ขายแบบไหนถึงได้เงิน! รู้ให้ทัน 9 พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปหลังโควิด

 

     หากยังจำกันได้ช่วง 3 – 4 ปีก่อนหน้านี้ ในแวดวงธุรกิจเรามีการพูดถึง “Digital Disruption” กันค่อนข้างเยอะมาก แต่ก็ยังนึกภาพไม่ค่อยออกว่าจะออกมาในรูปแบบใด แต่หลังจากโควิด-19 เข้ามา ทุกอย่างก็ชัดเจนขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว ผู้บริโภค ธุรกิจ องค์กรต่างๆ หันมาพึ่งพาดิจิทัลกันมากขึ้น ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการทำงาน การติดต่อสื่อสาร ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็เช่นการทำงานอยู่บ้าน หรือ Work From Home จนถึงปัจจุบันนี้ หลายบริษัทก็เริ่มนำมาปรับใช้เป็นแนวทางใหม่ขององค์กรไปแล้ว

     ยังมีอีกหลายอย่างที่โควิด-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตเรา สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการธุรกิจต้องคิดต่อจากนี้ คือ เมื่อผ่านพ้นจากเหตุการณ์นี้ไปแล้ว พฤติกรรมใดของผู้บริโภคที่จะยังคงอยู่ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจได้ ลองมาฟัง ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ​ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท YDM Thailand ​สรุปให้ฟังจากงานสัมมนา 10 Ways To Improve In Covid World ตอน : “ทันเทรนด์ Consumer ผู้กุมชะตาธุรกิจปี 2022”​

9 พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังโควิด-19

1. Digital is a Half of Life

ดิจิทัล คือ ครึ่งหนึ่งของชีวิต

  • 4 - 5 ปีก่อน คนไทยใช้เวลาอยู่บนโทรทัศน์ 2 ชม.ต่อวัน บนอินเทอร์เน็ต 4 ชม.ต่อวัน
  • แต่ปัจจุบันคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 11 ชม. 25 นาที เกือบเท่าครึ่งหนึ่งของชีวิตประจำวัน สูงติดอันดับโลกโดยแบ่งเป็

Facebook อันดับ 8 ของโลก

Youtube อันดับ 18 ของโลก

IG อันดับ 16 ของโลก

Twitter อันดับ 10 ของโลก

Facebook Messenger อันดับ 6 ของโลก

  • 3 พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด
  • 1 ใน 3 คนไทยทำธุรกรรมออนไลน์เป็นเรื่องปกติ
  • คนไทย 2 เปอร์เซ็นต์ เล่นเกมทุกวัน และ 83.9 เปอร์เซ็นต์ เล่นเกมทุกสัปดาห์
  • 2 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยใช้วิดีโอคอล และเริ่มหาหมอทางออนไลน์ 15.1 เปอร์เซ็นต์

 

2. Shopping Therapy

เมื่อการช้อปปิ้ง = การบำบัดความเครียด

  • คนช้อปปิ้งตามอารมณ์มากขึ้น ไม่ใช่เพื่อการซื้อของที่จำเป็นอีกต่อไป เพราะความเครียดไม่ได้ออกไปไหน
  • มูลค่าตลาดรวม E-Commerce ปี 2563 = 3,782,174.26 ล้านบาท ปี 2564 = 4,013,399.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 11 เปอร์เซ็นต์ แม้บางเซคชั่นจะลดลง
  • ปี 2563 มูลค่า E-Commerce ของอุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง เติบโตอย่างต่อเนื่อง จาก 1,319,825.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,434,663.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์

     ขณะที่มูลค่า E-Commerce ของอุตสาหกรรมที่พักลดลงกว่าครึ่ง จาก 1,010,742.69 ล้านบาท เหลือเพียง 463,784.88 ล้านบาท ลดลงกว่า 54.1 เปอร์เซ็นต์

