กรุงศรีฯรุกหนักเจาะสินเชื่อ SMEs 1.8 แสนล้าน

นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า การรุกตลาดสินเชื่อ SMEs ในปี 2556 นี้ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม SME Retail (SME-R) กลุ่ม S (Small) และกลุ่ม M (Medium) ซึ่งจากยอดสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 1.8 แสนล้านบาท สามารถแบ่งออกเป็น กลุ่ม M จำนวนครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ส่วนอีกครึ่งหนึ่งนั้นก็จะเป็นในส่วนของ S และ R อย่างละครึ่ง โดยทั้ง 3 กลุ่มนี้ ธนาคารจะมีกระบวนการในการดำเนินงานที่แตกต่างกันออกไป เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

 


นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า การรุกตลาดสินเชื่อ SMEs ในปี 2556 นี้ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม SME Retail (SME-R) กลุ่ม S (Small) และกลุ่ม M (Medium) ซึ่งจากยอดสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 1.8 แสนล้านบาท สามารถแบ่งออกเป็น กลุ่ม M จำนวนครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ส่วนอีกครึ่งหนึ่งนั้นก็จะเป็นในส่วนของ S และ R อย่างละครึ่ง โดยทั้ง 3 กลุ่มนี้ ธนาคารจะมีกระบวนการในการดำเนินงานที่แตกต่างกันออกไป เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย 

สำหรับกลุ่ม SME Retail หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า SME-R นี้ ถือเป็นขนาดเล็กที่สุด โดยวงเงินสินเชื่อจะอยู่ที่ไม่เกิน 12 ล้านบาท ในกลุ่มนี้จะเน้นกลยุทธ์การขายผ่านสาขาธนาคารที่มีอยู่กว่า 600 สาขาเป็นหลัก ซึ่งตนมองว่าเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูง เนื่องจากการขายผ่านสาขานั้น สามารถที่จะทำได้ในวงกว้าง อีกทั้ง SME รายเล็กๆ มักจะเลือกเดินเข้าไปรับบริการจากสาขาธนาคาร ดังนั้น สิ่งที่ธนาคารจะทำเพื่อตอบโจทย์กลุ่มนี้ ก็คือ การสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พนักงานสาขาสามารถขายได้อย่างง่ายๆ เช่น การนำเอาสินเชื่อ 3 เท่า มาประยุกต์ขายผ่านสาขาธนาคาร ซึ่งต่างจากธนาคารอื่นที่เน้นขายผ่าน RM (Relationship Manager) เป็นหลัก อีกทั้งกระบวนการในการอนุมัติสินเชื่อของกลุ่มนี้จึงต้องรวดเร็ว โดยเริ่มมีการนำระบบสแกนเอกสารจากสาขา ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่สาขาใด ก็ใช้ระบบสแกนที่ส่งตรงถึงสำนักงานใหญ่ได้ทันที ทำให้สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ภายใน 2-3 วัน และในปีนี้จะเน้นกระบวนการอนุมัติให้มีความรวดเร็วมากขึ้นไปอีก 

ส่วนในกลุ่ม S ซึ่งมีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 12-30 ล้านบาท ปีนี้ธนาคารจะมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความคล้ายกับกลุ่ม SME-R มากขึ้น โดยการใช้ระบบสแกนเอกสารเข้ามาช่วย ส่วนกลุ่ม M ซึ่งมีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป ปัจจุบันถือว่าทำได้ดีอยู่แล้ว แต่ที่จะแตกต่างออกไป คือจะเน้นในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital มากขึ้น โดยต้องการให้ลูกค้ามีการเดินบัญชีกับทางธนาคารเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้เตรียมที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มดังกล่าวออกมาทำตลาดในช่วงกลางปีนี้

“เราจะเน้นทั้ง 3 ตัวนี้ เพียงแต่ว่า R กับ S นั้นเป็นกลุ่มที่มีมาร์จินค่อนข้างสูง แต่ยอดอาจจะน้อย เหมือนเก็บเม็ดทราย แต่ M ได้ยอดมาก เพียงแต่มาร์จินอาจจะน้อยกว่าเท่านั้น เดิมนั้นที่บอกว่าการทำลูกค้ารายเล็กๆ ยาก นั่นเป็นเพราะเรื่องของต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Cost) เมื่อก่อนวงเงินแค่ 5-10 ล้านบาท แต่ใช้เวลาพิจารณาเหมือนรายใหญ่ เลยทำให้ต้นทุนตรงนี้สูงมาก เราจึงเปลี่ยนโมเดลมาทำเหมือน SME- R สามารถที่จะอนุมัติได้ภายใน 3 วัน ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำลง และมีกำไรสูงขึ้นนั่นเอง” 

 

NEWS & TRENDS