A-la-carte การตลาดที่ลูกค้าสั่งได้ ทางออกธุรกิจยุครัดเข็มขัด บทเรียนจากสายการบินสู่โรงแรม

              

         ปกติแล้วพอเราจ่ายเงินค่าห้องพักในโรงแรมไป นั่นหมายความว่าเราสามารถใช้บริการได้ทั้งสระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และส่วนใหญ่ก็รวมอาหารเช้าเข้าไปด้วย แต่ MCR Hotels กำลังจะเปิดตัวรูปแบบการกำหนดราคาแบบตามสั่ง หรือ A-la-carte แยกจ่ายสำหรับทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาหารเช้า สระว่ายน้ำ ฟิตเนส แม้กระทั่งการเช็กอินก่อนเวลา และเช็กเอาท์หลังเวลาที่กำหนด
               

        MCR เป็นเชนโรงแรมที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา แต่กำลังจะใช้รูปแบบการกำหนดราคาแบบเดียวกับสายการบิน ซึ่งโมเดลนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก การเรียกเก็บเงินจากลูกค้าสำหรับบริการต่างๆ นอกเหนือจากบริการหลัก เช่น การซื้ออาหารบนเครื่องบิน ความบันเทิงบนเครื่องบิน สัมภาระและที่นั่งพิเศษ ตามข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาสายการบิน deaWorks และแพลตฟอร์มเทคโนโลยี CarTrawler พบว่า วิธีนี้ทำให้สายการบินทั่วโลกมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 109.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 ซึ่งเป็นตัวเลขก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19
               




       ผู้เข้าพักต้องจ่ายเงิน 20 เหรียญสหรัฐสำหรับการเช็กอินก่อนเวลา หรือเช็กเอาท์ล่วงเวลา พวกเขาต้องจ่าย 25 เหรียญต่อวันเพื่อใช้สระว่ายน้ำในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่ยังสามารถใช้ฟรีในระหว่างสัปดาห์ได้อยู่ โดยจะเริ่มโมเดลนี้ที่โรงแรม The TWA Hotel ในสนามบิน JFK ก่อน
               

        คาดว่าวิธีนี้จะสามารถดึงดูดใจเหล่านักเดินทางได้ MCR กล่าวว่าการคิดค่าบริการสิ่งอำนวยความสะดวกแยกต่างหากทำให้สามารถเสนอราคาห้องพักที่ถูกลง น่าจะถูกใจนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องการใช้บริการอื่นๆ
Tyler Morse ซีอีโอของ MCR Hotels บอกกับ The Journal ว่าไม่ใช่แขกทุกคนที่ต้องการทุกบริการ และพวกเขาก็ไม่ได้ต้องการจ่ายเงินสำหรับสิ่งที่ไม่ได้ใช้





         นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในอุตสาหกรรมโรงแรม เพราะมีโรงแรมหลายแห่งที่เรียกเก็บเงินจากลูกค้าหากต้องการบริการเพิ่มเติมอย่าง Wi-Fi หรือเรียกเก็บเงินลูกค้าที่ต้องการให้ทำความสะอาดห้องทุกวัน เป็นต้น


        นอกจากนี้ Kerry Ranson ซีอีโอของ HP Hotels เปิดเผยว่าโรงแรมต่างๆ ใช้จ่ายมากขึ้นในมาตรการฆ่าเชื้อในช่วงการระบาดเพื่อลดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด วิธีเดียวที่จะชดเชยต้นทุนเหล่านั้นอาจจะเป็นโมเดลการเรียกเก็บเงินจากแขกนี่ล่ะ ซึ่งเชื่อว่าวิธีนี้ก็จะ win-win ตอบโจทย์ทั้งฝั่งผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่อยากเที่ยวแบบประหยัดเงินลงสักหน่อย
 
 
 
       ที่มา : www.businessinsider.com, fortune.com, openjaw.com
 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024