เอ็นไอเอ เดินหน้าส่ง 15 สตาร์ทอัพระดมทุนผ่าน Space Economy: Lifting Off 2022

     สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เดินหน้าสานต่อโครงการ Space Economy: Lifting Off 2022 ปีที่ เปิดเวทีให้สตาร์ทอัพสายอวกาศ (SpaceTech) พัฒนาโมเดลธุรกิจร่วมกับหน่วยงานชั้นนำในอุตสาหกรรมอวกาศระดับประเทศ พร้อมโอกาสรับการลงทุนเพื่อต่อยอดและขยายตลาด ซึ่งปีนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมพัฒนาโซลูชันด้านอวกาศกว่า 120 ราย แต่ผ่านการคัดเลือก 15 ราย เพื่อร่วมนำเสนอโมเดลธุรกิจกับนักลงทุน โดยครอบคลุมทั้งกลุ่มเทคโนโลยีระยะเริ่มต้น และระยะพัฒนาต้นแบบ

     ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIAกล่าวว่า “ในปีนี้การวิจัยและคิดค้นเทคโนโลยีด้านอวกาศกลายเป็นกระแสที่มาแรงและอยู่ในความสนใจของหลายประเทศทั่วโลก ไม่ต่างจากเทคโนโลยีโลกเสมือน หรือเมตาเวิร์ส ซึ่งประเทศไทยได้บรรจุให้กิจการอวกาศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ต้องเร่งขับเคลื่อนและพัฒนา ด้วยการต่อยอดศักยภาพเดิมให้มุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาดาวเทียมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล การสื่อสาร ความมั่นคง และงานวิจัยชั้นสูง รวมทั้งมีนโยบายเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพด้านอวกาศได้เข้ามาร่วมพัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับประเทศในวงกว้างทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม”

     “การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ คือเส้นทางสำคัญของการก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เนื่องจากการสร้างเศรษฐกิจอวกาศรูปแบบใหม่นั้นจะมีเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน ต่างจากเศรษฐกิจอวกาศเดิมที่มีรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐเป็นผู้ดำเนินงานเท่านั้น นอกจากนี้การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับอวกาศยังสามารถเพิ่มมูลค่าในภาคการผลิต และเป็นกลไกที่ช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอื่นของประเทศเติบโตไปพร้อมกันได้ เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์ เกษตร และอาหาร ตลอดจนกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หรือ New S Curve ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติกว่า 4 - 5 แสนล้านบาทต่อปี เช่น หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัลได้อีกด้วย

     ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอวกาศมากว่า 1,000 ราย อยู่ในธุรกิจทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมมากกว่า 30,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC ที่มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมหลายสิบโรงงาน รวมถึงมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บางส่วนที่เริ่มสนใจปรับเปลี่ยนกระบวนการมาผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้นวัตกรรมดังกล่าวถูกพัฒนาได้อย่างรวดเร็วขึ้น NIA จึงร่วมกับภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium) ดำเนินการจัด โครงการ Space Economy: Lifting Off 2022 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อพัฒนาสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกด้านดังกล่าวให้สามารถขยายผลด้านเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานชั้นนำในอุตสาหกรรมอวกาศ เปิดโอกาสให้นำผลิตภัณฑ์และบริการที่กำลังพัฒนามาทดสอบแนวความคิดให้มีความพร้อมต่อการนำไปใช้และก้าวสู่การแข่งขันในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมุ่งเป็นสะพานเชื่อมการระดมทุนจากกลุ่มนักลงทุนที่สนใจ ซึ่งปีที่ผ่านมานั้นเงินลงทุนในสตาร์ทอัพและธุรกิจด้านอวกาศเติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 50 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 3 ของเงินลงทุนทั้งหมดจาก VC ทั้งนี้ การได้รับการระดมทุนจะช่วยให้สตาร์ทอัพแต่ละรายสามารถขยายตลาดและพัฒนาสิ่งใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเป็นตัวเร่งให้ผู้ที่สนใจเข้ามาสู่อุตสาหกรรมนี้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

