เมื่อเฟซบุ๊กไม่แคร์สื่อ แบรนด์ต้องปรับตัวให้ว่องเดินหน้าให้ไว!

Text: Yuwadi.s 





Main Idea
  • หลังจากที่เฟซบุ๊กได้ส่งสัญญาณให้สื่อและแบรนด์ต่างๆ ที่ทำคอนเทนต์ในเฟซบุ๊กว่าเขาจะลดการมองเห็นลงเพื่อสร้างสังคมในเฟซบุ๊กที่เน้นเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อนมากขึ้น
 
  • สื่อและแบรนด์จึงต้องเริ่มขยับตัวให้เร็ว เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ไว ไม่ยึดติดและพึ่งพิงเฟซบุ๊กมากเกินไปเพราะในวันหนึ่งที่ยุคของเฟซบุ๊กหมดลงจะได้ไม่รู้สึกว่าแบรนด์ของคุณถูกทิ้งไว้กลางทาง
___________________________________________________________________________________________


     สัญญาณถูกส่งมาสักพักแล้วจากเฟซบุ๊กว่าพวกเขาเริ่มไม่แคร์เหล่า Publisher หรือสื่อออนไลน์อีกต่อไป ด้วยจำนวน Reach ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดพร้อมทั้งมีการออกมาพูดถึงเรื่องนี้จาก Campbell Brown หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรข่าวทั่วโลกของเฟซบุ๊ก เธอได้ออกมาพูดผ่านงานประชุมสื่อในออสเตรเลียว่ามาร์กไม่สนใจเรื่องของสื่ออีกต่อไปและให้เธอเข้ามาสะสางสิ่งที่ค้างไว้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง เธอได้บอกต่อว่าจะช่วยให้สื่อมีความเข้มแข็งมากขึ้น เพราะในไม่กี่ปีข้างหน้าจะดูเหมือนว่าเฟซบุ๊กต้องจับมืออยู่กับธุรกิจที่กำลังจะตายอีกทั้งยังเมินเรื่องการพูดถึงเรื่องของทราฟฟิกเพราะนั่นคือโลกเก่าที่ไม่มีทางย้อนกลับไปได้อีกแล้ว





     ด้วยการประกาศของ Brown สอดคล้องกับท่าทีของเฟซบุ๊กที่ลดอัตราการมองเห็นของสื่อและแบรนด์ ทั้งที่โฆษณาจากสื่อและแบรนด์คือช่องทางหลักในการสร้างรายได้ให้เฟซบุ๊ก 1 ในบุคคลที่คลุกคลีอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของเฟซบุ๊กคือ ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) ผู้ให้บริการด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง โดยธนพลได้ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่าเฟซบุ๊กจะมีการทำตาม Mission ที่เขาตั้งไว้มากขึ้น เริ่มต้นจากการปรับสมดุลระหว่าง Relationship และ Publisher


     “ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กได้มีการทดลองปรับอัลกอริทึมกับสำนักข่าวต่างๆ สร้างแท็บใหม่ขึ้นมาให้คนคลิกอ่านจากตรงนั้น Mission ของเฟซบุ๊กคือเขาอยากที่จะ Connect People สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่พี่น้อง เพื่อน ครอบครัว เน้นเรื่อง Relationship มากกว่า สำนักข่าวหรือแบรนด์ก็จะรู้สึกเลยว่าอยู่ดีๆ อัตราการมองเห็นก็ลดลง ต่ำลงพร้อมกันทุกที่ ส่วนหนึ่งเพราะเฟซบุ๊กให้ความสำคัญกับตรงนี้น้อยลง ซึ่งเขาเองกำลังหาจุดสมดุลอยู่ระหว่างรายได้ที่มาจากโฆษณา พอโฆษณาเยอะเกิน คนก็ไม่พอใจ แต่ถ้าไม่มีโฆษณา เขาก็ขาดรายได้ และจะมีการปรับ ทดลองอยู่ตลอด ผมเองก็ไม่รู้ว่าจุดสมดุลของเขาอยู่ตรงไหน เพียงแค่รู้ว่าตอนนี้ Direction ของเขาชัดเจน คอนเทนต์ของแบรนด์และสื่อต่างๆ จะมี Reach ที่ต่ำลง”
 




สำหรับสิ่งที่แบรนด์และสื่อต้องทำเพื่อหนีตายจากการโดนเฟซบุ๊กเทในครั้งนี้คือ
  1. โฟกัสที่เนื้อหาและอย่ายึดติดกับ Chanel
     ธนพลได้แนะนำว่าสื่อและแบรนด์ต้องเข้าใจว่าตนเองเป็น Content Provider ผู้ผลิตคอนเทนต์ที่ยังต้องโฟกัสในเรื่องของสิ่งที่ตนเองทำแต่อย่ายึดติดกับช่องทางใดช่องทางหนึ่ง

