เหตุที่กลยุทธ์ “ปากต่อปาก” เวิร์กในเอเชีย



เรื่อง กองบรรณาธิการ


    สงสัยไหมว่าทำไมเวลาเสพข้อมูลไม่ว่าจะทางใด คนส่วนใหญ่มักพร้อมจะเชื่อในสิ่งที่ได้ยิน และเชื่อใน word-of-mouth หรือการสื่อสารระหว่างผู้บริโภคที่บอกกันแบบปากต่อปากผลการวิจัยชิ้นหนึ่งระบุคนเอเชียเชื่อข้อมูลที่ได้ยินได้ฟังมากกว่าผู้บริโภคในภูมิภาคอื่นของโลก โดยเฉพาะข้อมูลที่มาจากการแนะนำส่วนบุคคล การรีวิวทางอินเตอร์เน็ต และผ่านบทความต่าง ๆ เหตุเพราะอะไร ดูกันเป็นข้อ ๆ

 
•    วัฒนธรรม พื้นฐานคนเอเชียเน้นการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในครอบครัวไปจนถึงข้าราชการและผู้บริหารแวดวงธุรกิจ พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นในสังคมจีนและญี่ปุ่นเช่นกัน การวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่จึงเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีใครอยากทำ     รูปแบบการเคารพนับถือเช่นนี้สะท้อนความไว้เนื้อเชื่อใจระดับสูงของชาวเอเชียต่อสื่อหรือข้อมูลที่ส่งผ่านเว็บไซต์ของสปอนเซอร์และแบรนด์ต่าง ๆ 


•    การควบคุมสื่อ จะว่าไปรัฐบาลทั่วภูมิภาคเอเชียควบคุมสื่อ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุหรือโทรทัศน์ชนิดที่เข้มข้นกว่าทางฝั่งตะวันตก ทำให้ประชาชนและผู้บริโภคหันหาโซเชียลมีเดียเพื่อเสพข้อมูลและข่าวสาร พร้อมกับนำเสนอประสบการณ์และมุมมองของตัวเองผ่านสื่อที่ควบคุมยากอย่างอินเตอร์เน็ต


•    สภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่จำนวนชนชั้นกลางในเอเชียนั้นกระจายอยู่ทั่วแต่การรับรู้หรือความคุ้นเคยต่อแบรนด์กลับยังต่ำอยู่เมื่ออิงจากสภาพเศรษฐกิจ เป็นเพราะผู้บริโภคจำนวนมากยังไม่ใช่นักช้อปตัวยง เมื่อจะซื้อสินค้าแพง ๆ ด้วยความระมัดระวังจึงมักปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากคนที่พวกเขาเชื่อถือแบบตัวต่อตัว


•    ทำเลที่ตั้ง คงต้องยอมรับว่าสังคมส่วนใหญ่ของเอเชียยังเป็นสังคมชนบท  ผู้คนยังปฏิสัมพันธ์และพบเจอกันซึ่ง ๆ หน้าเวลาซื้อของหรือทำธุรกิจ แต่ก็จะมีสายสัมพันธ์ระหว่างร้านค้าแบบออฟไลน์และออนไลน์ อย่างไรก็ตาม การแพร่ขายของอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนที่รุกไปยังชาวภูธร จะทำให้ความสัมพันธ์โน้มเอียงไปทางออนไลน์มากขึ้น 

    ท้ายที่สุดเมื่อปัจจัยต่าง ๆ อาทิ อินเตอร์เน็ต โซเชี่ยลมีเดีย ผู้บริโภคที่เกี่ยวข้อง ข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน และการเป็นสังคมเมืองเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีความรับผิดชอบและความโปร่งใสมากขึ้น (โดยเฉพาะในสังคมจีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย) ก็เป็นที่น่าสนใจว่าการเชื่อกันแบบปากต่อปากของชาวเอเชียจะขยายขอบเขตไปได้ไกลแค่ไหน

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024