บยส.วางเป้าค้ำประกันสินเชื่อ SMEs แปดหมื่นล้าน

นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า แผนการดำเนินงานของ บสย. ในปี 2556 ตั้งเป้ามียอดค้ำประกันสินเชื่อของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 8 หมื่นล้านบาท ตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 5

 


นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า แผนการดำเนินงานของ บสย. ในปี 2556 ตั้งเป้ามียอดค้ำประกันสินเชื่อของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 8 หมื่นล้านบาท ตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 5

ทั้งนี้โครงการดัดังกล่าวงมีแผนเงินค้ำประกันรวม 2.4 แสนล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 คาดว่าเป้าหมายยอดค้ำประกันตามโครงการ PGS ระยะที่ 5 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

โดยก่อนหน้านี้ บสย. ได้จัดให้มีการลงนามอย่างเป็นทางการในบันทึกข้อตกลงร่วมกันในโครงการ PGS ระยะที่ 5 ระหว่าง บสย. กับ 17 สถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกร และ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ บสย. อยู่ระหว่างดำเนินการกองทุน Start-up ซึ่งมีวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท สำหรับให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วไม่เกิน 3 ปี โดยมีเงื่อนไขปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท  โดยในปีนี้ บสย. ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินทั้ง 2 โครงการนี้ ไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานของ บสย. ในปี 2555 มียอดการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่ออยู่ที่ 8.2 หมื่นล้านบาท สูงจากเป้าหมายที่วางไว้ที่ 5 หมื่นล้านบาท โดยมีรายได้รวมที่ 3.28 พันล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2.97 พันล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 309 ล้านบาท และมีการค้ำประกันหนี้จัดชั้นด้อยคุณภาพ (NPGs) อยู่ที่ 3.6%

ขณะที่นายชวิศ ชัยกิตติศิลป์ รองประธานกรรมการ บสย. กล่าวยอมรับว่า การดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อในโครงการกองทุนตั้งตัวได้นั้น ถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ขอสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการธุรกิจเพียงพอ

NEWS & TRENDS