“ทีดีอาร์ไอ” ห่วงรัฐก่อหนี้เพิ่มทำประเทศถังแตก

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึงสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอมีการประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่า จะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.8 ขณะที่ตัวเลขการส่งออกมีการปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่จะยังไม่ขยายตัวมากคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.2 โดยสิ่งที่ทีดีอาร์ไอมีความเป็นห่วงแม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะมีการปรับตัวดีขึ้นคือ การก่อหนี้สาธารณะที่ถึงแม้จะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศที่มีฐานภาษีต่ำ และยังคงต้องมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม



นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึงสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอมีการประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่า จะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.8 ขณะที่ตัวเลขการส่งออกมีการปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่จะยังไม่ขยายตัวมากคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.2 โดยสิ่งที่ทีดีอาร์ไอมีความเป็นห่วงแม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะมีการปรับตัวดีขึ้นคือ การก่อหนี้สาธารณะที่ถึงแม้จะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศที่มีฐานภาษีต่ำ และยังคงต้องมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม

โดยรัฐบาลชุดนี้ไม่ควรก่อหนี้เกินความจำเป็น โดยเฉพาะการก่อหนี้สาธารณะในโครงการพิเศษในช่วงปี 2556-2560 เช่น หนี้การขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว, หนี้การใช้จ่ายเพื่อลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) หนี้การใช้จ่ายเพื่อลงทุนในโครงการบริหารจัดการน้ำ และหนี้ที่เกิดจากการลดการจัดเก็บของภาษีเงินได้นิติบุคคลตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งตัวเลขการเพิ่มหนี้เหล่านี้ที่กำหนดไว้แต่ละปีจะมีวงเงินหลายแสนล้านบาท เช่น การขาดทุนโครงการรับจำนำข้าว ตั้งแต่ปี 2556-2560 กำหนดการขาดทุนปีละกว่า 200,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นหนี้ต่อการขาดทุนที่ค่อนข้างสูง

ดังนั้น รัฐบาลจะต้องหามาตรการดูแลและควบคุมไม่ให้เกิดหนี้สาธารณะมากเกินไปโดยหันมาดูแลการควบคุมการใช้จ่ายหนี้สาธารณะและหันมาพิจารณาปรับลดโครงการพิเศษที่ใช้งบประมาณสูง เช่น โครงการรับจำนำข้าว และควรมีการสร้างพื้นที่ทางการคลังเพื่อดูแลความเสี่ยงการก่อหนี้ รวมถึงรัฐบาลจะต้องเพิ่มภาษีบางประเภท เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นต้น

“ระดับหนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบันถือว่าไม่น่าห่วงหากเศรษฐกิจโตได้ที่ระดับนี้ แต่ปัญหาคือถ้ารัฐบาลมีการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปีเป็นประจำ แถมยังมีรายจ่ายในโครงการพิเศษเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตช่วงปี 2556-2560 ก็มีความเสี่ยงที่ระดับหนี้สาธารณะจะเกินกรอบวินัยทางการคลังที่ระดับ 60%ของจีดีพี ถือเป็นความเสี่ยง เนื่องจากในภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน ไทยควรมีช่องว่างในการใช้นโยบายทางการคลังเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากเศรษฐกิจโลก” นายสมชัยกล่าว

NEWS & TRENDS