วางกลยุทธ์พัฒนา SMEs สิ่งทอ 5 จังหวัดชายแดนใต้

นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า สถาบันฯ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และนราธิวาส โดยวางกลยุทธ์ พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ มุ่งเน้นพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งด้านการออกแบบพัฒนาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมถึงบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการขยายช่องทางและโอกาสทางการตลาด พร้อมมุ่งเน้นพัฒนารากฐานความรู้และทักษะของนักออกแบบเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยใช้แนวคิดจากประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมภาคใต้ที่สามารถพัฒนาเป็นลวดลายผ้าอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ โดยหวังพัฒนอาชีพ สร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างบุคลากรเตรียมความพร้อมสู่ตลาด AEC และตลาดสากลซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และอุตสาหกรรมจังหวัด สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ

 


นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า สถาบันฯ  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และนราธิวาส โดยวางกลยุทธ์ พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ มุ่งเน้นพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งด้านการออกแบบพัฒนาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมถึงบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการขยายช่องทางและโอกาสทางการตลาด พร้อมมุ่งเน้นพัฒนารากฐานความรู้และทักษะของนักออกแบบเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยใช้แนวคิดจากประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมภาคใต้ที่สามารถพัฒนาเป็นลวดลายผ้าอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ โดยหวังพัฒนอาชีพ สร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างบุคลากรเตรียมความพร้อมสู่ตลาด AEC และตลาดสากลซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และอุตสาหกรรมจังหวัด สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมสู่เชิงพาณิชย์ ดำเนินการฝึกอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิม ภายใต้แบรนด์ Lawa@THTIใน Collection บุหงาสลาตัน ประกอบไปด้วย ดอกไม้ประจำท้องถิ่นจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ดอกกามูติง ดอกดองดึงส์ ดอกชบา ดอกลีลาวดี และดอกรองเท้านารี  พร้อมผลักดันสู่ตลาด และหาช่องทางการจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการ

กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ด้านเส้นใยทั้งเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างทางเลือกแก่ผู้ประกอบการ  ถ่ายทอดความรู้ด้วยเทคโนโลยีด้านการตกแต่งสำเร็จ รวมไปถึงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยแบ่งผลงานตามกลุ่มรวม 3 กลุ่มดังนี้

                1.             กลุ่มผ้าพื้นเมืองได้แก่ ผ้าเกาะยอ จ.สงขลา มีการนำเอาวัสดุเส้นใย สับปะรด บัวหลวง ฝ้ายสีมาทอร่วมกับด้ายฝ้ายทำให้ผ้าที่ได้มีความแตกต่างทั้งด้านสี และความแข็งแรงของใยผ้าเนื่องจากด้ายสับปะรดมีความแข็งแรงสูง ผ้าจวนตานี จ.ปัตตานี  พัฒนาการออกแบบลายทอ รวมทั้งการขึ้นแบบสำหรับชุดแต่งกายสตรี และนำผ้ามาใช้สำหรับทำกระเป๋า 

                2.             กลุ่มผ้าและเครื่องแต่งกายมุสลิม โดยการพัฒนาผ้าซึ่งใช้เส้นใยจากธรรมชาติผสมผสานกับการเทคนิคการทอแบบใหม่ทำให้เนื้อผ้ามีความนุ่ม สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่แนบเนื้อซึ่งเหมาะอย่างมากกับเครื่องแต่งกายพิธีการของมุสลิม และการพัฒนาเทคโนโลยีและวัสดุที่ทันสมัยผสมผสานกับเอกลักษณ์และวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ เช่นเทคนิคการปักฉลุ เทคนิคการพิมพ์ด้วยบล็อกไม้และบล็อกโลหะ ฯลฯ

                3.             กลุ่มผ้าบาติก พัฒนาผ้าโดยการปรับปรุงเส้นใยด้วยเทคโนโลยี ทำให้สีที่ย้อมติดได้ดีขึ้น เนื้อผ้านุ่มขึ้น พร้อมใช้เทคนิคในการเขียนลาย รวมทั้งพัฒนาผ้าบาติกในกลุ่มสปาและเคหะสิ่งทอ

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยได้มีการอบรม Train the Trainer แก่กลุ่มอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 5 พร้อมระดมประเด็นปัญหาคุณภาพสิ่งทอในท้องถิ่น เพื่อเตรียมจัดทำคู่มือคุณภาพสิ่งทอเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นการพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการยกระดับสิ่งทอใน  5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรองรับการการส่งออกทั้งในและต่างประเทศ โดยสรุปรวมการดำเนินงานทั้ง 3 กิจกรรมมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการกว่า 50 กลุ่ม รวมไม่ต่ำกว่า 350 คนสามารถพัฒนาทักษะ สร้างงาน สร้างอาชีพด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรมสิ่งทอ ผ่านการออกแบบและถ่ายทอดความรู้จากดีไซน์เนอร์มืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศ รวมทั้งเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบที่ได้คุณภาพและมาตรฐานรวมกว่า 20 คอลเลคชั่น             

                สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมฯ ได้ที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 พระโขนง คลองเตย กรุงเทพฯ โทรศัพท์  0 2713 5492 – 9 ต่อ 224 หรือเข้าไปที่ www.muslim-thit.org,www.thaitextile.org/muslim
 

NEWS & TRENDS