‘แบรนด์ X แบรนด์’ ทำธุรกิจคนเดียวมันเหงา จับคู่เสริมแกร่งให้แบรนด์ปัง!




Main Idea

 
  • ทำธุรกิจทุกวันนี้เดินเกมเพียงลำพังคนเดียว อาจกลายเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับหลายธุรกิจไปแล้ว เพราะปัจจัยการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นและอยู่เหนือการคาดเดาได้ หากต้องเดินลำพังไร้เพื่อนข้างกาย SME อาจพลาดพลั้งได้ หรือดำเนินธุรกิจไปได้ช้ากว่า
 
  • Collaboration หรือ การจับคู่ทำธุรกิจร่วมกัน คือ กลยุทธ์ทำธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถเพิ่มเติมเนื้อหาของธุรกิจให้เกิดความน่าสนใจขึ้นได้ อีกทั้งอาจได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ แถมเพื่อนคู่คิดมาช่วยเติมเต็มและสร้างธุรกิจให้แข็งแรงเติบโตไปด้วยกัน


 
 
     เพราะโลกการทำธุรกิจทุกวันนี้ ไม่มีสูตรตายตัวที่แน่นอน รวมถึงไม่มีข้อจำกัดสำหรับการคิดทำอะไรใหม่ๆ หากทำแล้วดี ทำแล้วยอดขายเพิ่มขึ้นได้ ก็ไม่เห็นต้องคิดอะไรให้ยุ่งยาก ซึ่งหนึ่งในวิธีที่หลายธุรกิจต่างนิยมนำมาใช้กัน คือ “Collaboration” หรือการจับคู่ทำธุรกิจร่วมกัน เพื่อสร้างเนื้อหาเรื่องราวใหม่ๆ ให้กับแบรนด์ โดยพันธมิตรที่จับคู่อาจไม่จำเป็นต้องทำอยู่ในธุรกิจสายเดียวกันก็ได้ เพียงแต่หยิบเอกลักษณ์ ชูจุดเด่นของแบรนด์ออกมาร่วมกัน จากกลุ่มลูกค้าเดิม อาจกลายเป็นได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นมา แถมยังไม่ต้องเหนื่อยทำธุรกิจลำพังเพียงคนเดียวด้วย ซึ่งปัจจุบันมีหลายธุรกิจที่หันมาจับมือกันมากมาย แต่จะจับคู่ธุรกิจยังไงให้รุ่ง ทำแล้วส่งผลดีกับธุรกิจร่วมกัน ไปทำความเข้าใจและรู้จักไปพร้อมๆ กัน
 


 
  • Collaboration แล้วดีอย่างไร 

     บางครั้งการทำธุรกิจมานาน อยู่กับกลุ่มลูกค้าเดิมๆ ไม่มีการขยายตัวออกไปไหน จากกลุ่มลูกค้าที่เคยมีอาจทำให้ตลาดแคบลงไปเรื่อยๆ และลดจำนวนลงได้สักวันหนึ่ง แต่หากจะให้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ไปจากเดิม ลูกค้าที่เคยมีหรือเชื่อถือแบรนด์อาจหดหายไปได้ การ Collaboration หรือจับมือกับพันธมิตรธุรกิจร่วมกัน เพื่อสร้างกระแส สร้างเรื่องราวใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นจึงเป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ ข้อดีของการ Collaboration คือ อะไร ไปดูกัน
 

สร้างภาพลักษณ์ใหม่

     การ Collaboration จะช่วยทำให้แบรนด์ได้สร้างภาพลักษณ์ใหม่ โดยที่ไม่ต้องสูญเสียความเป็นตัวเอง โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่อยู่มานาน



 

ได้ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่

     นอกจากช่วยสร้างสีสันใหม่ๆ ให้กับแบรนด์แล้ว การที่ได้จับมือร่วมกับพันธมิตรธุรกิจอื่น ยังช่วยให้แบรนด์สามารถกระจายการรับรู้ เป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานลูกค้าของอีกแบรนด์หนึ่งด้วย เหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนฐานลูกค้าซึ่งกันและกัน
 

