Video on Facebook เครื่องมือกระแสแรงช่วย SMEs โปรโมตธุรกิจ

 

    ธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากเริ่มหันมาผสมผสานพลังและความคิดสร้างสรรค์ในวิดีโอ เพื่อเข้าถึงและดึงดูดลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้าในอนาคตผ่านทาง Facebook ยิ่งปริมาณการใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้กลายเป็นตัวผลักดันให้การเล่าเรื่องผ่านวิดีโอเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึง และเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนได้อย่างเห็นผล

    สังเกตได้จากนักโฆษณาเริ่มหันมาใช้วิดีโอเป็นเครื่องมือ Call-to-action หลัก เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งสำหรับธุรกิจท้องถิ่นแล้ว การสื่อสารด้วยความจริงใจเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในปีนี้เราได้เห็นการเติบโตที่น่าประทับใจในการใช้วิดีโอในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วโลก โดยเฉพาะการโพสต์ผ่านทาง Facebook ที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

    เอาแค่เพียงเดือนกันยายน 2557  ก็มีธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างน้อย 8 แสนราย โพสต์วิดีโอลง Facebook ไปแล้วกว่า 3 ล้านคลิปทั่วโลก โดยกว่าร้อยละ 84 ของการอัพโหลดวิดีโอเกิดขึ้นในพื้นที่นอกสหรัฐอเมริกาประเทศผู้ให้กำเนิด Facebook


    และเมื่อมาเทียบสถิติแบบปีต่อปีโดยมีการสำรวจแบบจำนวนจริงของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบน Facebook กับ จำนวนจริงของการอัพโหลดวิดีโอโดยธุรกิจเอสเอ็มอีบน Facebook จะเห็นได้ว่าจำนวนเอสเอ็มอีที่โพสต์วิดีโอบน Facebook เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และจำนวนอัพโหลดวิดีโอโดยเอสเอ็มอีพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

    ลองมาดูตัวอย่างวิดีโอที่ได้รับการโพสต์โดยธุรกิจเอสเอ็มอีกัน แบรนด์ Joe Bonamassa ของสหรัฐอเมริกาได้ทำแคมเปญการตลาดด้วยการใช้วิดีโอ ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม ถึง 16 กันยายน จุดประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ในวงกว้าง และได้แจกลิ้งค์สำหรับดาวน์โหลดเพลงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (มีการใช้ conversion pixel หรือเครื่องมือวัดการเปลี่ยนแพลตฟอร์มร่วมด้วย)   ผลลัพธ์คือมีผู้ลงชื่อที่อยู่อีเมล์เพื่อรับเพลงฟรีมากถึง 11,249 คน โดยคลิปวิดีโอได้รับการแชร์ 73,739 ครั้ง และมียอดรับชม 533,014 ครั้ง

    สำหรับประเทศอื่นๆ อย่าง Replay แบรนด์แฟชั่นของอิตาลี ได้ทำการตลาดให้กับกางเกงยีนส์ Hyperflex อย่างสร้างสรรค์โดยแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของยีนส์ผ่านการทดสอบโดยสวมใส่ในกิจกรรมกีฬาต่างๆ คือ  Soccer example ที่เพิ่มยอดรับชมวิดีโอได้ถึง 22,900 ครั้ง และ Twerking example ซึ่งเพิ่มยอดรับชมวิดีโอได้ถึง 89,833 ครั้ง
 

    ส่วน Dine30 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างกรมสุขภาพของนอร์เวย์และเหล่าเซเลบริตี้ เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนหันมาออกกำลังกายมากขึ้น ผ่านการใช้อารมณ์ขันในวิดีโอ ซึ่งส่งเสริมให้ประชาชนขยับร่างกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที วิดีโอดังกล่าวแสดงให้เห็นภาพผู้คนขยับร่างกายในสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งปกติแล้วไม่นับว่าเป็นการออกกำลังกาย วิดีโอดังกล่าวมียอดการรับชม 43,420 ครั้ง และได้รับการแชร์ 1,012 ครั้ง

    จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ชัดเจนว่าเรื่องของการใช้วิดีโอในเชิงธุรกิจกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็เริ่มเห็นกันมากขึ้นโดยเฉพาะในลักษณะของ Viral Clip ที่มีออกมาให้เป็นกระแสพูดถึงกันอย่างต่อเนื่อง บ้างส่งผลดี บ้างส่งผลเสีย แต่จะแง่ลบหรือบวก ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องของการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024