่ตรงแคชเชียร์นะ เพื่อความปลอดภัยควรติดตั้งกล้องบริเวณห้องเก็บของกับจุดส่งของด้วย ซึ่งถ้าได้กล้องความคมชัดระดับสูงที่สามารถระบุหน้าตาได้ด้วยยิ่งดี

4. ตรวจสอบถังขยะ

     ไม่อยากเชื่อก็ต้องเชื่อว่าพนักงานหัวใสอาจขโมยเงินหรือสิ่งของแล้วใส่ไว้ในถุงหรือถังขยะก่อนจะแกล้งนำออกไปทิ้งข้างนอกตอนกลับบ้าน ซึ่งหัวหน้าส่วนใหญ่ไม่มีใครอยากยุ่งกับถังขยะแน่นอน สบโอกาสให้พนักงานหัวใสใช้ประโยชน์จากขยะไปแบบเต็มๆ วิธีแก้ทางคือจัดวางถังขยะให้เป็นที่ ใช้ถุงแบบใส สามารถมองเห็นจากภายนอกได้ หรือใช้กล่องที่แบนราบเรียบ (ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ ในต่างประเทศจะใช้ถังขยะแบบล็อคได้)
 


 

5. ให้พนักงานช่วยกันจับตามอง

     สำหรับบริษัทใหญ่ๆ ต้องใช้วิธีประกาศให้พนักงานทราบและช่วยกันระวังขโมย โดยบริษัทจะมีรางวัลให้กับผู้ที่แจ้งเบาะแสหัวขโมยสุดแสบได้ ซึ่งคุณอาจสร้างอีเมล์ขึ้นมารับเรื่องนี้โดยเฉพาะหรือสร้างกล่องรับเรื่องราว (เป็นกล่องเหล็กแบบล็อคได้นะ) ที่ห้องพักของพนักงานก็ได้ การใช้วิธีนี้จะทำให้ขโมยต้องคิดซ้ำหลายครั้ง เพราะมีคนจ้องจับตามองทั้งบริษัท

6. คุณต้องรู้จักดูแลพนักงานของตัวเองด้วย

     หัวขโมยส่วนใหญ่บอกว่ามันเป็นเรื่องง่ายในการขโมยของจากคนที่ไม่รู้จัก แต่มันเป็นเรื่องยากหากให้ขโมยของจากคนที่รู้จักและหวังดีกับเขา นอกจากนี้ถ้าคุณให้พนักงานทำงานที่เครียดๆ ยิ่งต้องเฝ้าระวังให้มากขึ้น เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้เกิดการขโมยได้ หากเห็นพนักงานเครียด ลองให้พวกเขาพักแล้วไปทำงานพิเศษส่วนอื่นเช่นงานการกุศลเพื่อผ่อนคลายความเครียดบ้าง อย่าเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยเชียว เพราะพนักงานที่ทำงานอย่างมีความสุขและเห็นว่าหัวหน้าคอยดูแลเอาใจใส่ ย่อมซื่อสัตย์และลดโอกาสที่เขาจะขโมยของหรือคิดร้ายกับคุณไปจนหมดสิ้น  

create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ล้มก็แค่ลุก Resilience Mindset วิธีคิดที่จะทำให้ธุรกิจได้ไปต่อ

ธุรกิจล้มเหลวเป็นเรื่องปกติในโลกธุรกิจ แต่ทำไมบางธุรกิจถึงสามารถฟื้นตัวและเติบโตได้หลังจากเผชิญกับวิกฤต ขณะที่บางธุรกิจกลับปิดตัวลงไป? คำตอบอาจซ่อนอยู่ที่ "Resilience Mindset" หรือ "จิตใจที่แข็งแกร่ง"

พร้อมไหมจะเป็นเบอร์หนึ่ง? “Contributive กลยุทธ์ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม” สูตรสร้างธุรกิจให้โตในโลกยุคใหม่

เคยสังเกตไหมว่าธุรกิจที่เติบโตแบบยั่งยืนและเป็นเบอร์หนึ่งในวงการ ไม่ว่าจะเป็น Starbucks, Airbnb, Patagonia นั้นจะมีหนึ่งอย่างที่เหมือนๆ กัน นั่นคือ Contributive Strategy กลยุทธ์การมีส่วนร่วม