SMEs ปรับกลยุทธ์ใช้เงินบาทแทนดอลลาร์

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวว่า เงินบาทแข็งค่าในช่วงนี้เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบน้อยกว่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อปี 2550 เพราะครั้งนี้เอสเอ็มอีมีประสบการณ์ในการรับมือมากขึ้น โดยหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าเงินบาทจะแข็งค่าถึงกลางปีนี้ทำให้เอสเอ็มอีได้เตรียมรับมือ 3 แนวทาง คือ 1.เจรจากับผู้นำเข้าเพื่อซื้อขายในรูปสกุลเงินของคู่ค้า เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ริงกิตมาเลเซีย


นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวว่า เงินบาทแข็งค่าในช่วงนี้เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบน้อยกว่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อปี 2550 เพราะครั้งนี้เอสเอ็มอีมีประสบการณ์ในการรับมือมากขึ้น โดยหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าเงินบาทจะแข็งค่าถึงกลางปีนี้ทำให้เอสเอ็มอีได้เตรียมรับมือ 3 แนวทาง คือ 1.เจรจากับผู้นำเข้าเพื่อซื้อขายในรูปสกุลเงินของคู่ค้า เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ริงกิตมาเลเซีย 

2.เจรจากับผู้นำเข้าเพื่อซื้อขายในรูปเงินบาทซึ่งที่ผ่านมาเงินบาทเมื่อเทียบดอลลาสหรัฐแข็งค่าทำให้เปลี่ยนมาซื้อขายด้วยสกุลอื่น เช่น เยน แต่ปัจจุบันเงินเยนอ่อนค่าทำให้ผู้ส่งออกเจรจากับผู้นำเข้าเปลี่ยนมาใช้เงินบาทแทน

3.การซื้อประกันความเสี่ยงค่าเงินบาท แต่แนวทางนี้ใช้ได้เฉพาะเอสเอ็มอีที่มีวงเงินกู้กับธนาคาร ซึ่งเห็นว่าภาครัฐควรประสานงานกับธนาคารพาณิชย์เพื่อผ่อนคลายเงื่อนไขการประกันความเสี่ยงค่าเงินบาท

นายสุวรรณชัย กล่าวว่า แนวทางการรับมือในระยะสั้นดังกล่าวขึ้นกับความเหมาะสมของเอสเอ็มอีแต่ละราย และการเจรจาเพื่อขอปรับเปลี่ยนสกุลเงินก็ขึ้นกับการเจรจา โดยถ้าทำการค้าร่วมกันมานานก็มีความเป็นไปได้ที่คู่ค้าจะยอมเปลี่ยนสกุลเงิน แต่ถ้ามีความสัมพันธ์กับคู่ค้าไม่มากก็จะเจรจาลำบาก

สำหรับการขอปรับราคาสินค้ากับผู้นำเข้าได้ขอปรับตั้งแต่ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และทำให้เงินบาทแข็งค่ายังไม่ได้ขอปรับราคาเพราะเพิ่งขอปรับราคาไป ซึ่งการปรับค่าแรงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากและเห็นว่าภาครัฐควรมีมาตรการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อบรรเทาผลกระทบให้เอสเอ็มอี

NEWS & TRENDS