ครม.ไฟเขียวแรงงานต่างด้าวรอรับเอกสาร 120 วัน

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งบุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 ซึ่งนายจ้างได้ยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว บัญชีรายชื่อและเอกสารต่างๆ ไว้กับกรมการจัดหางานแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษต่อไปอีกเป็นเวลา 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2556 เป็นต้นไป เพื่อดำเนินการให้ได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificateof Identity) จากประเทศต้นทาง และได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกับได้รับอนุญาตทำงานเฉพาะกับนายจ้างเดิมต่อไป โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้



    เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งบุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 ซึ่งนายจ้างได้ยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว บัญชีรายชื่อและเอกสารต่างๆ ไว้กับกรมการจัดหางานแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษต่อไปอีกเป็นเวลา 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2556 เป็นต้นไป เพื่อดำเนินการให้ได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificateof Identity) จากประเทศต้นทาง และได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกับได้รับอนุญาตทำงานเฉพาะกับนายจ้างเดิมต่อไป โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้

    1) กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศขยายระยะเวลาผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งบุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรตามมติครณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 ซึ่งนายจ้างได้ยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว บัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว และเอกสารต่างๆ ไว้กับกรมการจัดหางานแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษต่อไปอีกเป็นเวลา 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2556 เป็นต้นไป เพื่อดำเนินการตามกระบวนการอย่างต่อเนื่องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556

    2) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการรับตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant-LA) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี ให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในลักษณะผู้ติดตามแก่บุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) และสามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนด โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท และสามารถขออยู่ต่อได้อีกครั้งเดียว ค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท เช่นกัน ทั้งแรงงานต่างด้าวและบุตรของแรงงานต่างด้าว

    3) กระทรวงสาธารณสุข รับตรวจสุขภาพ และรับประกันสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรตามที่นายจ้างได้ยื่นคำร้องขอจ้างแรงงานต่างด้าวซึ่งทำงานในกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม รวมทั้งรับประกันสุขภาพผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว

    4) กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อเร่งรัดนายจ้างที่แรงงานต่างด้าวได้ผ่านการตรวจสอบจากประเทศต้นทาง ให้พาแรงงานต่างด้าวไปขอรับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) และขอรับอนุญาตทำงาน ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ที่จัดตั้งขึ้น รวมทั้งจัดทำข้อมูล (Bio Data) โดยการจัดเก็บภาพใบหน้าและพิมพ์ลายนิ้วมือแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน

    5) สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน

        ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เข้าสู่ระบบประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม ให้นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในลักษณะเช่นเดียวกับแรงงานที่เป็นคนไทย โดยให้เลือกซื้อประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข หรือประกันสุขภาพกับบริษัทประกันเอกชน

     6) กระทรวงการคลัง สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้การดำเนินการขยายระยะเวลาการผ่อนผันแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายรวมทั้งการจัดเก็บข้อมูล (Bio Data) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

      7) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังนี้

    (1) ในช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างการออกประกาศขยายระยะเวลาการผ่อนผัน ฯ ของกระทรวงมหาดไทย และช่วงระยะเวลาระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ให้พิจารณาผ่อนปรนการดำเนินการตามสมควรแก่กรณี กับนายจ้าง แรงงานต่างด้าว เพื่อให้การดำเนินนโยบายบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

    (2) ภายหลังสิ้นสุดการผ่อนผัน ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าว ผู้นำพา และผู้ให้ที่พักพิงแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย สำหรับแรงงานต่างด้าวให้ผลักดันส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง เพื่อดำเนินการตามกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายต่อไป

NEWS & TRENDS