ไทยถกมาเลฯหนุนพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังหารือกับนาย Dato Seri Jami Biddin ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จำกัด (Halal Industry Development Corporation (HDC) ประเทศมาเลเซีย ว่าได้มีการหารือเรื่องแนวทางในการพัฒนาอาหารฮาลาลร่วมกันระหว่างไทยกับมาเลซีย ครอบคลุมความร่วมมือในหลายด้าน เช่น เรื่องการยกระดับมาตรฐาน ความร่วมมือในการผลิต และการทำตลาดที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมฮาลาล

 


นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังหารือกับนาย Dato Seri Jami Biddin ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จำกัด (Halal Industry Development Corporation (HDC) ประเทศมาเลเซีย ว่าได้มีการหารือเรื่องแนวทางในการพัฒนาอาหารฮาลาลร่วมกันระหว่างไทยกับมาเลซีย ครอบคลุมความร่วมมือในหลายด้าน เช่น เรื่องการยกระดับมาตรฐาน ความร่วมมือในการผลิต และการทำตลาดที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมฮาลาล

ปัจจุบันมาเลเซียเป็นผู้นำในเรื่องการผลิตอาหารฮาลาลของโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกอาหารฮาลาลประมาณ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่ไทยมีการส่งออกอาหารฮาลาลปีละประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม มาเลเซียมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าฮาลาลได้อีก 1 เท่าตัว

โดยมาเลเซียยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้แก่ไทย และมองว่าอุตสาหกรรมฮาลาลจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยและมาเลเซียในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน ซึ่งในระยะต่อไปก็อาจจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างไทยกับมาเลเซียเพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล

นายกิตติรัตน์ยังกล่าวด้วยว่า ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลต้องการที่จะเห็นการจัดองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดนี้ให้เป็นรูปร่างและครอบคลุมการทำงานที่กว้างขวาง และมีการปรับทิศทางการทำงานให้มีเป้าหมายตรงกัน และใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่จากสถาบันพัฒนาอาหารฮาลาลที่เรามีอยู่มาใช้ประโยชน์ รวมทั้งส่งเสริมให้นำองค์ความรู้นั้นๆมาปรับให้เป็นปัจจุบันเพื่อนำมาใช้ประโยชน์กับอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น

"ฮาลาลเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เรื่องอาหารเท่านั้น แต่มีเรื่องที่ไม่ใช่อาหารแต่เป็นเรื่องของวิถีชีวิต หากผู้ประกอบการไทยสามารถทำความเข้าใจในเรื่องธุรกิจนี้ได้อย่างถูกต้องลึกซึ้ง ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะทำธุรกิจได้อีกมากเนื่องจากในอาเซียน เช่น อินโดนิเซีย บรูไน และมาเลเซีย มีผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก ขณะที่ในประเทศไทยทุกจังหวัดก็มีผู้นับถือศาสนาอิสลามทุกจังหวัด ก็ถือเป็นตลาดที่ใหญ่และเป็นโอกาสที่ดีหากผู้ประกอบการของไทยมีความเข้าในเรื่องนี้อย่างถูกต้อง"นายกิตติรัตน์กล่าว

NEWS & TRENDS