กสอ. โชว์โมเดลลดต้นทุน SMEs 7 ล้านต่อปี

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมโชว์โมเดลความสำเร็จโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอใจกลางเมือง ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน อันเป็นผลมาจากกลยุทธ์การส่งเสริมของ กสอ. ใน 2 โครงการอันได้แก่โครงการ LEAN และ MU ที่สามารถลดต้นทุน กว่า 7 ล้านบาทต่อปี

 


กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมโชว์โมเดลความสำเร็จโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอใจกลางเมือง ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน อันเป็นผลมาจากกลยุทธ์การส่งเสริมของ กสอ. ใน 2 โครงการอันได้แก่โครงการ LEAN และ MU        ที่สามารถลดต้นทุน กว่า 7 ล้านบาทต่อปี 

ขณะเดียวกันกสอ.ได้เร่งจัดตั้งมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือส่งเสริมผู้ประกอบการรายอื่นให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นภายใต้การจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น กว่า 30% โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด5อันดับได้แก่ กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มการค้า กลุ่มบริการ กลุ่มการผลิตเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง 

อย่างไรก็ตาม กสอ. มั่นใจโครงการต่าง ๆ ของ กสอ. จะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้อย่างแท้จริง อาทิ โครงการ MDICP ซึ่งเป็นโครงการที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกในด้านการปรับปรุงระบบการผลิต การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการด้านการเงินและบัญชี การจัดการด้านตลาดและการพัฒนาบุคลากรกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก       แก่ SMEs ด้วยระบบ LEAN ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นภายในองค์กร    รวมถึงลดต้นทุนในการผลิตสินค้าให้ต่ำลงกิจกรรมปรึกษาแนะนำเชิงลึกในอุตสาหกรรมรายสาขา          (Multi Material Utilization) จะสามารถช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนได้อย่างน้อย 10 - 50 % สำหรับ        ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่  กสอ. 02 202 4414-16

นางศิริรัตน์  จิตต์เสรี รองอธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวัน ที่รัฐบาลประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง              กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องปรับตัว เพราะค่าแรงได้ผลักดันให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการหลายรายมองว่า อาจจะต้องมีการเพิ่มราคาสินค้าอย่างน้อย 18%     ถึงจะอยู่รอด ซึ่งอาจเป็นไปได้ยากในภาวะของการแข่งขันสูงในตลาด  โดยในปัจจุบันผู้ประกอบการบางรายได้มีการปรับตัวและวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจใหม่ให้สามารถดำเนินต่อไปได้ และยังสามารถดำเนินไป       ในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างอุตสาหกรรมสิ่งทอ บริษัท เซ็นทรัล   เทรดดิ้ง จำกัด ก็สามารถปรับตัวได้ หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ ฯ กับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างไม่ขาดทุน

ด้าน นายสุพจน์ ภาวจิตรานนท์ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัดหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการกับทาง กสอ. กล่าวว่า บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด เป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดกลาง        มีพนักงานจำนวน 650 คน  โรงงานเล็งเห็นทิศทางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมาเมื่อ 2 ปี    ที่แล้ว รวมถึงปัญหาพนักงานขาดความรู้ในเรื่องการใช้วัตถุดิบ การทำงานไม่เป็นทีมเวิร์ค การขาดระบบ     การจัดเก็บข้อมูลสถิติ ส่งผลให้โรงงานมีต้นทุนในการผลิตสูง จึงได้เข้าร่วมโครงการของ กสอ. ตามลำดับดังนี้

1. โครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ SMEs ด้วยระบบ LEANคือลดการสูญเปล่าที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดต้นทุน ลดเวลาที่ใช้ในการผลิต และเพิ่มผลกำไรสำหรับความสูญเปล่าใน 7 ด้าน ได้แก่ ผลิตมากเกินไป (Over production) มีกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing) หรือกระบวนการที่ขาดประสิทธิผล (Non-effectiveprocess) การขนย้าย (Conveyance) ระหว่างกระบวนการมากการเก็บวัตถุดิบคงคลังที่ไม่จำเป็น (Unnecessarystock)           การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessarymotion) การรอคอย (Waiting/Delay) การเกิดของเสียและ     การแก้ไขงานเสีย (Defect and rework)

2. โครงการปรึกษาแนะนำเชิงลึกในอุตสาหกรรมรายสาขา (Multi Material Utilization) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่นการปรับปรุงโรงงาน เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตพัฒนาบุคลากรซึ่งประกอบไปด้วย         ฝ่ายแรงงาน ฝ่ายเทคนิคฝ่ายบริหาร การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ R&D 

ซึ่งหลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว กสอ.ได้เข้ามาสำรวจและช่วยวิเคราะห์ปัญหา ตลอดจน    หาแนวทางแก้ไขเพื่อช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ด้วยการให้คำปรึกษาจนนำไปสู่การจัดตั้งระบบ      การใช้วัตถุดิบเชิงลึก การจัดอบรมการทำงานเป็นทีมให้แก่พนักงานทุกระดับ พร้อมการทำ Work Shop      การออกแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งแต่ละกระบวนการสามารถลดการสูญเสีย      ในเรื่องของต้นทุนได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของแรงงาน เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพ วัตถุดิบผ้ามีวิธีการนำมาใช้ที่ถูกต้องและลดการสูญเปล่าได้มากขึ้นกว่า 20% รวมถึงระบบการบริหารงานภายในเป็นขั้นตอนและมีความชัดเจนเพิ่มขึ้นซึ่งทั้งหมดนี้ เมื่อวิเคราะห์ในภาพรวม สามารถลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยได้กว่า 7 ล้านบาทต่อปี จากที่เมื่อ 2 ปี ที่แล้ว โรงงานเคยให้ค่าแรงขึ้นต่ำ วันละ 215 บาท และปรับมาเป็นการจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป      นายสุพจน์ฯ กล่าว  

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆ กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ 02 202 4414 -16 หรือ www.dip.go.th
 

NEWS & TRENDS