     “ถ้ามี Line ให้ทำ Line@ ทำเฟซบุ๊ก ทำยูทูป มีอะไรมาต้องจับให้อยู่ ดูว่าคนอยู่ตรงไหนเยอะ ต้องเข้าไปตรงนั้น อย่างในตอนนี้ประเทศไทยก็มีกระแส Podcast เข้ามา ต้องพิจารณาดูว่าคอนเทนต์ที่มีอยู่สามารถทำได้ไหม ถ้าหากทำได้ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำ”
 
  1. ปรับตัวให้ไวที่สุด
     ในเรื่องของการปรับตัว ธนพลได้ออกความคิดเห็นว่าคนที่จะปรับตัวไวที่สุดคือสื่อ ตามมาด้วยผู้บริโภคจบท้ายด้วยแบรนด์ที่มักจะมีการปรับตัวช้าที่สุด

     “แบรนด์จะเป็นอะไรที่ปรับตัวช้าที่สุด เพราะเขาจะรอดูก่อนว่าคนอยู่ตรงไหน คนจะขยับไปทางไหน เขาถึงจะขยับตาม พวกสื่อจะขยับก่อน เหมือนเขาเห็นอะไรเขาก็จะปรับก่อน พอขยับทีหนึ่งคนก็จะตามไป”
เพราะฉะนั้นแบรนด์อาจจะต้องเริ่มขยับตัวให้ไวขึ้นเพื่อที่จะได้ตามผู้บริโภคได้ทัน
 
  1. อย่าขังตัวเองไว้ที่แพลตฟอร์มเดียว
     ช่วงก่อนหน้านี้หลายคนเน้นการสร้างเว็บไซต์ ทำแอพพลิเคชั่นของแบรนด์เพื่อดึงให้คนเข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มของตัวเองและไม่พาตัวเองไปอยู่ในแพลตฟอร์มอื่นเลย วิธีนี้อาจจะเป็นการผูกมัดตัวเองมากเกินไป ไม่เวิร์คในระยะยาว

     “สังเกตดูว่าคนที่เขาปรับตัวเก่งๆ จะไม่ได้ยึดแพลตฟอร์ม เช่น พวก Workpoint หรือ Grammy เมื่อก่อนคนอาจจะคิดว่าเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มดีที่สุด พยายามสร้างแพลตฟอร์มตัวเอง ไม่เน้นแพลตฟอร์มอื่นเลย เดี๋ยวนี้คนเริ่มเรียนรู้ว่าถ้าทำแบบนั้น ตายอย่างเดียว ไม่รอด สุดท้ายต้องดูว่าคนอยู่ตรงไหน เราต้องไปอยู่ตรงนั้น การทำแพลตฟอร์ม ต้องเสียแรงโปรโมต เสียเงินลงทุน บางทีอาจจะไม่คุ้ม”
 
  1. ใช้บิ๊กดาต้าให้เป็นประโยชน์
     ธนพลได้ปิดท้ายว่าในยุคนี้เป็นยุคของบิ๊กดาต้าที่ใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงผู้คน การสื่อสารในสมัยก่อนจะเป็นการหว่านแหเพื่อคุยกับคนส่วนมาก แต่ยุคนี้สามารถใช้ข้อมูลมากมายเพื่อ Customize การสื่อสารให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าที่แท้จริง  

     “ผมว่านี่คือยุคที่ใช้เทคโนโลยีในการ Reach คน สมัยก่อนคือ Mass Communication สื่อสารหว่านไปทั่วให้คนเห็นเยอะๆ แต่ตอนนี้มีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เรารู้ว่าใครที่ต้องการสินค้าของเรา เราก็สามารถสร้างการสื่อสารเพื่อคุยกับแค่คนๆ นั้น ไม่ต้องเหวี่ยงแหแล้ว เวลาที่เราทำอะไรบนโลกออนไลน์ กดไลค์อะไร ชอบอะไร เทคโนโลยีมันแทร็กได้หมด”
 

     การทำธุรกิจในยุคนี้จะเน้นการสร้างสินค้าหรือการขายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้ความสำคัญในการสื่อสารกับผู้คนด้วย ที่สำคัญอย่าหยุดอยู่แค่แพลตฟอร์มเดียว อย่างหลายแบรนด์ที่พึ่งพิงเฟซบุ๊กมากเกินไป คงต้องเริ่มมองหาช่องทางอื่นๆ มากขึ้น เผื่อวันหนึ่งที่ยุคของเฟซบุ๊กหมดลง ธุรกิจของคุณจะได้รู้สึกว่าไม่ถูกทิ้งไว้กลางทาง






www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2