แก้เกณฑ์คุมรายใหญ่ข่มเหง SMEs คุก 3 ปี ปรับ 6 ล้าน

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ จะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด และยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 เพื่อป้องกันธุรกิจรายใหญ่ผูกขาด จนทำให้ธุรกิจรายเล็กไม่สามารถแข่งขันได้ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะมีธุรกิจจากอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

 


นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ จะเสนอให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด และยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 เพื่อป้องกันธุรกิจรายใหญ่ผูกขาด จนทำให้ธุรกิจรายเล็กไม่สามารถแข่งขันได้ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่จะมีธุรกิจจากอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น 

โดยการแก้ไขเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด กำหนดเป็น 2 เกณฑ์ คือ ธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด 50% ขึ้นไป และมียอดขายปีที่ผ่านมา 500 ล้านบาทขึ้นไป จะถือว่ามีอำนาจเหนือตลาด และอีกเกณฑ์ คือ ธุรกิจรายหนึ่งรายใดที่มีส่วนแบ่ง 30% ขึ้นไป พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น มีการจำกัดการแข่งขันหรือไม่ มีอุปสรรคในการเข้าตลาดหรือไม่ ซึ่งหากธุรกิจใดที่มีส่วนแบ่ง 30% ขึ้นไป และจำกัดการแข่งขันของคู่แข่ง หรือทำให้คู่แข่งเกิดอุปสรรคในการเข้าตลาด ก็จะถือว่าธุรกิจนั้น มีอำนาจเหนือตลาด

ทั้งนี้ ยังกำหนดให้ธุรกิจ 3 รายแรก มีส่วนแบ่งทางการตลาด 75% ขึ้นไป และมียอดขาย 500 ล้านบาทขึ้นไป จะถือว่ามีอำนาจเหนือตลาดด้วย

”เมื่อมีผลบังคับใช้ ผู้ที่เข้าเกณฑ์มีอำนาจเหนือตลาด จะต้องแจ้งให้กรมฯ ทราบ และต้องไม่ใช้ความเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด ทำลายธุรกิจของธุรกิจรายเล็กๆ ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะถ้าทำเช่นนั้น จะถือว่า ธุรกิจรายใหญ่มีความผิดตามกฎหมายแข่งขันทางการค้า และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นายสันติชัย กล่าว
ส่วนการยกร่างเกณฑ์การควบรวมกิจการ ได้กำหนดเป็นเกณฑ์ที่จะใช้กับธุรกิจทั่วไป ส่วนธุรกิจอื่นๆ ที่มีหน่วยงาน หรือกฎหมายดูแลเป็นการเฉพาะ เช่น ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการประกันภัย หรือธุรกิจโทรคมนาคม ไม่ต้องอยู่ภายใต้เกณฑ์ควบรวมกิจการนี้.

NEWS & TRENDS