SME กับโลกออนไลน์ อะไรเป็นสิ่งสำคัญ!?

 


    เฟดเอ็กซ์  เอ็กซ์เพรส เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกในธุรกิจข้ามพรมแดนอีคอมเมิร์ซ ดำเนินการวิจัยโดยบริษัทวิจัยอิสระ Forrester Consulting การศึกษาที่รับมอบหมายจากเฟดเอ็กซ์ เผยให้เห็นถึงความลังเลใจที่สำคัญในหมู่นักช้อปออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ที่ซื้อสินค้าโดยตรงจากเว็บไซต์ของร้านค้าปลีกออนไลน์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)

   ผู้ตอบแบบสอบถาม 57 % จัดอันดับธุรกิจประเภท SMEs ให้เป็นธุรกิจที่พวกเขาชอบน้อยที่สุดสำหรับการช้อปปิ้งข้ามพรมแดน จัดอันดับไว้ต่ำกว่าตลาดออนไลน์ที่ขายสินค้าหลากหลายยี่ห้อ เว็บไซต์ของแบรนด์หรือเว็บไซต์ของผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกที่มีหน้าร้าน
 
    ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการซื้อสินค้าโดยตรงจากร้านค้าปลีกออนไลน์ของ SME ปรากฏว่า 46% เกิดความลังเลจากความยุ่งยากในการตรวจสอบชื่อเสียงของผู้ขายหรือความน่าเชื่อถือเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกเพียง 21% ที่อาศัยการซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้ 
 
    การวิจัยแล้วเสร็จในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2014 ทำการสำรวจผู้ซื้อออนไลน์ทั่วโลกจำนวน 9006 คนใน 17 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
 
 
 
    "ในบางประเด็นการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขาดความไว้วางใจเมื่อซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ของร้านค้าปลีกออนไลน์ SME จากตลาดภายนอกประเทศ"

   "พวกเขาสับสนมากกว่าคู่ร่วมธุรกิจของพวกเขาในภูมิภาคอื่น ๆ เกี่ยวกับการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกที่พวกเขาอาจจะไม่คุ้นเคย หรือผู้ค้าปลีกที่อยู่ในตลาดที่ห่างไกลออกไป  อย่างไรก็ตาม การศึกษายังเผยให้เห็นโอกาสอีกมากสำหรับ SME ในพื้นที่ค้าปลีกออนไลน์และแสดงให้เห็นวิธีการที่พวกเขาเอาชนะความไว้วางใจที่เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักช้อปออนไลน์ในภูมิภาคนี้" ดร.คาเรน เรดดิงตัน ประธานบริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าว

    การศึกษาแสดงให้เห็นว่าข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์ร้านค้าปลีกออนไลน์ของ SME ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความอยากของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สำหรับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ในความเป็นจริงผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้จ่ายเฉลี่ยเกือบปีละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯในการซื้อสินค้าดังกล่าว เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี* ผู้บริโภคในตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจริงๆ แม้จะใช้จ่ายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ตอบแบบสอบถาม 26% จากจีนแผ่นดินใหญ่รายงานว่าใช้จ่ายเงินมากกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี 
 
    ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นตลาดที่เกิดขึ้นใหม่ในการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนในปัจจุบัน คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซจะแตะหนึ่งล้านล้านบาทในปี ค.ศ. 2016 จากมูลค่าปัจจุบัน 7.44 แสนล้านบาท1โอกาสในการเติบโตของ SME ไทยมีนัยสำคัญ




 
    เดฟ คาร์เด็น กรรมการผู้จัดการ บริษัทเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรสประเทศไทยและอินโดจีน กล่าวว่า "เมื่อเทียบกับตลาดที่อิ่มตัวมากในเอเชีย ภาคอีคอมเมิร์ซของไทยยังคงพัฒนาได้อีก อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าในอนาคตจะสดใสเมื่อรัฐบาลและผู้นำทางธุรกิจร่วมมือกันเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและเพิ่มการเข้าถึงตลาดและเร่งการเจริญเติบโตของอีคอมเมิร์ซ"
 
