มองการเมือง-ขึ้นค่าแรงปัจจัยเสี่ยงค้าปลีกค้าส่ง

น.ส.บุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งในปี 2556 ได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ และอาจทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้รัฐบาลควรมีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี

 


น.ส.บุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งในปี 2556 ได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ และอาจทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้รัฐบาลควรมีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี

  ส่วนภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งปี 2556 คาดว่าจะเติบโตไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมาหรือราวร้อยละ 10-12 โดยมีปัจจัยเรื่องของอุปสงค์ภายในประเทศที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลัก โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น นโยบายจำนำข้าวด้วยงบประมาณ ปี 2556 จำนวน 4 แสนล้านบาท, การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศด้วยงบประมาณ 1.5 แสนล้านบาท, นโยบายการรับคืนภาษีรถคันแรกด้วยงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท รวมกับงบประมาณประจำปีอีก 2.4 ล้านล้านบาท ทำให้มีเงินสะพัดเข้าสู่ระบบจากการบริโภคภายในประเทศอีกกว่า 3.5 ล้านล้านบาท หรือราวร้อยละ 35 ของมูลค่า GDP ของประเทศ ยังไม่นับรวมการลงทุนของภาครัฐจากงบประมาณบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท การลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะกู้มาอีก 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจับจ่ายของประชาชนในปีนี้

ด้านภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งในปี 2555 แม้ยังไม่มีการประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ตัวเลขที่สมาคมฯ คาดการณ์คือมีการเติบโตร้อยละ 6.5-7.5 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีมูลค่ารวม 1,391,207 ล้านบาท สูงกว่าการเติบโตของ GDP เศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตร้อยละ 4.6 มูลค่าการบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตราวร้อยละ 9-11 ส่งผลให้ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภคมีการเติบโตร้อยละ 12 โดยประเภทธุรกิจค้าปลีกที่มีการเติบโตสูงสุด ได้แก่ Convenience Store และ Specialty Store มีการเติบโตร้อยละ 18 รองลงมาได้แก่ Department Store และ Supermarket เติบโตร้อยละ 12 และ Supercenter เติบโตร้อยละ 10 โดยปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกมีการเติบโตต่อเนื่อง มาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรี ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
 

NEWS & TRENDS