  • เกิดเทรนด์ “Entertainment Shopping” หรือช้อปปิ้งเพื่อบำบัดความเครียด ส่งผล Live Commerce เติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น พิมรี่พาย เป็นต้น
  • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ E-Commerce เติบโต คือ Data และ เทคโนโลยี เก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้แต่ละคน และนำเสนอสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะสนใจ

 

3. Cashless Society

ไม่มีเงินสดไม่เป็นไร ขอให้มีมือถือเป็นพอ

  • การสนับสนุนนโยบายความช่วยเหลือจากภาครัฐ และลดการใช้เงินสด อาทิ โครงการคนละครึ่ง และการสแกน QR Code เช็คอินตามสถานที่ต่างๆ 2 ปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านค้าและผู้บริโภคคุ้นชินกับการทำธุรกรรมผ่านออนไลน์มากขึ้น
  • ร้านหาบเร่แผงลอยมีการสแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นแทนการรับเพียงแค่เงินสดมากขึ้น
  • ปัจจุบันไทยมีร้านติดตั้งเครื่องรูดบัตร = 9 แสนราย มีร้านที่รับชำระผ่าน QR Code = 7.2 ล้านราย รวมแล้ว คือ มีร้านกว่า 1 ล้านรายที่สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้

 

4. Cleavage of Thinking

สงครามแตกแยกทางความคิด

  • ทุกวัยกระโดดลงมาอยู่บนโซเชียลมากขึ้น ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่าง ผู้ประกอบการต้องศึกษาพฤติกรรม ความชอบ ลักษณะโดดเด่นในวัยกลุ่มเป้าหมายของตนให้ดี
  • เข้าใจความต่าง 4 เจเนอเรชั่น
  • Gen B (เกิด 2489 - 2507) เป็นคนจริงจัง เคร่งครัดเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นเจ้าคนนายคน ทุ่มเทชีวิตให้การทำงาน มีความอดทนสูง ประหยัดอดออม
  • Gen X (เกิด 2508 - 2522) ชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการ มีแนวคิดสร้างสมดุลในเรื่องงานและรบอครัว คือ ทำงานตามหน้าที่ ไม่บ้างาน ไม่ทุ่มเท ทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร เป็นตัวของตัวเองสูง
  • Gen Y (เกิด 2523 - 2540) ต้องการความชัดเจนในการทำงาน คาดหวังที่จะมีเงินเดือนสูงๆ คาดหวังคำชม แต่ไม่ทดทนต่องานที่ทำ ชอบเปลี่ยนงานอยู่บ่อยๆ
  • Gen Z (เกิดหลัง 2540) เปิดกว้างทางความคิด วัฒนธรรมที่แตกต่าง ยอมรับความแตกต่าง ไม่แบ่งแยก แต่มีแนวโน้มเป็นมนุษย์หลายงาน เพราะอดทนต่ำ ต้องการคำอธิบายมากขึ้น ต้องมีเหตุผล ต้องรู้สึกว่าได้เข้าใจกับทุกเรื่องในชีวิต
  • การเสพข้อมูลที่เยอะเกินไป ไม่ได้ทำให้เราเลือกได้ถูกต้องมากขึ้น แต่จะทำให้เราเลือกไม่ถูก จนเกิดพฤติกรรมเลือกเสพเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ

 

5. No Loyalty Anymore

ถ้าเธอไม่ดีพอ ฉันพร้อมเปลี่ยนใจ

  • ตัวเลือกบนออนไลน์ที่เยอะขึ้น ส่งผลต่อความภักดีต่อแบรนด์ลดน้อยลง
  • มีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เชื่อว่าโฆษณานั้นพูดความจริง
  • ความเชื่อถือในการโฆษณาของแบรนด์ลดลงเหลือเพียง 24 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาเพียง 2 ปีที่โควิด-19 ระบาด
  • ความเชื่อมั่นในแบรนด์ลดลง จาก 52 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

6. The Hybrid working

การทำงานผสมผสานทั้งออนไลน์-ออฟไลน์

  • กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ พนักงานส่วนใหญ่ต้องการทำงานแบบไฮบริด ผสมผสานระหว่างออนไลน์ (ที่บ้าน) และออฟไลน์ (ออฟฟิศ)
  • แต่ละ Gen มีความต้องการทำงานแบบไฮบริดยังไงบ้าง?

