​ทำอย่างไรเมื่อต้องพูดว่า “ไม่” กับลูกค้า






 
     การกล่าวคำว่า “ไม่” กับลูกค้าอาจเป็นเรื่องยากและลำบากใจของผู้ประกอบการเกือบทุกคน ซึ่งกลัวจะสูญเสียลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกค้าที่เป็นตัวจริงของแบรนด์ จะทำอย่างไรเมื่อเวลานั้นมาถึง เป็นศิลปะในการทำธุรกิจอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ไว้ และนี่คือ 4 เคล็ดลับที่ช่วยให้การพูดว่า “ไม่” ของคุณดูซอฟต์ลงไปถนัดตา





แน่ใจก่อนที่จะพูดออกไป
               
     ก่อนที่จะกล่าวคำว่า “ไม่” ออกไป คุณต้องแน่ใจก่อนว่าไม่มีหนทางอื่นที่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้ว เพราะหากได้กล่าวออกไปแล้วจะไม่สามารถย้อนคืนกลับมาได้ และอาจต้องใช้เวลานานกล่าวจะเรียกความเชื่อมั่นและความไว้วางใจนั้นกลับคืนมาได้ และแน่นอนต้องเตรียมรับกับผลกระทบที่จะตามมาด้วย





สร้างทางเลือกอื่นให้กับลูกค้า

     บ่อยครั้งที่การพูดว่า “ไม่” อาจส่งผลต่อสัมพันธ์อันดีระหว่างตัวคุณและลูกค้าที่ติดตามแบรนด์ของคุณมาสม่ำเสมอ วิธีการปฏิเสธที่นุ่มนวลและเป็นผลดีมากที่สุดแก่แบรนด์ คือ การเสนอทางเลือกอื่นที่สามารถทำได้ให้กับลูกค้า ขณะเดียวกันก็ตอบปฏิเสธในสิ่งที่ถูกร้องขอ นับเป็นอีกวิธีที่ทำให้บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น อย่างน้อยๆ ก็ได้แสดงให้เห็นว่าคุณได้พยายามช่วยเหลือเขาอย่างเต็มความสามารถที่สุดแล้ว





รับฟังความคิดเห็นและแสดงความเห็นใจ

     ถึงแม้จะมั่นใจว่าไม่สามารถปฏิบัติตามสิ่งที่ลูกค้าร้องขอได้แน่นอน แต่เพื่อเป็นการรักษาน้ำใจในขั้นตอนแรกคุณก็ต้องรับฟังเหตุผล ความอึดอัดใจของลูกค้าด้วย อย่างน้อยๆ ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณสนใจ ให้ความสำคัญ และเห็นใจในสิ่งที่เขาพูด แม้ท้ายที่สุดแล้วจะไม่สามารถปฏิบัติตามสิ่งที่เขาขอมาได้ก็ตาม





ตอบปฎิเสธอย่างสุภาพและตรงไปตรงมา

     เมื่อไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้การปฏิเสธของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นที่สุด คือ การปฏิเสธอย่างสุภาพและตรงไปตรงมา ลูกค้าอาจเกิดความไม่พอใจ แต่ท้ายที่สุดแล้วหากเหตุผลของคุณน่าเชื่อถือและหนักแน่นเพียงพอ เขาก็อาจจะทำความเข้าใจได้และกลับมาเป็นลูกค้าของเราอีกครั้ง เพราะการรักษาความชัดเจนและโปร่งใสต่อลูกค้า คือ สิ่งที่ดีที่สุดที่จะส่งผลระยะยาวต่อแบรนด์ในการแสดงความจริงใจกับลูกค้า



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2