ครม.ไฟเขียวแรงงานต่างด้าวรอรับเอกสาร 120 วัน

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งบุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 ซึ่งนายจ้างได้ยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว บัญชีรายชื่อและเอกสารต่างๆ ไว้กับกรมการจัดหางานแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษต่อไปอีกเป็นเวลา 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2556 เป็นต้นไป เพื่อดำเนินการให้ได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificateof Identity) จากประเทศต้นทาง และได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกับได้รับอนุญาตทำงานเฉพาะกับนายจ้างเดิมต่อไป โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้

ทีเอ็มบีเปิดบริการช่วย SMEs บริหารเสี่ยงเงินผันผวน

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ กล่าวว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงดูอ่อนแอและเปราะบาง ประกอบกับการที่จีนมีมาตรการป้องกันสภาวะฟองสบู่ภายในประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเกิดการชะลอตัวลง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจไทยที่ดูจะโดดเด่นกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ ทำให้เงินบาทมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจึงได้รับผลกระทบดังกล่าว

รัฐพร้อมยก OTOP ขึ้นสู่ระดับอุตฯ SMEs

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพการตลาดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์และสมาคมผู้ค้าปลีกไทยในการขยายตลาดสู่ช่องทางการค้าปลีก กำหนดแผนการตลาดพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ และส่งเสริมช่องทางการตลาดไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ว่า โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สมาชิกต่างจังหวัดเบื่อศึก ส.อ.ท. หนีตั้งสมาคม SMEs

นายสุทิน พรชัยสุรีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าสมาชิก ส.อ.ท.ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคใต้มีแนวคิดที่จะจัดตั้งสมาคมเอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในต่างจังหวัดประสบปัญหาผลกระทบค่าแรงแพง ค่าเงินบาท และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะช่วงที่ผ่านมา ส.อ.ท. หรือ สภาใหญ่ ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือเนื่องจากเกิดมีปัญหาความขัดแย้งภายใน เบื้องต้นหลายๆ จังหวัดจะรอดูสถานการณ์ใน ส.อ.ท. ประมาณ 2-3 เดือน หากมีการทะเลาะกันอีก อาจจำเป็นต้องตั้งสมาคมเอสเอ็มอีในแต่ละจังหวัด เพราะปัญหาความขัดแย้งทำให้พลังการต่อรองหรือเรียกร้องกับรัฐบาลลดลง เช่น มาตรการเยียวยาเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากค่าจ้าง 300 บาทโดยตรง

คลังเห็นชอบแผนเพิ่มทุนกู้วิกฤตเอสเอ็มอีแบงก์

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ได้เห็นชอบแผนฟื้นฟูธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แก้เกณฑ์คุมรายใหญ่ข่มเหง SMEs คุก 3 ปี ปรับ 6 ล้าน

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ จะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด และยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 เพื่อป้องกันธุรกิจรายใหญ่ผูกขาด จนทำให้ธุรกิจรายเล็กไม่สามารถแข่งขันได้ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะมีธุรกิจจากอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

ส.อ.ท.ชี้ SMEs แบกทุนไม่ไหวไตรมาส 2 ขอขึ้นราคา

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้มีโอกาสที่จะเห็นผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมปรับราคาสินค้าในประเทศขึ้น ตามภาระต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ซึ่งภาระค่าแรงดังกล่าวยังส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้น

ประเมินไตรมาสแรกภาพรวมขึ้นค่าแรงไม่น่าวิตก

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง)กล่าวหลังเป็นประธานประชุมบอร์ดค่าจ้างว่า ที่ประชุมได้พิจาณาสถานการณ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การลงทุนและการจ้างงานระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค.ที่ผ่านมาหลังจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งสถานการณ์ต่างๆโดยรวมภาพไม่น่าวิตก แต่พบว่านายจ้างส่วนใหญ่มีการปรับตัวมากขึ้นโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานจากรายเดือนไปเป็นรายวัน ซึ่งเรื่องนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)ลงไปดูแลเพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียเปรียบ เนื่องจากการเปลี่ยนสภาพการจ้างงานต้องได้รับการยินยอมจากฝ่ายลูกจ้างด้วย ส่วนการเลิกจ้างในช่วงเดือนก.พ.มีเพียง 4,081 คนลดลงจากเดือนม.ค.ที่มี 10,000 คน ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานของเดือน ก.พ.2556 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปี 2555 เป็นร้อยละ 5.03