ติดอาวุธ“ซัพพลายเชน” เสริมแกร่ง SMEs

นายมาณพ ชิวธนาสุนทร สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม (สพจ.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ประเทศไทยมักมีปัญหา เนื่องจากมีการพัฒนาซัพพลายเชนเป็นจุดๆ ไป ซึ่งขาดการเชื่อมโยงขบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะขบวนการผลิตที่โรงงานซึ่งยังมีขบวนการภายในอีกหลายส่วนจะต้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ความต้องการของลูกค้าแล้วแปรไปสู่ขบวนการวางแผนผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง ซึ่งแต่ละขบวนการจะต้องลดต้นทุนและสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย

 


  นายมาณพ ชิวธนาสุนทร สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม (สพจ.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ประเทศไทยมักมีปัญหา เนื่องจากมีการพัฒนาซัพพลายเชนเป็นจุดๆ ไป ซึ่งขาดการเชื่อมโยงขบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะขบวนการผลิตที่โรงงานซึ่งยังมีขบวนการภายในอีกหลายส่วนจะต้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ความต้องการของลูกค้าแล้วแปรไปสู่ขบวนการวางแผนผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง ซึ่งแต่ละขบวนการจะต้องลดต้นทุนและสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย

ไม่เพียงเท่านี้โรงงานแต่ละแห่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในขบวนการต่างๆ ได้ ตั้งแต่ขบวนการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับผู้บริหาร เพราะว่ากลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีมักมีปัญหามักมีปัญหาที่เกิดจากเจ้านายหลายคน ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความสับสนไม่รู้จะเชื่อฟังคำสั่งใครดีเพื่อนนำไปปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ กลุ่มเอสเอ็มอียังมีปัญหาด้านการพัฒนาบุคลากร หรือ Human Resource :HR แม้ว่าเจ้าของกิจการต้องการจะพัฒนาบุคลากร แต่ไม่รู้จะส่งเสริมได้อย่างไรทำให้ขาดทักษะในการพัฒนาบุคลากร  เช่นเดียวกับการปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัย การปรับปรุงฝ่ายจัดซื้อต้องมีความโปร่งใส การส่งมอบงานได้ทันเวลา และการใช้วัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพอย่างคุ้มค่า ซึ่งขบวนการผลิตเหล่านี้ถ้าสามารถลดต้นทุนได้จะเป็นกำไรที่กลับมา ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่ต้องปรับขึ้นราคาสินค้า

จากปัญหาดังกล่าวทางสำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานโรงงานทั่วประเทศ 60 แห่ง   แบ่งเป็นภาคกลาง 20 โรงงาน จังหวัดนครราชสีมา 20 โรงงาน  จังหวัดสงขลา 10 โรงงาน และสุราษฎร์ธานี 10 โรงงาน 

ล่าสุดสำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับศูนย์โลจิสติกส์ คณะนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม (Industrial Supply Chain Efficientcy Improvement) นำร่อง  24 โรงงาน เริ่มต้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม 2556 โดยโรงงานที่เข้าร่วมโครงการจะได้แผนการ จัดการห่วงโซ่อุปทานพร้อมเครื่องมือในการตรวจประเมินสถานะและค่าใช้จ่ายขององค์กร ที่สามารถนำไปพัฒนาและปรับปรุงเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ โดยใช้นวัตกรรมการฝึกอบรมที่เน้นการปฏิบัติงานจริง ให้กับผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 5 วัน ผ่านระบบ การสอนงาน และการเป็นพี่เลี้ยงที่เข้มข้นอีก5 วัน โดยผู้เชี่ยวชาญ ให้แก้ปัญหาได้จริงและเป็นระบบรวม ถึงการศึกษาดูงาน 1-2 วัน กิจกรรมสันทนาการระดับผู้บริหารและเชื่อมโยงเครือข่าย(Networking)นอกสถานที่ 2 คืน 3 วัน โรงงานที่สนสนใจติดต่อได้ที่ 0 2160-1183,088 526 8984

“ยุคใหม่โรงงานที่จะอยู่รอดได้จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่พร้อมกัน ทั้งเจ้าของ พนักงาน และซัพพลายเชนจะสอนวิธีการคิด ภาพสุดท้ายจะเป็นการแก้ปัญหาได้ทันอย่างท่วงที ซึ่งโครงสร้างซัพพลายเชนที่จัดขึ้นนี้จะเป็นแผนแม่บทสามารถเป็นคู่มือการทำธุรกิจได้ตลอดไป พนักงานค้นปัญหาเจอแล้วสามารถแก้ปัญหาได้เลย เราดีไซน์โปรแกรมนี้ขึ้นมาเพื่อตั้งเป้าให้โรงงานสามารถลดต้นทุนได้ไม่ต่ำ 5-10%  หรือคิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท” ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กล่าว

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมจะทำให้เอสเอ็มอีมีแผนแม่บทที่สามารถลดต้นทุนได้จริง ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมกับ AEC ในการทำงานเป็นทีมมีเครือข่ายแล้วยังเป็นการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวด้วย 
 

NEWS & TRENDS