ได้เรียนรู้วิธีทำธุรกิจใหม่จากพันธมิตร

     จากฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น การ Collaboration ยังอาจทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการทำธุรกิจใหม่ๆ จากพันธมิตร หรือมุมมองความคิดที่น่าสนใจ เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตนได้ในอนาคตด้วย
 

เกิดนวัตกรรมใหม่ เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

     ประโยชน์การ Collaboration ที่แท้จริงอีกข้อ คือ เป็นทางเลือก และสร้างนวัตกรรมใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นอีกหนทางที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ให้เข้ามาได้
 

ไม่ต้องเหนื่อยเริ่มใหม่ทุกอย่างหมด
     
     ข้อดีอีกข้อของการ Collaboration คือ ได้มีคนช่วยคิด ไปจนถึงร่วมลงทุนลงแรงไปด้วยกัน ไม่ต้องคิดอยู่คนเดียว
 



 
  • อยาก Collaboration ให้รุ่งต้องทำอย่างไร
      จากข้อดีของการ Collaboration แล้ว ลองมาดูกันสิว่า ถ้าหากแบรนด์หรือธุรกิจอยากมีพันธมิตรธุรกิจเข้ามาช่วยร่วมทำงานด้วยกันจริงๆ จะต้องเริ่มอย่างไรบ้าง
 

 ไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจสายเดียวกันเสมอไป

     การ Collaboration นับเป็นการสร้างสีสันใหม่ๆ ให้กับแบรนด์และกลุ่มเดิมของแบรนด์ ฉะนั้นไม่จำเป็นว่าคุณต้องร่วมมือเฉพาะกับแบรนด์ที่ทำธุรกิจสายเดียวกันเท่านั้น การกระโดดข้ามไปจับกับธุรกิจสายอื่น อาจช่วยสร้างความหวือหวา และได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ แบบที่คิดไม่ถึงมาก่อนก็ได้



 

มองหาแบรนด์ที่มีกลุ่มลูกค้าใหม่ ที่ยังไม่เคยมี

     อีกสิ่งที่จะช่วยให้ Collaboration ประสบความสำเร็จได้ดี คือ นอกจากลองหาแบรนด์ที่น่าจะพอจับมือร่วมกันได้แล้ว ลองดูด้วยสิว่ากลุ่มลูกค้าของแบรนด์นั้นๆ ตรงหรือแตกต่างจากกลุ่มลูกค้าที่เรามีหรือเปล่า เพราะหากแตกต่างจะยิ่งช่วยเพิ่มยอดลูกค้าให้ได้มากทีเดียว
 

ทำแล้วต้องส่งผลดีกับแบรนด์ให้เพิ่มขึ้น

     หลักง่ายๆ อีกข้อเลย คือ ก่อนจะจับมือร่วมกับใครให้ลองคิดดูง่ายๆ ก่อนว่าถ้าจับมือร่วมกันแล้ว จะช่วยเพิ่มยอดขาย หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์เราให้ดีเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากดีแล้วก็ตัดสินใจจับมือกันไปโลด
 

มีข้อตกลงที่แน่ชัด

     เมื่อมีความเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าไปด้วยกันได้ดีแน่นอน ให้ลองดูข้อตกลงที่แน่ชัด ทั้งเงื่อนไขระยะเวลาที่จับมือร่วมกัน ไปจนถึงการวางแผนการผลิต – การตลาดร่วมกัน
 

     เห็นไหมล่ะง่ายๆ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเพิ่มฐานลูกค้า ขยายตลาด ไปจนถึงยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้ไม่ยากแล้ว เพราะทำธุรกิจยุคนี้จะมัวติดอยู่กับรูปแบบหรือกรอบเดิมๆ คงไม่ได้ ทำอะไรก็ได้ขอให้ออกมาดี มีประโยชน์กับธุรกิจเท่านี้ก็พอแล้ว เรื่องของวิธีการมาทีหลัง ดูผลลัพธ์ที่ได้เป็นพอ
 
 




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024