​“5 พฤติกรรมลูกค้าออนไลน์” รู้ก่อน...มีชัยกว่าครึ่ง



เรื่อง : ทรงยศ คันธมานนท์
            ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง ReadyPlanet.com


     เนื่องด้วยการสื่อสารที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ได้ปลูกฝังพฤติกรรมให้กับพวกเราโดยไม่รู้ตัว เทคโนโลยีช่วยให้เราทำอะไรเร็วขึ้น สะดวกขึ้น แต่ทางกลับกันอาจทำให้เรากลายเป็นคนใจร้อน ขี้เบื่อ เพราะสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และการเข้าถึงข้อมูลที่สนใจสามารถทำได้ง่ายดายเพียงไม่กี่คลิก ผ่านการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

   จากผลวิจัยเรื่องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจาก Red Rocket Media ระบุว่า โดยทั่วไป คนเราจะมีเวลาเฉลี่ยในการให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียง 8 วินาทีเท่านั้น นั่นหมายความว่าหากคุณทำธุรกิจอยู่บนออนไลน์ คุณมีเวลา 8 วินาทีสำคัญ ที่จะดึงดูดลูกค้าให้สนใจในสินค้าและบริการของคุณ ก่อนถูกมองข้าม

    ลองทำความรู้จักกับ 5 พฤติกรรมลูกค้าออนไลน์ สำหรับทำความเข้าใจ พร้อมเรียนรู้เทคนิคการปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อรับมือเเละสร้างเเบรนด์ของคุณบนโลกออนไลน์ให้เติบโตไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ


1. วัยรุ่นใจร้อน

   ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยธรรมชาติ มักจะใจร้อน อยากทราบข้อมูลสินค้า บริการที่เขาสนใจโดยทันทีทันใด โดยทั่วไปผู้ที่เข้ามาหน้าเว็บไซต์จะใช้เวลาอยู่ในแต่ละหน้าเพียงแค่ 5-8 วินาที เท่านั้น หากเว็บนั้นไม่สามารถนำเสนอข้อมูลให้ตรงตามความสนใจได้ ผู้ใช้ก็จะคลิกออกจากเว็บอย่างรวดเร็ว

วิธีรับมือ

   เว็บไซต์ควรโหลดได้เร็ว และมีการออกแบบให้แสดงผลบางส่วนได้โดยไม่ต้องรอโหลดหน้าเว็บทั้งหน้าเสร็จ นำเสนอข้อมูลโดยใช้ข้อความและภาพประกอบที่ช่วยสื่อให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายในเวลาสั้นๆ ซึ่งหากผู้ใช้สนใจสามารถที่จะอ่านหรือคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป

2. เบื่อง่าย หน่ายเร็ว

   อาการขี้เบื่อเป็นอาการที่เกิดได้ง่ายกับผู้ใช้ออนไลน์แทบทุกคน เเละจะเป็นกันอยู่บ่อยๆ หากเว็บไซต์ของคุณไม่มีการอัพเดทข้อมูล ไม่มีจุดเด่น และเมื่อใดที่พวกเขาเบื่อหน่ายเว็บไซต์คุณขึ้นมาล่ะก็ มีโอกาสน้อยมากที่จะกลับมาเยี่ยมเยี่ยนเว็บไซต์ของคุณอีก

วิธีรับมือ

   ควรมีการอัพเดตเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้มีข้อมูลใหม่ และสอดคล้องกับเทศกาลปัจจุบันอยู่เสมอ อาจมีการปรับภาพตกแต่งบางส่วนหรือใส่วิดีโอประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจ

3. ชอบดูผ่านๆ ไม่ชอบอ่านละเอียด  (Scan, not read)?

   ในความเป็นจริง ผู้ชมเว็บไซต์ไม่ชอบอ่านเนื้อหาทั้งหมดแบบละเอียด แต่จะชอบกวาดสายตาดูหน้าเว็บแบบผ่านๆ เพื่อหาข้อมูลที่สนใจ หากจัดวางหน้าเว็บไซต์ไม่ดี ก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่พบข้อมูลที่ต้องการ 

วิธีรับมือ

   ควรจัดวางเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ให้อ่านง่าย โดยมีการเน้นตัวหนังสือในหัวข้อที่สำคัญให้เห็นได้ชัด หรืออาจแสดงข้อความในลักษณะเป็นข้อๆแบบ bullet จัดเนื้อหาเป็นย่อหน้าสั้นเพื่อให้มีจุดพักสายตา ปุ่มหรือเมนูต่างๆควรมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน


4.ไม่ชอบจำและคิด

    จากผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ระบุ คนไทยมีค่าเฉลี่ยการใช้เวลาบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 7.2 ชั่วโมง ทุกๆ วันพวกเขาอาจคลิกเข้าเว็บมากกว่าสิบๆ เว็บ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่ลูกค้าจะจดจำในรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญได้ 

วิธีรับมือ

    ในแต่ละหน้าเว็บ ควรมีเป้าหมายในการนำเสนอประเด็นหลักประเด็นเดียว การตั้งชื่อหัวข้อของหน้าเว็บนั้นๆ ควรสั้น กระชับและจดจำได้ง่าย ในการคลิกใช้งานเว็บไซต์ไม่ควรให้ลูกค้าต้องจำหรือคิดโดยไม่จำเป็น อาจมีระบบแสดงรายการสินค้าหรือบทความที่ได้อ่านไปแล้ว เพื่อช่วยเตือนความจำ กรณีต้องการกลับไปสั่งซื้อสินค้าที่ได้ดูรายละเอียดไปก่อนหน้านี้

5.ขี้ระแวง
 

    ปกติผู้ชมเว็บไซต์มักจะกลัวถูกหลอก และมีความระแวงก่อนที่จะสั่งซื้อเสมอ เนื่องจากยังมีความไม่เชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ จากผลการวิจัยของ Baymard Institute ระบุว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยกว่า 67% มักยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าที่โยนใส่ตระกร้าเรียบร้อยเเล้ว โดยมีหนึ่งในสาเหตุสำคัญ คือ กังวลเรื่องระบบความปลอดภัย

      นำเสนอข้อมูลที่แสดงความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ เช่น แสดงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ แผนที่ ข้อมูลที่อยู่ของธุรกิจ, แสดงแบนเนอร์การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และอาจนำเสนอข้อมูลประสบการณ์จากลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าแล้วประทับใจ รวมทั้งมีการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในการสั่งซื้อและนโยบายที่เกี่ยวกับใช้บริการไว้อย่างเช่นเจน เช่น นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรับประกัน การเปลี่ยนและคืนสินค้า เป็นต้น











RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน