​เทรนด์ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินแลกคอนเทนท์




เรื่อง นเรศ เหล่าพรรณราย

    แม้ว่าในโลกดิจิตอล ค่านิยมส่วนใหญ่ของผู้บริโภคจะนิยมคอนเทนท์ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบันเริ่มเห็นแนวโน้มของผู้บริโภคที่นิยมเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครสมาชิกรายเดือนเพื่อที่จะได้สิทธิพิเศษต่างๆมากขึ้น นี่เป็นโอกาสของผู้พัฒนาคอนเทนท์ที่จะสร้างรายได้ทางอื่นนอกเหนือไปจากรายได้ค่าโฆษณาเพียงอย่างเดียว

    ทั้งนี้มีการสำรวจว่าผู้ให้บริการแอพลิเคชั่นหลายรายเริ่มมีสัดส่วนรายได้จากค่าสมาชิกรายเดือนเทียบกับรายได้รวมในสัดส่วนที่สูงขึ้น เช่น  เช่น Spotify สัดส่วนถึง 25%, WhatsApp 21%, Pandora 5%, Match Group 5%,The New York Times 3% และ LinkedIn 2% 

    ตัวอย่างของผู้ให้บริการคอนเทนท์ที่ประสบความสำเร็จในด้านการหารายได้ค่าสมาชิกคือหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ที่ดิ้นรนในการหารายได้จากการขายข่าวบนระบบออนไลน์ควบคู่ไปกับการจำหน่ายหนังสือพิมพ์จนกระทั่งรายได้จากดิจิตอลคอนเทนท์มีสัดส่วนที่สูงกว่ายอดขายสิ่งพิมพ์ในที่สุด

    ผลการวิจัยโดยเวบไซท์ Business Intelligence ระบุว่าพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการเสพคอนเทนท์ที่มีความเป็นพรีเมี่ยมหรือมีความพิเศษมากกว่าคอนเทนท์ฟรีมากขึ้นหากสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้มากกว่า แต่มีข้อแม้ว่าคอนเทนท์นั้นๆจะต้องมีความสม่ำเสมอ คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายเพิ่ม โดยปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุนคือเทคโนโลยีในการชำระเงินอีเล็กทรอนิคส์ที่มีความปลอดภัยและสะดวกมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในการสมัครสมาชิก

    ทั้งนี้คอนเทนท์ที่มียอดการสมัครสมาชิกรายเดือนเพื่อใช้บริการมากที่สุดประกอบด้วย คลิปวีดีโอ เพลง ข่าว โซเชียลเนตเวิร์ค บริการแชทและบริการจัดหาคู่ออนไลน์

    สำนักวิจัยด้านไอทีอย่าง Gartner ยังระบุด้วยว่าการเข้าถึงอินเทอร์เนตที่ง่ายขึ้นและการที่อินเทอร์เนตเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น ทำให้ประชากรพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อที่จะใช้บริการทางออนไลน์ ต่างจากในอดีตที่อินเทอร์เนตเป็นเพียงแค่สื่อทางเลือกทำให้การตัดสินใจเสียเงินเพื่อใช้บริการออนไลน์เป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจพอสมควร

    อีกปัจจัยที่ผลักดันให้ผู้คนยอมที่จะเสียเงินกับบริการต่างๆบนแอพลิเคชั่นหรือเวบไซท์นั่นคือความง่ายในการชำระเงิน ตัวอย่างสำคัญคือบริษัทแอปเปิลที่พัฒนา Apple ID ขึ้นเพื่อรองรับการสั่งซื้อแอพลิเคชั่นหรือคอนเทนท์ต่างๆ เพียงแค่กดปุ่มเดียวเท่านั้นและยังมีระบบชำระเงินรายเดือนอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกอยากที่จะใช้บริการมากขึ้น

    นอกเหนือจากรูปแบบรายได้จากค่าสมาชิกประจำแล้ว รูปแบบการจัดเก็บรายได้แบบฟรีก่อนจ่ายทีหลังหรือ Freemium Model  ยังคงได้ผลควบคู่ไปกับรายได้จากค่าโฆษณา โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือลูค้าต้องการทดลองใช้บริการก่อนที่จะเสียเงินเพื่อรับบริการที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

    สำหรับผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นขายสินค้าและบริการทางระบบออนไลน์สามารถพัฒนาคอนเทนท์เพื่อรองรับกระแสดังกล่าวได้เพื่อเป็นการต่อยอดทางธุรกิจรวมถึงลดความเสี่ยงจากการที่พึ่งพารายได้จากค่าโฆษณาเป็นหลักซึ่งไม่มีความแน่นอนและผันแปรตามเศรษฐกิจ ถ้าหากสามารถพัฒนาคอนเทนท์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้และเลือกที่จะสมัครเป็นสมาชิกต่อเนื่องจะช่วยให้ธุรกิจมีความมั่นคงในระยะยาวและมีกระแสเงินสดเพียงพอต่อการนำไปลงทุนพัฒนาธุรกิจ

Create by smethailandclub.com


RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน