หยุดยอดขายนิ่งให้วิ่งฉิวได้ แค่รู้ 6 วิธีรับมือเรื่องปวดหัวของธุรกิจออนไลน์  

 

     ประเทศไทยได้ก้าวสู่โลกดิจิทัลเต็มตัว เพราะประชากรไทยวัยทำงานมีประมาณ 30-40 ล้านคน ปัจจุบันมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และกิจกรรมที่ตามมาคือ การซื้อของออนไลน์ทำให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซเติบโตอย่างต่อเนื่อง มาดูกันว่า 6 เรื่องความท้าทายของร้านค้า e-commerce มีอะไรบ้าง

     1. สินค้าไม่แตกต่าง

      จากผลการสํารวจพบว่า ร้านค้าออนไลน์ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ประสบปัญหาสินค้าไม่มีความแตกต่างจากคู่แข่งหลาย ๆ ร้านมักขายของเหมือนกัน ซึ่งเป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยด้วยกันคือ ซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์เดียวกันกับร้านอื่น หรือเป็นผู้ประกอบการรายเล็กเกินไป การจ้างโรงงานผลิตสินค้าเฉพาะเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว เกินความสามารถ

แนวทางแก้ไข 

  • ใช้การตลาดสร้างความแตกต่างให้สินค้า อาจจะเป็นการปรับเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้ง หรือวิธีการสื่อสารกับลูกค้า
  • เจาะตลาดใหม่ ๆ สินค้าที่เคยซ้ำหรือใกล้เคียงกับคนอื่นอาจเป็นของใหม่สำหรับตลาดอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้ ทำให้เราสามารถเพิ่มยอดขายได้ แต่ต้องอาศัยการทำการบ้านว่าตลาดนั้นอยู่ที่ไหน และจะหาตลาดนั้นได้อย่างไร
  • คิดและผลิตสินค้าที่ใช่และไม่มีใครเหมือน จากการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงแล้ว หลังจากนั้นก็ปรับผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของ ลูกค้ามากขึ้นสินค้านั้นก็จะแตกต่างจากคู่แข่ง

 

     2. ยิงโฆษณาไปแต่ยอดขายไม่ปัง

     ผู้ค้า 23 % ยังรู้สึกว่าผลลัพธ์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ยอดขายไม่เพิ่มขึ้นตามความคาดหวัง หรือไม่ได้ลูกค้าใหม่มากเท่าที่ควร จึงรู้สึกว่าใช้เงินไปไม่คุ้มค่า

แนวทางแก้ไข

  • ต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ตั้งต้นจากการถามด้วยตัวเองก่อนว่าสินค้าหรือบริการที่จะนำเสนอ ใครเป็นกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งสามารถได้รายละเอียดเท่าไรยิ่งดี เพื่อให้เห็นภาพของกลุ่มลูกค้าชัดขึ้นก็จะยิ่งให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

     3. การบริหารจัดการสต็อก

     ซึ่งเป็น 1 ในค่าใช้จ่ายหลักของการทำธุรกิจออนไลน์ จากการสำรวจพบว่า 37% ของผู้ประกอบการออนไลน์ เคยพบปัญหาการบริหารจัดการสต็อกขาด เกิน หรือไม่ลงตัว ซึ่งถ้าหากเก็บสต็อกไว้ไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดี จนแสดงความคิดเห็นในทางลบกับแบรนด์ ทำให้ส่งผลเสียกับแบรนด์ และอีกปัญหาที่มักเจอก็คือ ร้านค้าออนไลน์ไม่อัพเดตสต็อกบนแพลตฟอร์มออนไลน์แบบเรียลไทม์ รวมทั้งขาดระบบบริหารจัดการที่ดีโดยจดใส่กระดาษ หรือแม้จะใช้เครื่องมือเช่น Excel ทำให้เมื่อลูกค้าสั่งของบนออนไลน์อาจไม่มีส่งให้ลูกค้าก็ได้

แนวทางแก้ไข

  • ปรับปรุงระบบปฏิบัติงานโดยจัดการสต็อกให้เป็นระบบจะมีหลักการที่เรียกว่า Visual Control คือวางสต๊อกให้มองเห็นได้ง่ายใช้ Color Code เข้าช่วย
  • ใช้แอปพลิเคชันเพื่อช่วยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหลายช่องทาง ทำธุรกิจได้ง่ายขึ้นการบริหารสต๊อกก็จะมีความสับสนน้อยลง

 

     4. การบริหารต้นทุนด้านการจัดส่ง

     นอกจากร้านค้าออนไลน์จะต้องลุ้นว่าขายของได้หรือไม่ แล้วยังต้องลุ้นว่าหลังจากลูกค้าสั่งซื้อของแล้วของที่ส่งไปจะถึงมือลูกค้าถูกต้องตรงตามที่ลูกค้าส่งหรือไม่ ทันเวลาหรือเปล่า และของเสียหายไหม

แนวทางแก้ไข

  • ปรับปรุงกระบวนการจัดส่งรวมไปถึงการรับออร์เดอร์ และบรรจุของให้หยิบง่ายและขั้นตอนไม่ซับซ้อนรวมถึงการเช็กความถูกต้องของสินค้า และการบรรจุหีบห่อที่แข็งแรงช่วยให้ของไม่แตกหักเหมาะสมกับสินค้า
  • เลือกบริษัทขนส่งที่ได้มาตรฐานเพื่อลดปัญหาบริการและความไม่พอใจของลูกค้า
  • ใช้บริการขนส่งและแพ็กสินค้า อาจมีต้นทุนที่มากขึ้น แต่หากขายสินค้าที่มีมูลค่าสูงคุ้มค่าต่อการลงทุนเพิ่มในส่วนนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

 

     ความท้าทายสุดท้าย คือ เงินทุนโดยเฉพาะ SME ที่อยากโตเพราะการค้าขายออนไลน์มักมีรายได้ที่ค่อนข้างผันผวน