ปัจจัยลบรุม ส.อ.ท.ชี้ SMEs ขาดสภาพคล่องหนัก

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่าได้สำรวจข้อมูลสมาชิกในต่างจังหวัดของส.อ.ท. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอีล่าสุดพบว่า กำลังประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างหนักโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายพืชเกษตรโดยเฉพาะข้าวเช่น โรงสีร้านขายปุ๋ย ร้านขายอุปกรณ์ทางการเกษตรและเมล็ดพันธุ์พืชเนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าวมานานส่งผลให้เงินในระบบที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้หยุดชะงักการใช้จ่าย และสิ่งที่น่าห่วง คือเมื่อชาวนาไม่ได้เงินจึงหันไปกู้เงินนอกระบบ ที่มีดอกเบี้ยสูงมากขึ้น

การเมืองวุ่นเอกชนเลิกหวังรัฐช่วย SMEs

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์2557 นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ,ส.อ.ท.และ สมาคมธนาคารไทย ในส่วนของ ส.อ.ท.จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กที่ได้รับผลกระทบจาการชุมนุมได้อย่างไรบ้าง

SME Bank เตรียมเสนอคลังขอออกจากแผนฟื้นฟู

เอสเอ็มอีแบงก์จ่อยื่นหนังสือขอคลังออกจากแผนฟื้นฟูในไตรมาสแรก ปี 2557 หลังผลงานเติบโตดี บีไอเอสแข็งแกร่ง พร้อมเดินหน้าแผนดูดเงินทุนใน-นอกประเทศ

SMEs อุตฯรองเท้าเซ็งลูกค้าต่างชาติหันไปซื้อเพื่อนบ้าน

นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย เปิดเผยว่า ปัญหาการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศ ส่งผลกระทบให้ลูกค้าต่างชาติไม่มีความเชื่อมั่นกับสถานการณ์ในประเทศไทย และห่วงว่าจะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามปกติ จึงหันไปสั่งผลิตสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยแทน ทำให้ยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าต่างประเทศลดลงประมาณ 10-20% โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐ และกลุ่มประเทศในยุโรป

SMEs หวั่นการเมืองยืดเยื้อฉุดออเดอร์หาย

นายรุ่งโรจน์ บุนฑารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ.เบสท์ อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องสำอางในกลุ่มเอสเอ็มอี เปิดเผยว่า จากเหตุความวุ่นวายทางการเมือง และการปิดกรุงเทพฯในช่วงที่ผ่านมา บริษัทยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะโรงงานตั้งอยู่นอกกรุงเทพฯ และคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) สินค้าต่างๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็ยังไม่ลดลง แต่หากเหตุการณ์ยืดเยื้อไปอีก 1-2 เดือน ข้างหน้าก็อาจจะมีผลกระทบต่อคำสั่งซื้อของบริษัท เนื่องจากลูกค้าต่างประเทศขาดความเชื่อมั่น และกำลังซื้อ ภายในประเทศก็จะลดลง เพราะผู้บริโภคในประเทศก็ไม่กล้าใช้จ่ายมากนัก

หอการค้าแนะ SMEs ต้องช่วยตัวเองมากขึ้น

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ส่งหนังสือสอบถามไปยังสมาชิกหอการค้าฯ ทั่วประเทศ 4,000-5,000 ราย เกี่ยวกับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมือง เนื่องจากทราบว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) หลายราย เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องและยอดขายสินค้าลดลงต่อเนื่อง ซึ่งหากรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้ว หอการค้าไทยจะเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกมาตรการช่วยเหลือต่อไป

กสอ.ทุ่ม 10 ล้านเปิดโครงการช่วย SMEs ประหยัดพลังงาน

นางอรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) กำลังประสบปัญหารุมเร้าหลายด้าน ทั้งด้านต้นทุนค่าแรงที่ปรับขึ้น ต้นทุนสินค้าเพิ่มมากขึ้น และต้องเตรียมรับมือกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปลายปี 2558 ด้วย ซึ่งทำให้เอสเอ็มอีต้องต่อสู้ทางธุรกิจหนักขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้สามารถอยู่ได้ ทาง กสอ.จึงจัด “โครงการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรม หรือทีอีเอ็ม” ประจำปี 2557 ขึ้น ซึ่งจะใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อให้ที่ปรึกษาเข้าไปช่วยอบรมให้ความรู้และแนะแนวทางการลดใช้พลังงานในโรงงานลงให้ได้อย่างต่ำ 5% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในโรงงาน คาดว่ามีเอสเอ็มอีสนใจร่วมโครงการกว่า 100 ราย เตรียมเปิดรับต้นเดือน ก.พ.2557 ระบุ 3 ปีที่ผ่านมาช่วยผู้ประกอบการลดใช้พลังงานได้ 900 ล้านบาท

ดัชนีบ่งชี้ 3 อุตฯไทยพร้อมรับ AEC แค่ระดับปานกลาง

นางศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า จากการจัดทำดัชนีความพร้อมของบริษัทไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 ของคณะพาณิชยศาสตร์ฯ หรือ อาเซียน รีดดิเนส อินเด็กซ์ โดยเน้น 3 อุตสาหกรรมหลัก คือ ธนาคารพาณิชย์ อุตสาหกรรมอาหาร และโรงพยาบาล พบว่า ทั้ง 3 อุสาหกรรมมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เออีซีในระดับปานกลางเท่านั้น และในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีเพียง 1-2 บริษัท ที่มีการเตรียมความพร้อมอย่างโดดเด่น

เฟดเอ็กซ์แนะเคล็ดลับ SMEs ฝ่าด่านศุลกากร

ณะที่เราก้าวเข้าสู่ปี 2557 บรรดาหน่วยงานหรือองค์กรทางธุรกิจต่างได้วางแผนการดำเนินงานเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย หรือได้เริ่มวางแผนสำหรับศักราชใหม่ไปแล้ว บริษัททั่วโลกรวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ต่างเร่งสร้างความเข้มแข็งเพื่อพร้อมรับการขยายตัวของตลาดทั่วโลก แต่ในเอเชีย แปซิฟิก ธุรกิจเอสเอ็มอีเพียงร้อยละ 12 ที่มุ่งสร้างรายได้เฉพาะในประเทศ และคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4 ภายในสามปี