Baby Boomers 66.7 เปอร์เซ็นต์

Gen X 63.2 เปอร์เซ็นต์

Millennials 79.9 เปอร์เซ็นต์

Gen Z 62.2 เปอร์เซ็นต์

**เหตุที่ Gen Z เปอร์เซ็นต์น้อยกว่าเพื่อนทั้งที่เป็นคนรุ่นใหม่ เนื่องจากเพราะจริงๆ แล้ว Gen Z ชอบการปฏิสัมพันธ์ค่อนข้างมาก เช่น ไปคาเฟ่ ถ่ายรูป

7. When home is everything

บ้านที่มากกว่าบ้าน เพราะบ้าน คือ ทุกสิ่ง

  • ผลพลวงจากการอยู่บ้านยาวนาน ทำให้บ้านมีฟังก์ชั่นการใช้งานมากกว่าบ้าน
  • สินค้าตกแต่งบ้านและกิจกรรมต่างๆ ในบ้านขายดีขึ้น เช่น ต้นไม้, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องเล่นฟิตเนส, เครื่องครัว, โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์
  • Gadget ขายดีขึ้น เช่น กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มือถือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทำงานขายดีขึ้น เพราะต้องทำงานอยู่บ้าน
  • คอนเทนต์เกี่ยวกับการจัดบ้าน จัดพื้นที่ทำงานได้รับความสนใจมากขึ้น

 

8. Travelling in all I Need

เมื่อคนรอคอย อยากไปเที่ยวเต็มเหนี่ยว

  • หลังสถานการณ์โควิด-19 ยุติลง ช่วงแรกคนน่าจะกลับมาท่องเที่ยวเยอะขึ้น และแรงมากกว่าเดิมเทียบเท่าระดับไฮซีซัน หลังจากนั้นจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
  • การท่องเที่ยวที่ดีขึ้นกว่าเดิม คือ ท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน แต่การอบรมสัมมนาอาจไม่กลับมาเหมือนเดิม เนื่องจากคนทำงานส่วนใหญ่ชินกับการใช้การสื่อสารผ่านออนไลน์ ผ่าน Video Conference กันมากขึ้น
  • เริ่มต้นได้ลูกค้าจากนักท่องเที่ยวในประเทศก่อน
  • กลุ่มมิลเลนเนียลมีโอกาสจะกลับมาเดินทางก่อนเป็นกลุ่มแรก
  • การจองห้องพักผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จะเยอะขึ้น

 

9. No Money, Need Promo

เงินทองนั้นหายาก กำลังซื้อตกต่ำลง

  • ผู้บริโภคระดับกลาง หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจะให้ความสนใจกับราคาและโปรโมชั่นมากขึ้น
  • แต่หากเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังการซื้อดีอยู่ สินค้าแบรนด์เนมกลับขายดีขึ้น เนื่องจากคนเก็บกดมานาน ไม่ได้ช้อปปิ้ง
  • สินค้าจำเป็นจะซื้อด้วยเหตุผลเยอะขึ้น แต่ของไม่จำเป็นจะซื้อตามอารมณ์ ผู้ประกอบการควรเช็คให้ดีว่าสินค้าของตนนั้นเป็นประเภทไหน เพื่อหากลยุทธ์มัดใจผู้บริโภค

 

    ขอเชิญผู้ประกอบการ SME ร่วม “สัมมนา ยกระดับ-ปรับกลยุทธ์-ฟื้นฟูธุรกิจ 10 Ways to improve your business“ กับ 10 กูรูมืออาชีพชั้นนำ โดยกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อมรบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!!! ผ่านระบบ Zoom Meeting

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/10waystoimproveyourbusiness/

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08-4555-0802

 

www.smethailandlcub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024