รู้ทัน 3 เรื่องสุดย้อนแย้ง ที่พนักงานกับนายจ้างคิดต่างกัน จนเข้าใจผิด ธุรกิจติดล็อก

TEXT : กองบรรณาธิการ
     

          

      โดยปกติแล้วในฐานะผู้นำองค์กรหรือเจ้าของธุรกิจไม่ว่าใครก็ย่อมอยากให้พนักงานของตนพัฒนาขึ้น และมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีด้วยกันทั้งนั้น แต่เคยคิดสงสัยไหมว่าเหตุใดในหลายๆ ครั้งที่สื่อสารออกไปแล้ว แต่กลับไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าที่ควร จริงๆ แล้วเหตุผลอาจเป็นเพราะมุมมองความคิดหรือ mindset ที่แตกต่างกันออกไประหว่างระดับผู้บริหารและพนักงานผู้ปฏิบัติตามก็เป็นได้ที่มองเห็นภาพกันคนละอย่าง เหมือนเช่นกับ 3 เรื่องต่อไปนี้ ซึ่งมักเป็นปัญหาทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันอยู่เรื่อย มีอะไรบ้างนั้นลองไปดูกัน



 

อยากให้มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ลืมปลดล็อกกฎระเบียบบางอย่าง
 
               
       ในขณะที่หลายองค์กรต่างพยายามผลักดันให้บุคลากรของตนกลายเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ แต่หลายครั้งที่พวกเขากลับลืมที่จะมองดูกฎระเบียบข้อบังคับบางอย่างที่เคยตั้งเอาไว้ ซึ่งอาจกลายเป็นหนึ่งในอุปสรรคทำให้พนักงานขาดความมั่นใจและไม่กล้าที่จะคิดออกนอกกรอบได้ตามที่ต้องการ เพราะพนักงานส่วนใหญ่มักเลือกที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ตั้งไว้มากกว่า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ฉะนั้นแล้วก่อนจะสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ คุณควรให้อิสระทางความคิด และปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ข้อบังคับบางอย่างลงบ้าง เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายใหม่ที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งวิธีการแก้ไข คือ ควรรับฟังความคิดเห็นและข้อมูลจากพนักงานในทุกระดับให้มากขึ้น เพื่อแสวงหาโซลูชั่นที่เหมาะสมร่วมกัน




 
ให้ทำงานเป็นทีม หรืออยากให้แข่งขัน?


        เชื่อหรือไม่ว่าในขณะที่ผู้นำองค์กรหรือหัวหน้างานมักบอกให้ลูกน้องทำงานร่วมกันเป็นทีมหรืออยากสร้างทีมเวิร์คที่ดีให้เกิดขึ้นนั้น พวกเขากลับอยากให้พนักงานแต่ละคนงัดความสามารถของตนออกมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย ซึ่งในมุมมองของพนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาแล้วในบางครั้งอาจตีเป็นการแข่งขันกันก็เป็นได้ ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมของการทำงานร่วมกัน ผู้นำจะสื่อสารและออกแบบการพัฒนาทั้งรูปแบบการทำงานร่วมกันทั้งทีมและรายบุคคลออกมาให้ชัดเจน ขณะเดียวกันควรปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม ให้สิทธิการแสดงความคิดเห็นอย่างเสมอภาค และทำให้เห็นว่าทุกบทบาทหน้าที่นั้นล้วนสำคัญไม่แตกต่างกันเลย เพียงแต่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละคนให้เต็มที่จะยิ่งส่งเสริมให้ทีมเกิดความแข็งแรงและประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้นไปด้วย



 

สนับสนุนให้กล้าแสดงออก แต่ลืมรับฟังความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
               

      ผู้นำองค์กรหลายคนพยายามสนับสนุนให้พนักงานของพวกเขากล้าแสดงออกและแสดงความคิดเห็นต่องานที่ทำอยู่แต่หลายครั้งที่พวกเขามักเลือกที่จะสนับสนุนและแสดงความยินดีต่อบุคคลที่ทำงานให้สำเร็จลุล่วงออกมาตามเป้าหมายได้ดีเท่านั้น โดยลืมให้กำลังใจหรือหยิบยกเรื่องราวความผิดพลาดอื่นๆ ที่มีอยู่มาเป็นบทเรียน และสื่อสารออกไป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งจริงๆ แล้วสำหรับคนทำงานไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือผิดพลาด ก็ล้วนแต่เกิดขึ้นจากความตั้งใจทำงานด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นแทนที่จะเก็บเงียบไว้หรือทำให้รู้สึกเหมือนเป็นจุดบอด ควรทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องปกติที่ใครก็สามารถผิดพลาดได้ และแทนที่จะย้ำถึงความผิดที่เกิดขึ้น ควรนำเสนอให้เห็นเป็นประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อหาทางออกและวีแก้ไขให้ดีขึ้นร่วมกันดีกว่า
 




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน

ล้มไม่ใช่แพ้ ถ้ารู้จักลุกอย่างมีกลยุทธ์ “Resilience” ทักษะที่ SME ควรมี

ล้มแค่ไหนก็ไม่พัง ถ้าเราล้มเร็วลุกเร็ว มาเรียนรู้ 10 วิธีฟื้นใจและปรับตัวไว ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของความอดทน แต่คือศิลปะของการลุกขึ้นใหม่