คาดไม่เกิน 5 ปีแรงงานพม่าทยอยคืนถิ่น

น.ส.เปรมใจ วังศิริไพศาล นักวิชาการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการสัมมนาวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา ปี 2555 “จากน่านทะเลอันดามันถึงทะเลจีนใต้ : เอเชียกับก้าวย่างของประเทศไทย” ว่า ได้ทำวิจัยเรื่อง “เมื่อพม่าเปลี่ยนแปลง ฤาแรงงานพม่าในไทยจะคืนถิ่น?” ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2555 ได้สำรวจความคิดเห็นแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมายทั้งชายและหญิง อายุ 18-35 ปี รวม 204 คน ที่ทำงานด้านเกษตรกรรม ประมงต่อเนื่อง บริการทั่วไปและโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ อ.พบพระ จ.ตาก จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ เป็นเวลาตั้งแต่ 1 ปีและเกิน 5 ปี พบว่า ร้อยละ 10 ตั้งใจจะกลับพม่าในปีนี้ ร้อยละ 16 จะกลับหลังอยู่ในไทย 3 ปี แต่กลับไปแค่ชั่วคราว

 


นางสาวเปรมใจ วังศิริไพศาล นักวิชาการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการสัมมนาวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา ปี 2555 “จากน่านทะเลอันดามันถึงทะเลจีนใต้ : เอเชียกับก้าวย่างของประเทศไทย” ว่า ได้ทำวิจัยเรื่อง “เมื่อพม่าเปลี่ยนแปลง ฤาแรงงานพม่าในไทยจะคืนถิ่น?” ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2555 ได้สำรวจความคิดเห็นแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมายทั้งชายและหญิง อายุ 18-35 ปี รวม 204 คน ที่ทำงานด้านเกษตรกรรม ประมงต่อเนื่อง บริการทั่วไปและโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ อ.พบพระ จ.ตาก จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ เป็นเวลาตั้งแต่ 1 ปีและเกิน 5 ปี พบว่า ร้อยละ 10 ตั้งใจจะกลับพม่าในปีนี้ ร้อยละ 16 จะกลับหลังอยู่ในไทย 3 ปี แต่กลับไปแค่ชั่วคราว

“แรงงานพม่าบางคนคิดจะกลับไปถาวรเมื่อเก็บเงินได้สักก้อน เพื่อกลับไปทำการเกษตรในที่ดินตนเองหรือเปิดกิจการ โดยปัจจัยที่ทำงานแรงงานพม่ากลับถาวร คือ การมีงานทำที่แน่นอน มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ มีสาธารณูปโภคที่พอเพียง สถานการณ์การเมืองที่มั่นคงและครอบครัวต้องการให้กลับ ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 1-3 ปีนี้ แรงงานพม่าจะยังไม่เดินทางกลับประเทศ เนื่องจากอัตราการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ระบบสาธารณูปโภค สภาวแวดล้อมของพม่ายังไม่เอื้ออำนวย” น.ส.เปรมใจ กล่าว

ด้าน รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.การวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า คาดว่า ภายใน 4-5 ปีข้างหน้า จะมีแรงงานพม่าในไทยบางส่วนที่จะเดินทางกลับประเทศ โดยเฉพาะเป็นแรงงานระดับกลางและระดับสูงรวมทั้ง แรงงานด้านก่อสร้าง การท่องเที่ยวและบริการ เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้เติบโตรวดเร็วกว่าธุรกิจด้านอื่นๆ และคาดว่า 6-10 ปีข้างหน้า แรงงานพม่าบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มที่เข้ามาทำงานในไทยผิดกฎหมายจะกลับประเทศ แต่ยังคงมีแรงงานพม่าประมาณ 1 ล้านคน ทำงานอยู่ในไทย เพราะมีงานมั่นคงและมีรายได้เพียงพอเลี้ยงดูครอบครัวที่พม่า ทั้งนี้ เชื่อว่าไทยยังต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวไปอีก 5-10 ปี ข้างหน้า จึงควรทำให้ไทยเป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของแรงงานต่างด้าวโดยไม่ต้องถึงกับต้องเปิดเสรีให้เข้ามาทำงานในไทย แต่จะต้องดูแลให้เหมือนลูกหลานเพื่อแรงงานต่างด้าวในส่วนที่จำเป็นไหลกลับประเทศให้น้อยที่สุด
 

NEWS & TRENDS