ประเมินไตรมาสแรกภาพรวมขึ้นค่าแรงไม่น่าวิตก

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง)กล่าวหลังเป็นประธานประชุมบอร์ดค่าจ้างว่า ที่ประชุมได้พิจาณาสถานการณ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การลงทุนและการจ้างงานระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค.ที่ผ่านมาหลังจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งสถานการณ์ต่างๆโดยรวมภาพไม่น่าวิตก แต่พบว่านายจ้างส่วนใหญ่มีการปรับตัวมากขึ้นโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานจากรายเดือนไปเป็นรายวัน ซึ่งเรื่องนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)ลงไปดูแลเพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียเปรียบ เนื่องจากการเปลี่ยนสภาพการจ้างงานต้องได้รับการยินยอมจากฝ่ายลูกจ้างด้วย ส่วนการเลิกจ้างในช่วงเดือนก.พ.มีเพียง 4,081 คนลดลงจากเดือนม.ค.ที่มี 10,000 คน ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานของเดือน ก.พ.2556 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปี 2555 เป็นร้อยละ 5.03



นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง)กล่าวหลังเป็นประธานประชุมบอร์ดค่าจ้างว่า ที่ประชุมได้พิจาณาสถานการณ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การลงทุนและการจ้างงานระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค.ที่ผ่านมาหลังจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ  300 บาททั่วประเทศ  ซึ่งสถานการณ์ต่างๆโดยรวมภาพไม่น่าวิตก แต่พบว่านายจ้างส่วนใหญ่มีการปรับตัวมากขึ้นโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานจากรายเดือนไปเป็นรายวัน ซึ่งเรื่องนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)ลงไปดูแลเพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียเปรียบ เนื่องจากการเปลี่ยนสภาพการจ้างงานต้องได้รับการยินยอมจากฝ่ายลูกจ้างด้วย ส่วนการเลิกจ้างในช่วงเดือนก.พ.มีเพียง 4,081 คนลดลงจากเดือนม.ค.ที่มี 10,000 คน ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานของเดือน ก.พ.2556 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปี 2555 เป็นร้อยละ 5.03

“ส่วนข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องการชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาฝีมือแรงงาน   และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานจะรวบรวมเสนอ คณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว

สำหรับในที่ประชุมบอร์ดค่าจ้างได้มอบให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯเร่งศึกษาข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศ.)ในการกำหนดอัตราค่าจ้างตามพื้นที่(โซน)เช่น โซนอุตสาหกรรมหนาแน่น โซนชายแดน เป็นต้น และนำข้อมูลการศึกษามาเสนอในที่ประชุมร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม ลูกจ้างและนายจ้าง ในวันที่ 24 เมษายนนี้ ที่กระทรวงแรงงานนี้

NEWS & TRENDS