     “โครงการ Space Economy: Lifting Off มีเป้าหมายในการสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้านเศรษฐกิจอวกาศเข้าสู่ภาคธุรกิจ ทำให้เกิดห่วงโซ่อุปทานของผู้พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมอวกาศขึ้นในประเทศ และเมื่อประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้ก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนของเทคโนโลยีต่ำลง และภาคเศรษฐกิจของไทยโดยรวมก็จะสามารถพัฒนาได้รวดเร็ว ทั้งนี้ เป้าหมายการสร้างสตาร์ทอัพอวกาศของ NIA จะสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่สามารถส่งดาวเทียมไปโคจรรอบดวงจันทร์ภายใน 7 ปี ซึ่งจะทำให้ไทยเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมอวกาศโลกที่มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ และมีโอกาสสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอีกมหาศาล ทั้งนี้ ในปีแรก NIA ได้สร้างสตาร์ทอัพด้านเศรษฐกิจอวกาศรายใหม่จำนวน 10 ราย จากผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการมากกว่า 100 ราย”

     ดร.พันธุ์อาจ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับกิจกรรมในปีที่ นี้ ได้รับความสนใจจากสตาร์ทอัพในหลากสาขามากขึ้น และมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 120 ราย ครอบคลุมทั้งกลุ่มเทคโนโลยีระยะเริ่มต้น และระยะพัฒนาต้นแบบ และมีองค์กรภาคเอกชนทั้งในอุตสาหกรรมอวกาศและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพสตาร์ทอัพเหล่านี้มากกว่า 20 องค์กร โดยมีผลงานที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกเพื่อรับโอกาสการระดมทุนจำนวน 15 ราย ได้แก่ Centro Vision ดาวเทียมขนาดเล็ก วงจรถี่ สามารถถ่ายภาพได้ทุกวัน Farm Dee Mee Suk Plus แพลตฟอร์มครบวงจรเพื่อเกษตรกร คาดการณ์ผลผลิตและสถานะพืชด้วยภาพถ่ายดาวเทียม Gaorai ระบบปฏิบัติการเทคโนโลยีการเกษตรที่เชื่อมต่อเกษตรกรกับนักขับโดรนรับจ้างเพื่อการเกษตร Intech แอพพลิเคชั่นครบวงจรเพื่อการเกษตร โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Maneelab ชุดซอฟต์แวร์ระบบย่อยสำหรับสร้างอุปกรณ์ที่ใช้บนยานอวกาศ

      Mush Composite วัสดุแห่งโลกอนาคตจากเส้นใยเห็ด Spacedox ระบบการจัดการจราจรอวกาศ (space traffic management) ตรวจสอบและติดตามดาวเทียม TemSys ชุดฝึกการเรียนรู้ระบบรับส่งสัญญาณจากดาวเทียม Tevada Corp ระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอน ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมและAI VAAM จานรับสัญญาณดาวเทียมระบบ แกน ขนาด เมตร Advance Space Composite สารเคลือบเพื่อป้องกัน tin whisker บน PCB board และ ขั้ว d-sub LINK Application แพลตฟอร์มวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อพิจารณาปล่อยสินเชื่อ Premium Robotics แขนหุ่นยนต์ที่มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะกับงานบนอวกาศ Semi-Latus Rectum บริการซ่อมแซม เปลี่ยนอะไหล่ เติมเชื้อเพลิงดาวเทียม เพื่อยืดอายุการใช้งาน และ Solutions Maker อุปกรณ์รับเวลาโดยตรงจากดาวเทียม แทนการที่ใช้งาน NTP/PTP  

     สำหรับกลุ่มเทคโนโลยีระยะเริ่มต้น รางวัลทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Solutions Maker รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ได้แก่ ทีม LINK Application รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ได้แก่ ทีม Advance Space Composite ส่วนเทคโนโลยีระยะพัฒนาต้นแบบ รางวัลทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Gaorai รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม Intech รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม VAAM และรางวัลป๊อปปูล่าโหวต ได้แก่ ทีม Spacedox ทั้งนี้ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากทั้ง สาขา และรางวัลป๊อปปูล่าโหวต จะได้มีโอกาสเข้าร่วมนำเสนอนวัตกรรมในงาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2023 หรือ SITE2023 เพื่อโอกาสในการงทุนและการเติบโตต่อไป

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup

NEWS & TRENDS