    "เราตื่นเต้นแทนคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อาทิ แฟชั่น เครื่องประดับ อุตสาหกรรมด้านงานศิลปะและงานฝีมือ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงโอกาสและการสนับสนุนมากขึ้นในการที่จะขายผลิตภัณฑ์ของตนในต่างประเทศ เช่น การนำตลาดนัดสวนจตุจักรสู่สายตาผู้บริโภคทั่วเอเชียและทั่วโลก"
 
    จากการวิเคราะห์อย่างละเอียด แนวโน้มพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์เมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ การศึกษาได้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ 5 ประการ* สำหรับร้านค้าปลีกออนไลน์ SME ดังต่อไปนี้
 
1.      ผู้ประกอบการ SME จะต้องใส่ใจกับการจราจรในเว็บระหว่างประเทศและธุรกิจจำนวนมาก พ่อค้าที่ทำการสำรวจพบว่าพวกเขาได้เริ่มต้นธุรกิจระหว่างประเทศโดยไม่ได้ตั้งใจผ่านลูกค้าต่างประเทศผ่านการค้นหาสินค้าในเว็บและการโฆษณาออนไลน์ การตรวจสอบการจราจรในเว็บนี้ช่วยให้ทราบกลยุทธ์ทางธุรกิจของ SME ในอนาคต

2.      ผู้ประกอบการ SME ควรค้นหาวิธีที่พ่อค้ารายอื่นทำการตลาดสินค้าจนประสบผลสำเร็จ สำรวจว่าอะไรทำให้เว็บไซต์ SME อื่นๆ ประสบความสำเร็จรวมถึงดูข้อเสนอทางโลจิสติกส์และกระบวนการซื้อขายที่ได้ผล

3.      ผู้ประกอบการ SME ควรตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจในวงกว้างหรือวงแคบ พยายามที่จะตอบสนองต่อตลาดจำนวนมากหรือมุ่งเน้นไปที่ตลาดที่สำคัญเพียงไม่กี่แห่ง กำหนดโอกาสโดยการขายสินค้าที่เป็นที่สนใจในวงกว้างและการพิจารณาโลจิสติกส์ที่ให้บริการตลาดบางส่วนที่ง่ายกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ผู้ประกอบการ SME ที่ตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นไปที่ตลาดหลักจำนวนน้อยอาจตัดสินใจที่จะลงทุนในการให้บริการมากขึ้น เช่น การแปลเว็บไซต์เป็นภาษาต่างๆ การโฆษณาเว็บและการนำเสนอวิธีการชำระเงินที่กว้างขึ้น

4.      ผู้ประกอบการ SME ควรเน้นพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่จำกัดในช่วงแรก ซึ่งช่วยให้พวกเขา 'ทดสอบตลาด' ที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ละประเทศจะมีความต้องการและความซับซ้อนเฉพาะตัว ความสามารถในการตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าในตลาดเริ่มต้นทำธุรกิจที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในขณะที่ SME ขยายการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ 

5.      ผู้ประกอบการ SME ควรระบุทรัพยากรที่ถูกต้อง กลยุทธ์ระหว่างประเทศและประเภทของธุรกิจจะเป็นตัวกำหนดสิ่งที่บริษัทต้องการจากทรัพยากรการขายและโลจิสติกส์โดยเน้นเป็นพิเศษในการให้บริการและข้อเสนอที่จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าในตลาดเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีบริการรับคืนสินค้าให้กับลูกค้าต้องการผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่สามารถจัดการกับการคืนสินค้าจากต่างประเทศได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
 
    ดร เรดดิงตัน กล่าวว่า "การเข้าถึงตลาดต่างประเทศจะไม่สงวนเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่อีกต่อไป มีธุรกิจ SME จำนวนเพิ่มมากขึ้นทำการขายในต่างประเทศและการส่งเสริมอีคอมเมิร์ซเป็นวิธีที่จะสนับสนุนผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นแรงผลักดันของเศรษฐกิจมากมายในภูมิภาคนี้” ข้อมูลการวิจัยจะช่วยให้ผู้ให้บริการ เช่น เฟดเอ๊กซ์จะออกแบบการให้บริการของตนเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นกับสิ่งที่ลูกค้า SME ของเราต้องการ นอกจากนี้รัฐบาลประเทศต่างๆ ยังมีบทบาทในการสร้างความมั่นใจในการสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับอีคอมเมิร์ซให้เจริญเติบโต ในท้ายที่สุดจะยังประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการ SME ผู้บริโภคและเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย"

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024