Mascot สิ่งที่แบรนด์ทุกสมัยต้องการ

TEXT  Frank.co.th
 

 
 
     Social Media Marketing เติบโตอย่างรวดเร็วในไทย เพราะคนไทยใช้ Social Media เป็นอันดับแรกๆ ในโลก โดย Social Media ที่คนไทยใช้มากที่สุดก็คือ Facebook จำนวน 49 ล้านคน  ส่วน Instagram มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 11 ล้านคน และ Twitter มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 9 ล้านคน 

 
 
     แบรนด์ต่างๆ ในเมืองไทยจึงแข่งกันใน Social Media Marketing กันอย่างดุเดือด งัดไม้เด็ดกันมาต่างๆ นานา Brand Mascot ก็เป็นท่วงท่าหนึ่งที่แบรนด์ต่างๆ ใช้กันมาก และดูเหมือนมันจะได้ผลดีซะด้วยสิ  ซึ่งก็มี Startup หลายบริษัท ที่นำมาใช้เล่าเรื่องราวของแบรนด์ จนกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง อย่างร เจ๊จู ร้านวัสดุก่อสร้าง, เพนกวิ้น Frank, สิงโต Lazada, แพนด้า Food Panda, พี่หมี โกแบร์ เป็น และในการใช้ Mascot นั้น ได้ถูกวิจัยมาแล้วว่าถ้าสามารถสร้าง Mascot ให้ดีและเหมาะสมได้ เหล่า Mascot น่ารักๆ พวกนี้จะมีพลังมากกว่าการใช้เงินจ้างดาราเสียอีก

 
Mascot ทำให้คนรู้จักแบรนด์มากกว่าการจ้างคนดังซะอีก
 
     มีงานวิจัยระบุไว้ว่า การใช้ Mascot ทำให้คนรู้จักแบรนด์มากกว่าการจ้างคนดังซะอีก สถาบันวิจัย Synthesio พบว่า โพสต์ที่มีคนดังมีการแชร์เฉลี่ย 3.19%  แต่โพสต์ที่มี Mastcot มีการแชร์มากกว่าเยอะเลย Pillsbury Doughboy มีการแชร์ถึง 22.14% Alfa Duck มีการแชร์ 11.82%  GEICO Gecko มีการแชร์ 6.15%.

 
 
ทำไมใครๆ ก็ชอบ Mascot?
 
     เพราะ Mascot ทำให้แบรนด์สนุกกมากขึ้น ใครๆ ก็ชอบความน่ารัก น่าสนใจมากกว่าคนที่เราไม่รู้จัก หรือว่าโพสต์ที่ไม่มีรูปคน ไม่มีเรื่องราว ไม่มีหน้าไม่มีตา 

 
     แบรนด์ Mascot จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนรู้สึกเข้าใกล้แบรนด์มากขึ้น มากกว่าคนดังที่อาจจะดูมีระยะห่างระหว่างผู้บริโภค ต่างจาก Mascot ที่ทำความรู้จักกับผู้บริโภคอย่างเป็นกันเอง ขายของแบบ Soft Sell ทำให้คนไม่อึดอัดและยังเกิดความคนเอ็นดูอีกด้วย
 
GEICO 
 

 
     กิ่งก่า GEICO เป็น Moscot ตัวอย่างที่ได้รับความรัก ความเอ็นดูมากในอเมริกา โดย GEICO เลือกใช้กิ่งก่าสีเขียวหน้าตาตลก ซึ่งเจ้ากิ่งก่าตัวนี้ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ให้กับวงการประกันของ ซึ่ง GEICO ได้ทำให้เรื่องประกันกลายเป็นความสนุก เรื่องขำๆ ไม่ใช่เรื่องที่วุ่นวาย เข้าใจยาก และเจ้ากิ่งก่าตัวนี้ยังทำตัวใกล้ชิดกับผู้บริโภค ใช้ชีวิตเหมือนเราทุกคน (ถึงแม้จะเกรียนๆ หน่อยก็เถอะ) 
 
 
 
ตัวอย่างของ Brand Mascot ของ Startup ไทย
 
Frank.co.th

 
 
 
     Frank.co.th ใช้หลักการเดียวกับ GEICO คือการใช้ Mascot มาทำให้คนรู้สึกว่าประกันเป็นเรื่องเข้าถึงง่าย เป็นเรื่องสนุก ให้คนรู้สึกมีส่วนร่วมกับแบรนด์ และให้แบรนด์มีส่วนร่วมกับคน เช่นพอราคาน้ำมันขึ้น เพนกวิน Frank ก็ออกมาบอกทุกคนพร้อมกับน้ำตาคลอ แต่เพนกวิน Frank จะเป็นที่รักของชาวไทยมากแค่ไหนก็ต้องรอดูกันต่อไป

 
 
Gobear
 

 
     พี่หมี Gobear คอยมาทำน่านิ่ง น่ารัก ให้เราหลงไหล ซึ่งก็ใช้ไอเดียเดียวกับ GEICO ที่ใช้ Moscot มาสร้างความใกล้ชิดให้กับลูกค้า
 
Lazada

 
      Lazada ใช้ Mascot สิงโตนำมาเล่าเรื่องราวของแบรนด์โดยเล่าเรื่องตลกๆ มุขตลกๆ ให้คนเข้าถึงแบรนด์ง่ายๆ เล่นมุขช้อปปิ้งขำๆ มุขง่ายๆ ที่ไม่ว่าเล่นกับใครก็โดนใจหมด
 
 
 
I-JU วัสดุก่อสร้าง

 

 
     ตัวอย่างสุดท้ายเป็น Mascot ที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร เพราะแทนที่จะใช้สัตว์ หรือการ์ตูนเพื่อความน่ารัก เขากลับใช้คุณป้าสูงอายุ ในลุคล้ำสมัยเพื่อเสียดสีและล้อเลียนสังคม ตัวอย่างที่เราพูดถึงคือ เจ๊จู จาก BUILK.com  ร้านขายวัสดุออนไลน์ ที่ใส่เสื้อคอเต่าแบบ Steve Job

    แน่นอนว่า เจ๊จู กลายเป็น Viral ที่ดังระเบิดในช่วงข้ามคืนที่มีการแชร์อย่างมหาศาล จนใครๆ ก็ออกมาลอกเลียน ล้อเลียนกันใหญ่ ลักษณะของโพสต์เจ๊จูคือใช้ความขัดแย้งระหว่างภาพลักษณ์ของเจ๊ กับความทันสมัยของ Mood and Tone และยังเข้าถึงและเข้าหาผู้บริโภคแบบเป็นกันเอง เจ๊จูถือเป็นตัวอย่างการใช้ Mascot ที่ประสบความสำเร็จของเมืองไทยอย่างมาก
 
 
     จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ชัดว่า Mascot มีพลังมากกว่าการจ้างคนดัง สามารถสร้างการจดจำได้มากกว่า และยังสร้างความใกล้ชิดให้กับสินค้าและผู้บริโภคมากกว่า ดังนั้น Mascot จึงเป็นเครื่องมือทางการตลาด ที่หลายธุรกิจ มองเห็นในพลัง และพยายามสร้าง Mascot ประจำตัวขึ้น แต่การที่เราจะสร้างเรื่องราวข้างหลัง Mascot พวกนี้ (Background story) ให้แบรนด์ หรือแสดงจุดยืนที่ชัดเจน เล่นกับผู้คนอย่างไร ถี่แค่ไหน ก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันที่จะทำให้การนำ Mascot มาใช้ประสบความสำเร็จ

 
 
ข้อมูลจาก  Frank.co.th

 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2