ครม.ไฟเขียวอัดฉีดงบบรรเทา SMEs อ่วมค่าแรง

นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (23 เมษายน 2556) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เฉพาะมาตรการที่กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถดำเนินการได้เองในส่วนของมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ภายใต้โครงการคลินิกอุตสาหกรรมเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

 


นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (23 เมษายน 2556) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เฉพาะมาตรการที่กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถดำเนินการได้เองในส่วนของมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ภายใต้โครงการคลินิกอุตสาหกรรมเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

โดยปรับแผนดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในปีงบประมาณ 2556 เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีในด้านการพัฒนาผลิตภาพ การตลาด และการสนับสนุนด้านการเงิน โดยให้พัฒนาเอสเอ็มอีภาคการผลิตโดยการตรวจวินิจฉัยโรงงาน จัดทำแผนธุรกิจและให้คำปรึกษาที่จะขอสินเชื่อภายใต้โครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มผลิตภาพของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 201.75 ล้านบาท และพัฒนาและส่งเสริมเอสเอ็มอีภาคการค้าและบริหารโดยให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการและให้คำปรึกษาเชิงลึกในการพัฒนาผลิตภาพ โดยใช้งบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(กองทุน สสว.) จำนวน 25 ล้านบาท  

พร้อมอัดฉีดเงินทุนหมุนเวียนสำหรับเอสเอ็มอี โดยชดเชยดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่เอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบในอัตราร้อยละ 3 ในปีแรก วงเงินกู้ยืมไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อรายจำนวน 6,300 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 6,300 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(กองทุน สสว.) จำนวน 200 ล้านบาท

และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินนิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีโดยไม่จำกัดวงเงิน โดยสามารถยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ภายในสิ้นปี 2556 ทั้งยังให้ยกเว้นบริการในการต่อใบอนุญาตและค่าบริการออกหนังสือรับรองสิทธิประโยชน์ทางภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2556-2557 ให้กับเอสเอ็มอีในนิคมอุตสาหกรรมภายใต้กำกับดูแลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วย ทั้งยังเห็นชอบกรอบแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตภาพ และโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของภาคอุตสาหกรรม (พ.ศ.2557-2561) โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไป  

NEWS & TRENDS