​บรรจุภัณฑ์แสนยั่วยวนชวนหยิบ




แปลและเรียบเรียง : เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ

                “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สำนวนไทยโบราณแต่ไม่ล้าสมัยไม่ได้ใช้กับคนเท่านั้น แต่สำนวนนี้ยังใช้ได้กับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอีกด้วย เพราะแม้สินค้าจะมีคุณสมบัติดีเยี่ยมระดับ 5 ดาว แต่กลับถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติกแสนถูกหรือกระดาษแสนห่วยที่เจื่อนสนิทไร้การแต่งแต้มสีสัน สินค้านี้คงอยู่ยงคงกระพันบนชั้นวางไม่มีใครอยากหยิบใส่ลงตะกร้าเป็นแน่ เพราะเหตุนี้นอกจากสินค้าจะดีแล้วบรรจุภัณฑ์จะต้องเด่นยั่วตายั่วใจด้วย

     กฎเกณฑ์การเนรมิตสินค้าให้ดูดีมีราคานั้นคำนึงถึงเรื่องแรกคือ Function หรือประโยชน์ใช้สอยซึ่งหน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์นั้นเหมือนองครักษ์พิทักษ์สินค้ามีหน้าที่สำคัญในการหุ้มรักษาสินค้าให้อยู่รอดและปลอดภัย ไม่บูดเบี้ยว ไม่เสีย ก่อนเวลาอันควร หากคิดให้เหนือชั้นเข้าไปอีกบรรจุภัณฑ์ควรมีน้ำหนักเบาเหมือนปุยนุ่นจะได้ลดต้นทุนการขนส่ง รูปลักษณ์ภายนอกควรจัดเรียงง่าย ซ้อนกันได้หลายชั้นและสะดวกต่อการขนส่งครั้งละมากๆ
 

     Function มีคู่แฝดคนละฝาชื่อว่า Form ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างจาก Function คนละขั้ว Form จะพูดเรื่องการตอบสนองทางอารมณ์ล้วนๆ ไม่มีเรื่องการใช้งานปะปน ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์รูปทรงแบบไหนให้ผู้หญิงหลงไหลอยากซื้อ ออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบไหนให้ผู้ชายรู้สึกมีพลัง การออกแบบสิ่งห่อหุ้มเพื่อดึงดูดใจลูกค้าเป็นการใช้หลักจิตวิทยาผสมลงในศาสตร์การออกแบบ

    หากสำรวจบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ออกแบบได้ยอดเยี่ยมตามท้องตลาด บรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้นต่างตอบโจทก์ความต้องการของผู้ผลิตทั้งด้าน Function และ Form อย่างครบถ้วน หากใครคิดจะออกแบบผลิตภัณฑ์ลองพินิจพิเคราะห์สักนิดว่าบรรจุภัณฑ์ของคุณเติมเต็มทั้ง 2 ด้านแล้วหรือยัง

แปลและเรียบเรียงจาก /www.creativeguerrillamarketing.com

Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2