หอการค้าชี้ SMEs แบกค่าแรงได้เต็มที่ 7 เดือน

นายวชิระ คูณทวีเทพ อาจารย์ประจำศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการต่อการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท จากกลุ่มตัวอย่าง 600 ตัวอย่าง นอกพื้นที่ 7 จังหวัดนำร่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก และไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พบว่า ในช่วง 3-6 เดือน หลังการปรับค่าจ้างต้นทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8-18.3 การจ้างคนงานลดลงร้อยละ 6.3-8.7 มีการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6-17.9 และปิดกิจการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1-7.8 โดยผู้ประกอบการจะสามารถแบกรับภาระที่สูงขึ้นได้ได้เพียง 7 เดือน ในกรณีที่ภาครัฐไม่ได้ออกมาตรการเยียวยาที่ตรงจุด โดยเห็นว่าปัจจุบันมาตรการที่เป็นรูปร่างในการช่วยเหลือธุรกิจอยู่ในระดับน้อยและปานกลางเท่านั้น

 


นายวชิระ คูณทวีเทพ อาจารย์ประจำศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการต่อการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท จากกลุ่มตัวอย่าง 600 ตัวอย่าง นอกพื้นที่ 7 จังหวัดนำร่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก และไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พบว่า ในช่วง 3-6 เดือน หลังการปรับค่าจ้างต้นทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8-18.3 การจ้างคนงานลดลงร้อยละ 6.3-8.7 มีการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6-17.9 และปิดกิจการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1-7.8 โดยผู้ประกอบการจะสามารถแบกรับภาระที่สูงขึ้นได้ได้เพียง 7 เดือน ในกรณีที่ภาครัฐไม่ได้ออกมาตรการเยียวยาที่ตรงจุด โดยเห็นว่าปัจจุบันมาตรการที่เป็นรูปร่างในการช่วยเหลือธุรกิจอยู่ในระดับน้อยและปานกลางเท่านั้น

ทั้งนี้ จากการติดตามของหอการค้าไทยพบว่า สมาชิกใน 7 จังหวัดนำร่อง ส่วนใหญ่ 92.2% ปรับตัวได้ มีเพียง 7.8% ที่ปรับตัวไม่ได้ โดยในการปรับตัว 13.25% มีการปรับลดคนงานลงด้วยการเลิกจ้างบางส่วน อีก 50% ไม่มีการปรับลดคนงาน และอีก 36.75% มีการปรับตัวด้านอื่นๆ เช่น ไม่รับแรงงานเพิ่ม ปรับปรุงการบริหารจัดการภายในบริษัท พยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลได้ ใช้เทคโนโลยีแทนพนักงานและเพิ่มงานให้แรงงานทำงานมากขึ้น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับเอกชนที่ปรับตัวได้เพราะค่าแรงใน 7 จังหวัดนำร่องเดิมสูงอยู่แล้ว เมื่อขึ้นมาเป็นวันละ 300 บาท จึงปรับตัวได้ไม่ยาก แต่ก็ถือว่าได้รับผลกระทบ หากรัฐบาลไม่ต้องการให้เอกชนมีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง และนำไปสู่ปัญหาการปลดคนงาน ก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เพราะมาตรการเดิมที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ โดยรัฐบาลต้องใช้มาตรการทางด้านภาษีให้ครอบคลุมถึง SMEs และผู้ที่ไม่อยู่ในระบบ จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นต้นทุนการผลิตให้แก่สถานประกอบการ เพิ่มผลิตภาพแรงงาน ช่วยเหลือให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพิ่มศักยภาพการผลิตของสถานประกอบการ และช่วยเหลือด้านการตลาด

สำหรับสถานการณ์อัตราค่าจ้าง 300 บาท ในปี 2556 อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย หากไม่มีมาตรการรองรับที่ดี รัฐจะต้องมีมาตรการเพิ่มเติม ดังนี้ 1.เร่งให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานตามสาขา ประเภทธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพและผู้ประกอบการต้องการ 2.ควรมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถานประกอบการ 3.เอื้ออำนวยความสะดวก หรือลดการนำส่งประกันสังคม 4.เปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานได้มากขึ้น และสะดวกมากขึ้น เพื่อรองรับการเปิด AEC
 

NEWS & TRENDS