รู้จัก Gamification กลยุทธ์ทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้ถึง 700% วิธีที่ SME นำไปปรับใช้ให้เกิดผลทางธุรกิจ

 

 

      เคยสงสัยไหมว่าทำไมเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่หลายๆ คนติดการเล่นเกม เพราะในเกมต้องไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงจะประสบความสำเร็จ ภานุวัฒน์ สัจจะวิริยะกุล Co-Founder of Nudge Thailand เผยว่า Nudge องค์กรที่ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมและพฤติกรรมศาสตร์ ให้แก่คนไทย กล่าวว่า Gamification คือ การนำเอาบางส่วนของเกมมาใช้ โดยจะใช้เทคโนโลยีทางจิตวิทยาจากเกมเพื่อมาสร้างแรงจูงใจให้คนรู้สึกเต็มใจ “ทำพฤติกรรม” บางอย่างจนเป็นนิสัยมาปรับใช้ในธุรกิจคือ อยากให้เกิดการทำซ้ำ Gamification สร้างขึ้นมาเพื่อให้คนติดหรือสนุกกับมัน จนวางไม่ลงเหมือนถูกกระตุ้นอะไรบางอย่าง หรือให้ผู้ใช้ได้ใช้งานต่อเนื่อง รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างได้เช่นกัน

      ในความเป็นจริงแล้ว gamification ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเลย บางที่หลายสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันมันก็คือ gamification เช่น บัตรสะสมแต้ม การใช้ points หรือ การสะสมแต้มเพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ อีกองค์ประกอบหนึ่งที่เห็นได้บ่อยๆ คือ “ลีดเดอร์บอร์ด” (leaderboard) ซึ่งก็คือตารางเปรียบเทียบคะแนนผู้เล่นว่าใครนำอยุ่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันนั่นเอง

ทำไมธุรกิจต้องใช้ gamification

      จากงานวิจัยของ Sailer, Hense, Mayr และ Mandl พบว่า gamification ถูกนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในการทำงาน การศึกษา การเก็บข้อมูล การรักษาสุขภาพ การตลาด

      ภานุวัฒน์ อธิบายเพิ่มว่า หลักการการทำ Gamification นั้นจะเน้นทำเพื่อสร้าง Engagement และ Motivation ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรได้ 2 มิติ คือ หนึ่ง ใช้กับลูกค้า เน้นเรื่อง CRM customer relationship management และ marketing บ้าง สอง ใช้กับลูกน้อง เน้นเรื่องการ learning หรือการเทรนพนักงาน

     “ข้อมูลจาก Talent LMS, Neil Patel ได้รวบรวมข้อมูลผลลัพธ์จากการใข้ Gamification เกิดการซื้อซ้ำ Conversion rate 700% การเทรนนิ่งในองค์กรก็ดีขึ้น 97% แม้แต่กับพนักงานที่อายุ 45


ขั้นตอนการเริ่มใช้ Gamification สำหรับ SME

1. เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน (ลูกค้ากลุ่มไหน, ลูกน้องทีมไหน)
2. วางแผนระบบการเล่น (ใช้กลไกไหนในการให้คนเข้ามาเล่น) ลูกค้าบางกลุ่มอาจไม่ชอบสะสมแต้ม เช่นถ้าเป็นสินค้าราคาแพง ยากจะซื้อครบ 10 ชิ้นแถมฟรี 1 อาจไม่เหมาะกับสินค้าราคาแพง
3. สร้างวงจรความสัมพันธ์ (แรงขับอะไรที่ทำให้คนเล่นซ้ำ) เช่น ธุรกิจไดเร็กเซลล์ ที่ตัวแทน อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ความงาม มี tier คนก็อยากได้ status ต้องเข้าใจ phycology behind
4. เลือกตัวชี้วัดความสำเร็จ (เช่น Active users, Engagement, Conversions)

เทคนิคการทำ gamification ให้ได้ผล

      แม้จุดประสงค์ของการนำ gamification เพื่อมาสร้างแรงจูงใจให้คนรู้สึกเต็มใจทำจนเกิดเป็นพฤติกรรม แต่ว่าผลที่ได้อาจต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทคนิคทั้งนี้มีผู้ที่ทดลอง ทำบัตรสะสมแต้มสองใบ ใบที่หนึ่งเป็นบัตรสะสมแต้ม 8 ช่อง กับอีกหนึ่งบัตรที่มีการปั๊มให้ล่วงหน้าก่อน 2 ช่อง แต่เหลือแต้มที่ต้องสะสมอีก 8 ช่อง เท่ากัน

      ปรากฏว่าบัตรที่มีการปั๊มให้ล่วงหน้าก่อน มีการ conversion rate  หรือซื้อซ้ำเยอะขึ้นจาก 19% เป็น 34%

      “ที่ผลออกมาเช่นนี้ เนื่องจากมันมีจิตวิทยาอยู่เบื้องหลัง มนุษย์เราถ้าเริ่มทำอะไรไปแล้วมีแนวโน้มจะทำต่อให้จบ”

     นอกจากนี้ยังมีข้อห้าม เช่น ในการทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อกระตุ้นยอดขาย ในกรณีที่มีพนักงานฝ่ายขายทำยอดขายได้โดดเด่นก็ไม่ควรทำ leader board โชว์ อาจทำให้คนอื่นๆ ท้อ ฉะนั้นต้องระวังและต้องออกแบบให้เหมาะสม

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน