อยากรอดต้องเปลี่ยน! ‘6 บุคลิกผู้นำ’ ที่โลกต้องการ และพาองค์กรพ้นทุกวิกฤต

TEXT : กองบรรณาธิการ 





Main Idea

บุคลิกผู้นำที่จะพาองค์กรรอดทุกวิกฤต
 
  • Uncharted Explorer นักสำรวจความแปลกใหม่
 
  • Success Warrior นักรบผู้พิชิตความสำเร็จ
 
  • Empathic Communicator นักสื่อสารผู้เข้าใจคน
 
  • Synergistic Winner นักผนึกพลัง
 
  • Diversity Promoter นักส่งเสริมความหลากหลาย
 
  • Torch Bearer ผู้ถือคบไฟนำทาง



     รอยช้ำที่ภาคธุรกิจต้องเจอตลอดปี 2020 คือบทพิสูจน์กึ๋นของเหล่าผู้นำ ที่จะพาองค์กรไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก ให้ข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ การเป็นผู้นำยุคนี้จึงต้องพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนที่เข้าโถมใส่ได้ทุกเมื่อ


     สิ่งที่ท้าทายไปกว่านั้นคือ ความพร้อมที่จะนำพาองค์กรให้เติบใหญ่ จากบริษัทเล็กๆ กลายเป็นบริษัทระดับภูมิภาค และไปสู่ระดับโลก ก้าวเป็นผู้นำที่โลกยอมรับอย่างไร้ข้อกังขา ว่าแต่จะต้องทำอย่างไร สลิงชอท กรุ๊ป รวบรวม ‘6 บุคลิกผู้นำ’ ที่โลกต้องการ และพาองค์กรรอดทุกวิกฤต จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
 
              




1.Uncharted Explorer นักสำรวจความแปลกใหม่

 

     คือผู้นำที่เป็นนักสำรวจ ชอบมองหาอะไรใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆ สวมวิญญาณของนักผจญภัยที่เก่ง กล้าอย่างมีสติ เป็นผู้นำที่รู้ลึกรู้จริง คิดให้เลวร้ายที่สุด เผชิญกับความไม่แน่นอนให้ได้ เรียกพลังในตัวเองเพื่อไปหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ
 
 
2.Success Warrior  นักรบผู้พิชิตความสำเร็จ


     คือผู้นำที่เป็นเหมือนนักรบ เป้าหมายมีไว้พุ่งชน มั่นใจว่าสิ่งที่ทำจะต้องสำเร็จ เป็นคนที่เห็นอนาคต พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เปิดรับไอเดียจากพนักงาน บุกตะลุยให้องค์กรอยู่รอดและดำเนินไปตามแผนการที่ตั้งไว้ด้วยความเชื่อมั่น เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถหยิบจับเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เป็นอาวุธพร้อมที่จะสู้ทะลุอุปสรรคเพื่อจะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จให้ได้
 




 
3.Empathic Communicator นักสื่อสารผู้เข้าใจคน


     เป็นผู้นำที่มีความเข้าอกเข้าใจ สามารถนำทีมงานของตนให้เดินไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักการคุณธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดี มีความสามารถในการสื่อสาร เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถสร้างแรงบันดาลใจ สร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้ทีมรวมถึงผู้นำในองค์กรประสบความสำเร็จไปด้วยกัน
 




     
4.Synergistic Winner นักผนึกพลัง


     เป็นผู้รู้จักวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของบุคลากรว่าเก่งด้านไหน และมอบหมายงานให้ถูกต้อง เปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง สามารถกระจายอำนาจการตัดสินใจให้กับคนในทีมได้อย่างดี เป็นศูนย์กลางในการสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อก่อเกิดประสิทธิผลสูงสุดให้กับองค์กร
 



     


 
5.Diversity Promoter นักส่งเสริมความหลากหลาย


     เป็นผู้นำที่ให้คุณค่าในความแตกต่าง เข้าใจความแตกต่างของคนในแต่ละเจเนอเรชั่น สามารถดึงศักยภาพของบุคคลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เป็นผู้นำที่เปิดโลกทัศน์ในมุมมองระดับสากล สามารถเชื่อมโยงให้คนในองค์กรเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ตลอดเวลา
 



 

 
6.Torch  Bearer ผู้ถือคบไฟนำทาง


     เป็นผู้ที่มีสายตากว้างไกลสามารถคาดเดาแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ และสร้างผู้นำรุ่นใหม่ไว้ให้กับองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยั่งยืน  เพื่อที่องค์กรจะยังสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้ แม้ในวันที่ตนไม่ได้เป็นกำลังสำคัญหรืออยู่เบื้องหลังแล้ว
              

     เก็บตกจากผลการศึกษาพบว่าผู้นำไทยส่วนใหญ่เก่งด้านการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ หาดินแดนใหม่ๆ ทำเรื่องใหม่ๆ แต่สิ่งที่ยังขาดก็คือการเป็นนักผนึกกำลัง ยังเก่งคนเดียวมากกว่าเก่งเป็นทีม ซึ่งการที่จะเป็นผู้นำที่โลกต้องการและเก่งกาจในระดับโลกได้นั้น ต้องเป็นทีมที่เก่งที่สุด


     อย่างไรก็ตามการจะเป็นผู้นำแบบไหนนั้นก็ขึ้นกับความต้องการของแต่ละองค์กร หากเป็นองค์กรที่อยู่ในขั้นของการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ต้องการหาดินแดนใหม่ในการเติบโต ก็ย่อมต้องการผู้นำที่เป็นนักสำรวจความแปลกใหม่ แต่บางองค์กรอยู่ในช่วงที่ต้องการสร้างความยั่งยืนก็ย่อมต้องการผู้นำที่เป็น ผู้ถือคบไฟนำทาง ที่จะสร้างผู้นำรุ่นใหม่ไว้ให้กับองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยั่งยืน เป็นต้น


     นี่จึงเป็นเวลาที่องค์กรต่างๆ จะได้กลับมามองตัวเอง โดยต้องหาให้ได้ว่า องค์กรของเราอยู่ในขั้นไหน ผู้นำของเราตอนนี้ยังมีช่องว่างอะไร ทำอย่างไรถึงจะเติมเต็มช่องว่างนั้น เพื่อให้สอดรับกับทิศทางขององค์กรที่ต้องการมุ่งไปนั่นเอง
 
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 
 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน

ล้มไม่ใช่แพ้ ถ้ารู้จักลุกอย่างมีกลยุทธ์ “Resilience” ทักษะที่ SME ควรมี

ล้มแค่ไหนก็ไม่พัง ถ้าเราล้มเร็วลุกเร็ว มาเรียนรู้ 10 วิธีฟื้นใจและปรับตัวไว ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของความอดทน แต่คือศิลปะของการลุกขึ้นใหม่

ภาวะหมดไฟ ภัยเงียบที่คุกคามผู้นำ ถึงเวลาทบทวนวิธีพัก ก่อนที่ธุรกิจจะพังไปพร้อมใจคุณ

ภาวะหมดไฟ (Burnout) กำลังระบาดหนักในหมู่ผู้บริหารและเจ้าของกิจการ โดยเฉพาะในยุคเศรษฐกิจกำลังซบเซา ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวแบบไม่มีเวลาพักหายใจ ซึ่งภาวะหมดไฟของผู้นำนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัว แต่คือความเสี่ยงของทั้งองค์กร!